https://analytics.google.com/analytics/web/?authuser=2#/a29744284p281425186/admin/streams/table/2727640087

Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง

ให้บริการทุกวัน เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 | เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8:00 – 16:30

ติดต่อ line เครื่องช่วยฟัง intimexhearing
1000_600_ ถาม_ตอบ_ทุกปัญหาการได้ยิน

ถาม-ตอบ ทุกปัญหาการได้ยิน และเครื่องช่วยฟัง

หลายๆท่านมีคำถามหลากหลายประเด็น

 เกี่ยวกับความรู้เรื่อง หู การได้ยิน เครื่องช่วยฟัง และ ประสาทหูเทียม แต่ไม่รู้จะไปค้นหาได้จากไหน  ทาง ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์ ได้รวบรวมคำถามและคำตอบมาแนะนำเป็น เกร็ดความรู้และเทคนิค อาทิเช่น การใช้เครื่องช่วยฟัง เลือกเครื่องช่วยฟัง ตามไลฟ์สไตล์ ให้แล้วส่วนหนึ่ง ถาม-ตอบ เครื่องช่วยฟัง และทุกปัญหาการได้ยิน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ที่ดีต่อผู้ใช้เครื่องช่วยฟัง และ ประสาทหูเทียม ตลอดจนผู้มีปัญหาด้านการได้ยิน ตามหัวข้อเรื่องต่างๆ ด้านล่าง

คำตอบ เมื่อเครื่องช่วยฟังที่ใช้อยู่เกิดไม่ทำงาน ไม่มีเสียง สามารถตรวจเช็คเบื้องต้นด้วยตนเองดังนี้เปลี่ยนแบตเตอรี่ก้อนใหม่ หากเปลี่ยนแบตเตอรี่ก้อนใหม่แล้วเครื่องยังไม่มีเสียง ให้ท่านเช็คตามข้อ 2 และข้อ 3

  1. สำหรับเครื่องแบบใส่ในช่องหู
    – เช็คดูว่ามีขี้หูอุดตันบริเวณตะแกรงดักขี้หูหรือไม่ หากมีขี้หูอุดตันบริเวณนี้ ให้นำแปรงทำความสะอาด ปัดขี้หูออก
  2. สำหรับเครื่องแบบทัดหลังหู
    – สังเกตุที่พิมพ์หูว่ามีขี้หูอุดตันหรือไม่ หากมีขี้หูอุดตัน ให้นำแปรงทำความสะอาด มาปัดขี้หูออก
    – สังเกตที่ท่อนำเสียงที่เชื่อมต่อระหว่างพิมพ์หูกับเครื่องช่วยฟัง หากมีน้ำหรือไอน้ำขังอยู่ในท่อนำเสียง จะทำให้เสียงไม่ออก ให้ท่านถอดพิมพ์หูออกจากสายท่อนำเสียง มาล้างทำความสะอาดด้วยแปรงขนาดเล็ก (ขนาดเท่าแปรงสีฟันของเด็ก) กับน้ำสบู่ และใช้ลูกยางเป่าลมเป่าภายในท่อพิมพ์หูให้แห้งสนิท ก่อนนำมาต่อกับเครื่องช่วยฟัง
  3. หากท่านตรวจเช็คตามขั้นตอนดังกล่าวแล้วเครื่องยังเงียบอยู่ ให้นำเครื่องช่วยฟังมาให้ช่างตรวจเช็ควงจรภายในเครื่องเพิ่มเติม เพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์หรืออะหลั่ยที่อาจชำรุด

คำตอบ ขณะที่ใส่เครื่องช่วยฟัง แต่ยังฟังเสียงพูดของคู่สนทนาทางโทรศัพท์ไม่ชัดเจน แนะนำให้ปฏิบัติดังนี้

  1. หาสถานที่เงียบในการสนทนา วางตำแหน่งลำโพงของเครื่องโทรศัพท์ให้ตรงกับไมโครโฟนรับเสียงของเครื่องช่วยฟังที่ใส่อยู่ระหว่างการสนทนา ขยับเครื่องโทรศัพท์ให้อยู่ในตำแหน่งที่ได้ยินเสียงคู่สนทนาได้ชัดเจนที่สุด
  2. อยุ่ในที่เงียบ และเปิดลำโพงเครื่องโทรศัพท์ โดยไม่ต้องยกหูเทคโนโลยีของเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง มีคุณสมบัติ 1) ตัดเสียงรบกวนรอบข้าง (Dynamic Noise Reduction) เพื่อช่วยให้การรับฟังเสียงสนทนาทางโทรศัพท์ได้ชัดเจน 2) มีความสามารถในการเชื่อมต่อโดยตรงแบบไร้สายกับโทรศัพท์มือถือ ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังจะได้ยินเสียงคู่สนทนาตรงเข้ามาในหู โดยไม่มีเสียงรบกวนจากภายนอกเลย ช่วยให้การสนทนามีคุณภาพมากขึ้น ในทุกสภาพแวดล้อม

เทคโนโลยีของเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง มีคุณสมบัติ :-

    • ตัดเสียงรบกวนรอบข้าง (Dynamic Noise Reduction) เพื่อช่วยให้การรับฟังเสียงสนทนาทางโทรศัพท์ได้ชัดเจน
    • มีความสามารถในการเชื่อมต่อโดยตรงแบบไร้สายกับโทรศัพท์มือถือ ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังจะได้ยินเสียงคู่สนทนาตรงเข้ามาในหู โดยไม่มีเสียงรบกวนจากภายนอกเลย ช่วยให้การสนทนามีคุณภาพมากขึ้น ในทุกสภาพแวดล้อม

คำตอบ เมื่อใส่เครื่องช่วยฟังแล้ว มีเสียงหวีดลอดออกมารบกวนตลอดเวลา หรือบางครั้ง หรือเวลาเคียวอาหาร มีวิธีแก้ไขเบื้องต้นดังนี้

  1. สำหรับท่านที่ใส่เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู ให้มั่นใจว่าพิมพ์หูที่ท่านใส่มีขนาดพอดี ไม่เล็กไป ใส่แล้วแนบสนิทกับช่องหู สำหรับท่านที่ใส่เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในช่องหู ให้ตรวจเช็คความพอดีของตัวเครื่องว่าตัวเครื่องใส่ลงช่องหู ไม่มีส่วนเกินของเครื่องออกมานอกช่องหู วิธีใส่ให้กระชับคือดึงใบหูขึ้นเพื่อให้ช่องหูเปิดกว้างมากขึ้น แล้วค่อยๆดันตัวเครื่องหรือพิมพ์หูให้แนบสนิทกับช่องหู
  2. หากท่านพบว่าเครื่องช่วยฟัง หรือพิมพ์หูที่ใส่อยู่หลวม ไม่พอดีกับช่องหู อาจเนื่องจากมีอายุการใช้งานนานหลายปี วัสดุอาจเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน ดังนั้นควรมาพบผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟังเพื่อทำพิมพ์หูใหม่ หรือทำเปลือกตัวเครื่องใส่ในช่องหูใหม่

คำตอบ เมื่อพบว่าแบตเตอรี่ก้อนใหม่ที่ใส่ในเครื่องช่วยฟังหมดเร็ว มีอายุการใช้งานสั้น ให้ทำวิธีนี้ :-

  1. สังเกตแบตเตอรี่ที่อยู่ในแผงว่ามีผงสีขาว หรือคราบสนิมอยู่ด้านในแผงหรือไม่ หากมีผงสีขาวหรือคราบสนิมอยู่ในแผงแบตเตอรี่ หมายถึงแบตเตอรี่เสื่อมสภาพแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากแบตเตอรรี่หมดอายุการใช้งาน หรือการเก็บแผงแบตเตอรี่ไว้ในที่ที่มีความชื้นมากเกินไป
  2. เปลี่ยนแบตเตอรี่ก้อนใหม่โดยลอกสติ๊กเกอร์ออก ใช้ผ้าเช็ดคราบสติ๊กเกอร์ออกให้หมด วางแบตเตอรี่โดยหงายด้านที่ลอกสติ้กเกอร์ออกไว้ด้านบน ตั้งทิ้งไว้ 2 นาที เพื่อให้อากาศเข้าไปทำปฎิกิริยากับสารที่บรรจุไว้ภายในแบตเตอรี่
  3. หากท่านทำตามวิธีดังกล่าวแล้ว การใช้งานแบตเตอรี่ยังคงหมดเร็วมากกว่าปกติ ให้ท่านนำเครื่องช่วยฟังมาให้ช่างเฉพาะด้านเครื่องช่วยฟังเช็คอัตราการกินกระแสไฟของเครื่องช่วยฟังว่าเกินค่ามาตรฐานหรือไม่

คำตอบ การเลือกเครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู หรือแบบใส่ในช่องหู ควรพิจารณาถึงปัจจัยประกอบดังนี้ :-

  1. ผลตรวจการได้ยินระดับและรูปแบบการสูญเสียการได้ยิน จะเป็นตัวกำหนดเบื้องต้นในการเลือกแบบเครื่องช่วยฟัง และเทคโนโลยีที่ดีที่สุดที่เหมาะสำหรับคุณ
  2. ไลฟสไตล์พิจารณาจากกิจกรรมในแต่ละวันของคุณ กิจกรรมที่คุณโปรดปราน กิจกรรมทางสังคม หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานของคุณ เช่น ถ้าคุณต้องประชุมหรือเข้าร่วมงานเลี้ยงบ่อยๆ คุณควรเลือกเครื่องช่วยฟังที่มีเทคโนโลยีต่อเชื่อมไร้สายเข้ากับโทรศัพท์มือถือ กับ อุปกรณ์ที่ใช้ระบบบลูทูธ
  3. ความชอบของคุณเลือกการควบคุมเครื่องที่ทำให้คุณสะดวกสบาย เช่น คุณต้องการควบคุมระดับเสียงขึ้น-ลงด้วยตัวคุณเอง หรือคุณต้องการให้เครื่องเพิ่ม-ลดความดังของเสียงให้คุณโดยอัตโนมัติ หรือคุณต้องการให้เสียงเรียกเข้าทางโทรศัพท์ ตรงเข้ามาที่เครื่องช่วยฟังของคุณ
  4. ประสบการณ์การใช้เครื่องช่วยฟังการแชร์ประสบการณ์การใช้เครื่องช่วยฟังเครื่องเดิมของคุณว่าคุณชอบอะไร หรือไม่ชอบอะไรกับเครื่องเดิม หรือเครื่องที่คุณกำลังใช้อยู่ จะเป็นประโยชน์กับ Hearing Coach ผู้เชี่ยวชาญเครื่องช่วยฟังและการได้ยิน ในการปรับเสียงให้กับคุณ
  5. ทดลองฟังเสียงพูดของตัวเองขณะที่คุณทดลองฟังเสียงจากเครื่องช่วยฟังแต่ละรุ่น เปรียบเทียบเพื่อเลือกว่าเครื่องไหนมีเสียงที่เหมาะกับคุณ ให้ทดลองพูดคุยกับญาติที่มาด้วย หรืออ่านข้อความในนิตยสารสัก 1 ย่อหน้า เพื่อดูว่าคุณได้ยินเสียงตนเองกับเครื่องไหนที่คุณรู้สึกสบาย
  6. ทดลองฟังเสียงในแต่ละโปรแกรมเมื่อคุณต้องการเปรียบเทียบระหว่างเครื่องช่วยฟัง 2 เครื่อง คุณควรทดลองฟังเสียงแต่ละโปรแกรม เช่นฟังเสียงขณะพูดคุยกันในห้องรับแขก เมื่อคุณปรับโปรแกรมฟังเสียงในที่เงียบ หรือ ออกไปบริเวณที่มีเสียงรถวิ่งขวักไขว่ และพูดคุยขณะที่ปรับโปรแกรมฟังในที่มีเสียงรบกวน
  7. ทดลองสนทนาทางโทรศัพท์ลองรับโทรศัพท์และสนทนากับญาติของคุณ เพื่อดูตำแหน่งใกล้หูที่คุณถือโทรศัพท์แล้วคุณได้ยินการสนทนาได้ชัดเจนที่สุด
  8. ทดลองเปลี่ยนแบตเตอรี่วางเครื่องช่วยฟังทั้งสองเครื่องที่คุณกำลังทดลองฟังไว้บนโต๊ะและ ฝึกเปลี่ยนแบตเตอรี่ดูว่าเครื่องไหนที่คุณสามารถถอด-ใส่แบตเตอรี่ได้อย่างคล่องแคล่ว
  9. อุปกรณ์ดูแลรักษาเครื่องช่วยฟังเครื่องช่วยฟัง เป็นการลงทุนกับคุณภาพชีวิตของคุณ สอบถาม Hearing Coach ผู้เชี่ยวชาญเครื่องช่วยฟังและการได้ยินถึงอุปกรณ์ที่ดูแลยืดอายุการใช้งานของเครื่องช่วยฟังของคุณให้ปลอดจากความชื้น และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

คำตอบ ผู้ที่เหงื่อออกมาก เป็นคนขี้ร้อน หรือทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศร้อนอบอ้าว การมีเหงื่อไหลเข้าไปภายในตัวเครื่อง และทำให้เกิดความชื้นสะสมอยู่ภายในเครื่องเป็นจำนวนมาก ทำให้เครื่องชำรุดได้ มีวิธีดูแลเครื่องช่วยฟังดังนี้

  1. ระหว่างวันควรถอดเครื่องออก ใช้ผ้าแห้งซับเหงื่อที่ตัวเครื่องและบริเวณในช่องหูและหลังใบหูให้บ่อยมากขึ้น
  2. ถ้าเหงื่อไหลเข้าเครื่องมากจนเครื่องหยุดทำงาน ให้รีบปิดเครื่อง ดึงแบตเตอรี่ออกจากรังถ่าน เปิดรังถ่านค้างไว้ นำเครื่องใส่กระปุกสารดูดความชื้นไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรือผึ่งพัดลม หรือเป่าด้วยไดร์เป่าผมลมเย็น ให้อากาศไหลผ่านตัวเครื่องด้านใน เพื่อทำให้เหงื่อที่สะสมอยู่ระเหยไป และใส่แบตเตอรี่กลับเข้าไป
  3. เมื่อกลับถึงบ้าน หรือก่อนนอน ให้ถอดเครื่อง เปิดรังถ่าน นำแบตเตอรี่ออก และใส่ในเครื่องอบไล่ความชื้น เพื่อให้เครื่องไล่ความชื้นที่ค้างอยู่ในเครื่องออกให้มากที่สุด ความชื้นที่ออกมาจะถูกดูดซับด้วยก้อนดูดความชื้นที่มีคุณสมบัติดึงดูดความชื้นได้สูง ไม่คายให้ความชื้นกลับเข้าไปสะสมภายในเครื่องได้อีก

เรื่องหู

ใส่ เเครื่องช่วยฟังประกันสังคม จะช่วยลดอาการเสียงดังในหูได้หรือไม่

คำตอบ อาการเสียงดังในหู เป็นอาการหนึ่งที่พบเมื่อประสาทหูเสื่อม บางคนจะได้ยินเสียงดังวิ้งๆ เสียงจิ้งหรีด เสียงนำ้ตก เสียงกลอง เป็นบางเวลา หรือตลอดเวลา เมื่อใส่เครื่องช่วยฟัง เสียงที่ได้ยินจากเครื่องช่วยฟังจะดังเพียงพอที่ช่วยกลบเสียงในหูได้ เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูงมีเทคโนโลยีที่เรียก Tinnitus Sound Support ปล่อยเสียงที่มีความถี่เดียวกับเสียงที่ดังในหูมากลบ ทำให้เสียงดังรบกวนในหูลดลงได้

พบกับผลิตภันฑ์เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง

ที่มีเทคโนโลยี Tinnitus Sound Support ด้านล่าง

 

เรื่องประสาทหูเทียม

ศูนย์บริการ เครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์ ด้านหน้า มีที่จอดรถ

เพื่อให้เครื่องช่วยฟังให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินและเครื่องช่วยฟัง (Hearing Coach)
ให้ความรู้การดูแลเครื่องช่วยฟัง บำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ และมีอายุการใช้งานได้นาน

ลงทะเบียน

ติดต่อ ผ่านระบบ Social และ โทรศัพท์

ผลิตภัณฑ์แนะนำเครื่องช่วยฟัง

เครื่องช่วยฟังดิจิตอล เทคโนโลยีสูง ที่จะช่วยให้ทุกเสียงกลับมาได้ยินอีกครั้ง

VIRON 9 เครื่องช่วยฟังคุณภาพเสียง สมจริงเป็นธรรมชาติ

Leox 7/3 เครื่องช่วยฟังที่กำลังขยายสูง สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินรุนแรง

อุปกรณ์เสริมเครื่องช่วยฟัง ที่สามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน ได้ตามความต้องการ

บทความที่แนะนำ

แท็กยอดนิยม