https://analytics.google.com/analytics/web/?authuser=2#/a29744284p281425186/admin/streams/table/2727640087

Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง

ให้บริการทุกวัน เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 | เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8:00 – 16:30

ติดต่อ line เครื่องช่วยฟัง intimexhearing

ผ่าตัด ประสาทหูเทียม คืนการได้ยินให้ลูก

   “ที่สำคัญ พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเด็กเพื่อให้เกิดความเคยชินในเวลาที่เด็กอยู่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้มีพัฒนาการที่เร็วขึ้น” 

     ปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปมาก  ทำให้การรักษาทางการแพทย์พัฒนาไปด้วย  แม้แต่ผู้ที่สูญเสียการได้ยินก็มีความหวังที่จะสามารถกลับมาได้ยินเสียงอีกครั้ง  ด้วยเทคนิคทางการแพทย์ที่เรียกว่าการ ผ่าตัด ประสาทหูเทียม  ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินโดยเฉพาะ  โดยการใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่แทนเซลล์ประสาทในคอเคลียร์ภายในหูชั้นใน  ซึ่งจะแปลงพลังงานเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นประสาทการได้ยินและสมองให้รับรู้

บทความที่แนะนำ
ผ่าตัด ประสาท หู เทียม ราคา ผ่าตัด หูนวก รู้จักกับประสาทหูเทียม)

1. รู้จักกับประสาทหูเทียม

    อุปกรณ์ประสาทหูเทียมนั้นประกอบไปด้วยอุปกรณ์ภายนอก และอุปกรณ์ภายใน โดยอุปกรณ์ภายนอกเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับประมวลสัญญาณเสียงมีไมโครโฟนทำหน้าที่รับสัญญาณเสียงจากสิ่งแวดล้อมแล้ว แปลงสัญญาณเสียงนั้นๆ ให้เป็นระบบดิจิตอลส่งต่อมายังอุปกรณ์นำเสียง และอุปกรณ์ที่ติดอยู่ที่ศีรษะเพื่อส่งเข้าสู่อุปกรณ์ภายในซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ต้องผ่าตัดฝังไว้ในกระดูกหลังใบหู เพื่อทำหน้าที่รับสัญญาณที่ส่งมาจากอุปกรณ์ภายนอกแล้วแปลงกลับเป็นสัญญาณไฟฟ้าอีกที จากนั้นสัญญาณไฟฟ้าก็จะถูกส่งผ่านทางสายอิเล็กโทรดไปยังเม็ดอิเล็กโทรดที่ผ่าตัดสอดฝังไว้ตามความยาวของคอเคลียร์ภายในหูชั้นในโดยสัญญาณไฟฟ้านี้จะไปกระตุ้นปลายประสาทการได้ยิน และส่งสัญญาณต่อไปยังสมอง โดยอุปกรณ์ภายนอก และอุปกรณ์ภายในจะยึดแนบติดกันด้วยแม่เหล็กผ่านหนังศีรษะบริเวณหลังใบหู เพื่อแปลความหมายของเสียงที่ได้ยิน

          ประสาทหูเทียมนี้จะแตกต่างจากเครื่องช่วยฟัง ตรงที่เครื่องช่วยฟังจะทำการขยายเสียงให้ดังขึ้นเท่านั้นไม่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยประสาทหูพิการเข้าใจเสียงที่ได้ยิน แต่เครื่องประสาทหูเทียมจะไปทดแทนส่วนของประสาทหูที่ถูกทำลาย และช่วยกระตุ้นประสาทรับเสียงที่หูชั้นใน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาได้ยินเสียงอีกครั้ง

ผ่าตัด ประสาท หู เทียม ประสาทหูหนวก ประสาทหูเทียมเหมือนเครื่องช่วยฟังหรือไม่
ผ่าตัด ประสาท หู เทียม ราคา ผ่าตัด หูนวก ใครที่เหมาะสมกับการใช้ประสาทหูเทียม

3. ใครที่เหมาะสมกับการใช้ประสาทหูเทียม

     การที่จะพิจารณาว่าผู้ป่วยลักษณะใดที่เหมาะกับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม มีเกณฑ์คือ ต้องเป็นผู้ป่วยที่ประสาทหูพิการทั้งสองข้างในระดับตั้งแต่ 70 เดซิเบลขึ้นไป หรือหูหนวกสนิททั้งสองข้าง และใช้เครื่องช่วยฟังแล้วไม่ได้ผล หรือเป็นเด็กเล็กที่สูญเสียการได้ยินอย่างรุนแรงตั้งแต่กำเนิด ซึ่งหากได้รับการผ่าตัดตั้งแต่ยังเล็กๆจะได้ผลดีมาก สามารถช่วยให้เด็กมีพัฒนาการได้เท่ากับเด็กปกติ รวมถึงเด็กที่มีอายุมากกว่าสองขวบ และ ประสาทหูพิการมากกว่า 90 เดซิเบล โดยต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆประกอบความเหมาะสมว่าควรที่จะผ่าตัดหรือไม่ด้วย ที่สำคัญคือ ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงในการผ่าตัด เช่น มีความผิดปกติในอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการฝังประสาทหูเทียม หรือมีปัญหาในการดมยาสลบ

4. การวินิจฉัยก่อนผ่าตัด

  เมื่อแพทย์พิจารณาว่า ผู้ป่วยมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้ว จะต้องวินิจฉัยต่อไปตามขั้นตอนต่อไปนี้ เริ่มจากตรวจวินิจฉัยทางโสตสัมผัสวิทยา แล้วตรวจเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือซีทีสแกน หรือ MRI ของหูชั้นใน ตรวจเลือด และตรวจร่างกายอื่นๆ เพื่อพิจารณาความเหมาะสม ในการผ่าตัด จากนั้นให้ลองใช้เครื่องช่วยฟังชนิดกำลังขยายสูง และประเมินด้านจิตวิทยาเพื่อดูระดับสติปัญญาความปกติทางด้านอารมณ์และสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการพิจารณาว่า ผู้ป่วยควรได้รับการผ่าตัดหรือไม่

ผ่าตัด ประสาท หู เทียม ราคา ผ่าตัด หูนวก วินิจฉัยก่อนผ่าตัด

5. ความเสี่ยงและการดูแลตัวเองหลังผ่าตัด

     ความเสี่ยงที่เกิดจากการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมนั้น อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนเหมือนการผ่าตัดอื่นๆ อาจมีอาการชาบริเวณแผลผ่าตัด ชาที่ลิ้น หรือใบหน้าปวดคอ มึนงง มีเสียงดังในหู ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดเพียงชั่วคราวเท่านั้น และจะกลับมาเป็นปกติหลังแผลผ่าตัดหายสนิทแล้ว นอกจากนี้ยังพบอาการน้ำในหูชั้นในรั่วได้ การกระตุกของใบหน้า แต่สามารถรักษาให้หายได้ ส่วนการติดเชื้อที่แผลนั้นพบเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หลังจากผ่าตัดแล้ว แผลผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมจะหายสนิทหลังผ่านไปได้ 3 – 5 สัปดาห์ จากนั้นนักตรวจการได้ยินจะทำการปรับแต่งเสียงให้ได้ระดับที่พอเหมาะ ซึ่งการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมนี้จะมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเอง เพราะหลังจากฝังประสาทหูเทียม แล้ว ผู้ป่วยจะต้องมารับการบำบัดฟื้นฟู และเรียนรู้การแปลความหมายของเสียงที่ได้ยินจากเครื่องประสาทหูเทียม โดยระยะเวลาการเรียนรู้จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

6. หลังผ่าตัดต้องดูแลระมัดระวังเรื่องใดบ้าง

      หลังผ่าตัด เด็กสามารถออกกำลังกาย เล่นกีฬา และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้เหมือนคนปกติทั่วไป แต่ต้องระมัดระวังให้มากขึ้น และหมั่นดูแลรักษาอุปกรณ์ ซึ่งก็เพียงแค่รักษาความสะอาด ไม่ให้เปียกชื้น หากชิ้นส่วนที่อยู่ภายนอกชำรุดก็สามารถเปลี่ยนหรือซ่อมได้ ในกรณีเด็กเล็กที่ผ่าตัดประสาทหูเทียมมานั้นอาจจะไม่เคยได้รับการฝึกพัฒนาการทางภาษามาก่อน ทำให้ต้องมีคนในครอบครัว ครู เพื่อนๆ หรือนักแก้ไขการพูด ให้ความร่วมมือคอยกระตุ้นตลอดเวลา

7. ฝังประสาทหูเทียมแล้ว ฟังได้ดีแค่ไหน

แม้ผู้ป่วยแต่ละรายจะได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้วแต่ประสิทธิภาพการใช้งานไม่เท่ากัน  โดยอาจเป็นเพราะปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  1. การรับรู้แยกแยะเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมและสังคม  ซึ่งหากผู้ป่วยสามารถรับรู้เสียง  และแยกแยะเสียงได้ดี ก็จะช่วยให้ประสิทธิภาพการใช้งานดีขึ้น
  2. สาเหตุที่สูญเสียการได้ยิน  ผู้ที่สูญเสียการได้ยินจากสาเหตุต่างกัน เช่น สูญเสียการได้ยินจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กับสูญเสียการได้ยินที่ประสาทส่วนกลางและสมองย่อมมีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานของประสาทหูเทียมต่างกัน
  3. อายุที่เริ่มสูญเสียการได้ยิน  เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ เพราะหากสูญเสียการได้ยินก่อนเรียนรู้ภาษาต่างๆ มาก่อน จำเป็นต้องฝึกการเรียนรู้เสียงต่างๆ  แต่หากเป็นผู้ที่เคยเรียนรู้ภาษามาก่อนและเพิ่งมาสูญเสียการได้ยิน  จะใช้ประสาทหูเทียมในการได้ยินเสียงและเข้าใจภาษาได้เร็วกว่า
  4. อายุที่ได้รับการ ผ่าตัด ประสาทหูเทียม  ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเมื่ออายุน้อยๆ จะได้รับประโยชน์จากประสาทหูเทียมอย่างมาก  โดยเฉพาะในเด็กที่ทำการผ่าตัดก่อนอายุ 2 ขวบ จะได้รับประโยชน์สูงสุด
  5. ระยะเวลาที่สูญเสียการได้ยิน  หากเพิ่งสูญเสียการได้ยิน และได้รับการผ่าตัดโดยเร็ว  จะทำให้ผู้ป่วยฟื้นฟูความสามารถในการฟังได้ดีกว่ามาก  เพราะประสาทการได้ยินและสมองส่วนที่แปลเสียงยังคงการรับรู้ไว้อยู่
  6. ชนิดของประสาทหูเทียม เพราะเทคโนโลยีและชนิดของแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ แตกต่างกัน ความสามารถจึงแตกต่างกันไปด้วย

8. ข้อจำกัด

    การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเช่นนี้มีค่าใช้ค่อนข้างจ่ายสูง ซึ่่งแตกต่างกันตามชนิดของ ประสาทหูเทียม และไม่ได้สิ้นสุดที่การผ่าตัดเสร็จเท่านั้น แต่ภายหลังการผ่าตัดยังต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งค่าบริการของโรงพยาบาลแต่ละแห่งด้วย ดังนั้นแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญจึงต้องมีการพิจารณาคัดเลือกผู้ป่วยที่น่าจะมีโอกาสใช้งานประสาทหูเทียมได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดก่อนทำการผ่าตัด เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุด นอกจากนี้ผู้ป่วยไม่ควรตั้งความหวังในประสิทธิภาพมากเกินไป เพราะต้องขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัยประกอบกัน

9. คำแนะนำ

    สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการให้เด็กทำการผ่าตัดประสาทหูเทียมนั้นควรมีการตรวจวัด และประเมินการได้ยิน และศึกษาเรื่องการผ่าตัดประสาทหูเทียมจนเข้าใจก่อน เพื่อจะช่วยให้มีการพัฒนาทักษะการได้ยินที่ดี และเมื่อใส่เครื่องแปลงสัญญาณประสาทหูเทียมแล้วการปรับเครื่องแปลงสัญญาณในเด็กอาจต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะการทำในลักษณะนี้จะช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับเสียงใหม่ที่เพิ่งได้ยิน และให้มีประสบการณ์การได้ยินเบื้องต้นที่ดีก่อน

ดังนั้นการผ่าตัดในผู้ที่มีอายุน้อย และได้รับการฝึกฝนให้เกิดพัฒนาการด้านภาษาพูดหลังการผ่าตัด หรือการผ่าตัดในผู้ที่เคยมีภาษาพูดมาก่อน และยังไม่หลงลืมภาษาเหล่านั้นไป จะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเครื่องประสาทหูเทียม ที่สำคัญพ่อแม่ ผู้ปกครองจะต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก เพื่อให้เกิดความเคยชินในเวลาที่เด็กอยู่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้มีพัฒนาการที่เร็วขึ้น ตลอดจนมีแรงบันดาลใจที่จะพยายามสื่อสารจากเสียงที่ได้ยินใหม่ด้วย

บทความ ผ่าตัด ประสาทหูเทียม คืนการได้ยินให้ลูก โดย

นายแพทย์ เกียรติยศ โคมิน หัวหน้าศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก ประสาทหูเทียมโรงพยาบาลราชวิถี

บทความที่แนะนำ