https://analytics.google.com/analytics/web/?authuser=2#/a29744284p281425186/admin/streams/table/2727640087

Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง

ให้บริการทุกวัน เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 | เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8:00 – 16:30

ติดต่อ line เครื่องช่วยฟัง intimexhearing

ประสาทหูเทียม

Cochlear Implant

เทคโนโลยีเพื่อผู้สูญเสียการได้ยิน ระดับรุนแรง  เมื่อคนสูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงถึงหูหนวกไม่ได้รับประโยชน์จากเครื่องช่วยฟัง ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์จะพิจารณาให้ ประสาทหูเทียม เป็นทางแก้ปัญหาในระยะยาวที่มีประสิทธิภาพมากกว่า

SMARTSOUND® IQ

ปรับให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมของคุณ

     ด้วยนวัตกรรมยาวนานกว่า 30 ปี ประสาทหูเทียม Cochlear® ได้คิดค้นเทคโนโลยี SmartSound® iQ ซึ่งเป็นระบบประมวลผลสัญญาณเสียงที่ทันสมัยที่สุดในอุปกรณ์ประสาทหูเทียม และเป็นระบบเดียวที่มีโปรแกรมปรับเปลี่ยนโหมดการทำงานอัตโนมัติ โดยวิเคราะห์เสียงรอบข้าง เพื่อให้เสียงที่ดีที่สุดในแต่ละสภาพแวดล้อมการฟัง    

     SmartSound® iQ เทคโนโลยีเสียงที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำงานร่วมกัน ช่วยให้คุณเพลิดเพลินกับเสียงได้อย่างดีที่สุด ด้วยโปรแกรมการทำงาน 6 สถานการณ์ กับ ประสาทหูเทียม Cochlear®

ประสาทหูเทียม ราคา ผ่าตัดประสาทหูเทียม ประสาทหูเทียมยี่ห้อ ประสาทหูเสื่อม -smartsound®-iq-1
เสียงคำพูดภายใต้เสียงรบกวน

         สำหรับการสนทนาในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง เช่น โรงอาหารหรือร้านอาหารที่มีการสนทนาอื่นๆ มากมายในเวลาเดียวกัน

  • เทคโนโลยี Adaptive focus (Beam) มุ่งเน้นไปเสียงที่มาจากคู่สนทนาเป็นหลัก ในขณะที่ปิดกั้นเสียงที่มาจากทิศทางอื่น
  • เมื่อหน่วยประมวลผลเสียงได้รับสัญญาณจากตัวส่งสัญญาณ เทคโนโลยี SNR-NR¹ และ ASC² จะปรับปรุงความสบายของเสียงและความชัดเจนของเสียง
ประสาทหูเทียม ราคา ผ่าตัดประสาทหูเทียม ประสาทหูเทียมยี่ห้อ ประสาทหูเสื่อม -smartsound®-iq-2
เสียงคำพูด

       การสนทนาในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างเงียบ เช่นการสนทนาที่ผ่อนคลายกับอาหารค่ำแบบครอบครัว

  • ทิศทางเสียง ช่วยให้แอมพลิจูดโฟกัสเสียงคำพูดได้อย่างสูงสุดในทุกทิศทาง
  • เทคโนโลยี ADRO³ ช่วยเพิ่มระดับเสียงพูดและการปรับปรุงแบบไดนามิกของพยางค์ที่นุ่มนวล เพื่อให้การสนทนามีความชัดเจนและคมชัดยิ่งขึ้น
ประสาทหูเทียม ราคา ผ่าตัดประสาทหูเทียม ประสาทหูเทียมยี่ห้อ ประสาทหูเสื่อม -smartsound®-iq-3
เสียงรบกวน

       สภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง เช่น ฝูงชนขนาดใหญ่ เสียงการจราจร หรือเสียงเครื่องจักร มีความสำคัญต่อการฟังเสียงคำพูด

  • เทคโนโลยี Adaptive focus (Beam) ช่วยเพิ่มเสียงที่มาจากด้านหน้าของผู้ฟังเพื่อช่วยให้คุณมุ่งเน้นไปที่ผู้คนหรือเสียงอื่น ๆ ที่คุณสนใจ
  • เทคโนโลยี SNR-NR¹ จะลดเสียงพื้นหลังอย่างต่อเนื่อง เช่น มอเตอร์เครื่องปรับอากาศหรือพัดลม ในขณะที่ยังคงความชัดเจนของเสียงคำพูด
  • เทคโนโลยี ASC² จะปรับระดับเสียงของสภาพแวดล้อมรอบๆ เพื่อให้อยู่ในช่วงที่สะดวกสบายในการฟังมากขึ้น
ประสาทหูเทียม ราคา ผ่าตัดประสาทหูเทียม ประสาทหูเทียมยี่ห้อ ประสาทหูเสื่อม -smartsound®-iq-4
เสียงลม

      สภาพแวดล้อมกลางแจ้งที่มีลม

  • ไมโครโฟนคู่ตรวจจับเสียงลม โดยเปรียบเทียบผลกระทบของลมที่พัดเข้ามายังไมโครโฟนแต่ละตัว
  • เทคโนโลยี WNR4 ลดเสียงรบกวนที่เกี่ยวข้องกับลม ด้วยความช่วยเหลือของไมโครโฟนคู่
ประสาทหูเทียม ราคา ผ่าตัดประสาทหูเทียม ประสาทหูเทียมยี่ห้อ ประสาทหูเสื่อม -smartsound®-iq-5
เสียงเงียบ

       เสียงรอบข้างที่นุ่มนวลในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ เช่น เสียงของใบไม้ร่วงหล่น หรือเสียงกระซิบของเด็ก

  • เทคโนโลยี ADRO³ ทำให้เสียงชัดเจนขึ้น โดยการปรับปรุงเสียงพูดให้นุ่มนวลแบบไดนามิก
  • เมื่อต้องการกระซิบ สามารถเพิ่มคุณภาพเสียงที่เบาลง เพื่อให้สามารถได้ยินได้มากขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เงียบ
ประสาทหูเทียม ราคา ผ่าตัดประสาทหูเทียม ประสาทหูเทียมยี่ห้อ ประสาทหูเสื่อม -smartsound®-iq-6
เสียงเพลง

       เมื่อคุณต้องการหาความสมดุลระหว่างการเข้าใจเนื้อร้องของเพลงและเพลิดเพลินกับประสบการณ์ทางดนตรี

  • SmartSound® iQ สามารถแยกเสียงเพลงจากเสียงประเภทอื่นๆ
  • ทิศทางเสียง ช่วยให้แอมพลิจูดจับโฟกัสเสียงจากทุกทิศทาง
  • เทคโนโลยี ADRO³ สร้างความสมดุลของลักษณะเสียงที่แตกต่างกัน เพื่อสามารถรับรู้ตัวโน๊ตได้ชัดเจน ไร้สายอย่างแท้จริง

ประสาทหูเทียม
( Cochlear Implant )

ประสาทหูเทียม (Cochlear Implant) คือ

ประสาทหูเทียม Kanso cochlear-implant
อุปกรณ์ทางการแพทย์ทดสอบการได้ยินที่มีเทคโนโลยีเพื่อผู้สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องช่วยฟังได้ ประกอบด้วยอุปกรณ์ขดลวดนำกระแสไฟฟ้าที่ผ่าตัดฝังไว้บนกระดูกหลังใบหู ส่วนของเส้นขดลวดนำกระแสไฟฟ้า จะได้รับการผ่าตัดสอดเข้าไปในหูชั้นใน โดยทำงานร่วมกับอุปกรณ์ส่วนที่อยู่ภายนอกร่างกาย ซึ่งจะทำหน้าที่เปลี่ยนเสียงต่างๆ ให้เป็นกระแสไฟฟ้าขนาดย่อย (Electrical Impulse) ส่งกระแสไฟฟ้าขนาดย่อยนี้ผ่านผิวหนังเข้าสู่ระบบการได้ยิน ผ่านทางอุปกรณ์ส่วนที่ผ่าตัดฝังไว้บนกระดูก หลังใบหู และวิ่งไปตามขดลวดนำกระแสไฟฟ้า ไปกระตุ้นเส้นประสาทการได้ยิน เกิดเป็นกระแสประสาทการได้ยิน วิ่งตามเส้นประสาทการได้ยินไปจนถึงสมอง ส่วนที่รับและแปลความหมายของเสียง ทำให้ผู้ใช้เครื่องประสาทหูเทียม สามารถได้ยินเสียงได้
   เมื่อคนสูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงถึงหูหนวกไม่ได้รับประโยชน์จากเครื่องช่วยฟัง ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์จะพิจารณาให้ประสาทหูเทียมเป็นทางแก้ปัญหาในระยะยาวที่มีประสิทธิภาพมากกว่า
ประสาทหูเทียมจะจำลองลักษณะการได้ยินตามธรรมชาติของหูชั้นในผ่านเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า โดยแบ่งระบบออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือเครื่องแปลงสัญญาณเสียงภายนอกและประสาทหูเทียมที่ฝังไว้ใต้ผิวหนัง
ประสาทหูเทียม cochlear impant
ส่วนประกอบ และการทำงานของเครื่องประสาทหูเทียมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ภายนอกร่างกาย และส่วนที่อยู่ภายในร่างกาย
ส่วนที่อยู่ภายนอกร่างกาย (External Components) ประกอบด้วย

1 เครื่องแปลงสัญญาณ (Speech Processor) ทำหน้าที่ประมวลเสียงต่างๆ รวมทั้งเสียงพูดที่รับมาจากไมโครโฟนแล้วแปลงสัญญาณนั้นให้เป็นกระแสประสาท (Electrical Impulse) ส่งไปยังตัวส่งกระแสไฟฟ้า

2 ตัวส่งกระแสไฟฟ้า (External Transmitter) เป็นขดลวด และแม่เหล็กทำหน้าที่ในการรับกระแสไฟฟ้าจากเครื่องแปลงสัญญาณ และส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปยังอุปกรณ์ส่วนที่อยู่ภายในร่างกาย ผ่านระบบแม่เหล็กที่อยู่บริเวณตัวรับกระแสไฟฟ้า (Internal Receiver) บริเวณกระดูกหลังใบหู ส่วนที่อยู่ภายในร่างกาย (Internal Components) ประกอบด้วย

3 ตัวรับกระแสไฟฟ้า (Internal Receiver) มีลักษณะเป็นขดลวดที่หุ้มด้วยซิลิโคน และแม่เหล็กซึ่งจะดูดติดกับตัวส่งกระแสไฟฟ้าที่เกาะติดบนผิวหนังหลังใบหู ทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้าจากตัวส่งกระแสไฟฟ้าส่งไปยังขดลวดนำกระแสไฟฟ้า (Electrode) มีลักษณะเป็นเส้นลวดมัดเล็กๆ หลายมัด สอดเข้าไปในหูชั้นใน (Cochlear) ทำหน้าที่เปลี่ยนเสียงต่างๆ ที่เข้ามาให้เป็นกระแสไฟฟ้าขนาดย่อย (Electrical Impulse) เข้าไปกระตุ้นเส้นประสาทการ ได้ยิน เกิดเป็นกระแสประสาท วิ่งตามเส้นประสาทการได้ยิน

4 ไปจนถึงสมองส่วนรับและแปลความหมายของเสียง ทำให้ผู้ใช้เครื่องประสาทหูเทียมสามารถได้ยินเสียงได้

ส่วนประกอบและการทำงานของเครื่องประสาทหูเทียมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ภายนอกร่างกาย และส่วนที่อยู่ภายในร่างกาย

Previous slide
Next slide

Audio Processor

ทำหน้าที่รับสัญญาณเสียงแล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลส่งไปยังเครื่องรับสัญญาณที่ได้ผ่าตัดฝังเอาไว้ มี 2 ชนิด คือ ชนิดแขวนหลังหูและชนิดไร้สาย ประกอบด้วย

  • ไมโครโฟนรับสัญญาณเสียง
  • หน่วยประมวลผล
  • กล่องแบตเตอรี่
  • คอยล์แม่เหล็ก เพื่อส่งสัญญาณไปสู่ประสาทหูเทียม

คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมกับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม

ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี

คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสม
กับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม
  • 1. อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
  • 2. หูหนวกมาเป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี
    (หากหูหนวกเกิน 10 ปี ต้องได้รับการฟื้นฟูการได้ยินมาก่อน)
  • 3. สูญเสียการได้ยินทั้งสองข้างระดับหูหนวก (มากกว่า 80 เดซิเบล และลองใช้เครื่องช่วยฟังแล้วไม่ได้ผล
  • 4. ไม่มีโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการผ่าตัด
  • 5. มีสุขภาพจิตและสติปัญญาดีพอทื่สามารถพัฒนาได้
  • 6. ต้องสามารถเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินหลังการผ่าตัดและติดตามผลเป็นระยะๆได้
  • 7. มีศักยภาพที่จะดูแล บำรุงรักษาเครื่องประสาทหูเทียมได้

ในผู้ใหญ่ *

คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสม
กับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม
  • 1. หูหนวกมาเป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี (หากหูหนวกเกิน 10 ปี ต้องได้รับการฟื้นฟูการได้ยินมาก่อน)
  • 2. สูญเสียการได้ยินท้ังสองข้างระดับหูหนวก (มากกว่า 80 เดซิเบล) และลองใช้เครื่องช่วยฟังแล้วไม่ได้ผล
  • 3. ไม่มีโรคทื่เป็นอุปสรรคต่อการผ่าตัด
  • 4. ผู้ป่วยต้องไม่มีปัญหาทางด้านจิตประสาท ที่เป็นอุปสรรคในการใช้ประสาทหูเทียม
  • 5. ต้องสามารถเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินหลังการผ่าตัดและติดตามผลเป็นระยะๆได้
  • 6. มีศักยภาพที่จะดูแล บำรุงรักษาเครื่องประสาทหูเทียมได้
ศูนย์ประสาทหูเทียมอินทิเม็กซ์ ที่เดียวที่ให้บริการครบวงจรตั้งแต่ก่อนผ่าตัด และหลังผ่าตัดอย่างสมบูรณ์

บริการก่อนผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม

  1. เสริมความรู้ให้กับครอบครัวและกับผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินให้มีความเข้าใจเรื่องผลกระทบของการสูญเสียการได้ยิน การพัฒนาการฟัง การทำงานของประสาทหูเทียม ความคาดหวังที่เหมาะสม กระบวนการประเมินทางการแพทย์ ข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดูแลเครื่องฯลฯ
  2. ประเมินทางการได้ยินด้วยการตรวจการได้ยิน ใส่เครื่องช่วยฟังเพื่อดูระดับการได้ยินทั้งก่อนใส่ และขณะใส่เครื่องช่วยฟัง
  3. ประเมินการฟัง ภาษา และการพูด
  4. เตรียมฝึกทักษะการฟังและการพูดก่อนการผ่าตัด

บริการหลังผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม

  1. ฟื้นฟูสมรรถภาพการการฟังสำหรับผู้ใหญ่
  2. ฟื้นฟูทักษะการฟัง การพูด และภาษาสำหรับเด็ก
  3. โปรแกรมช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กเล็ก
  4. อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องประสาทหูเทียมการแก้ปัญหาเครื่องประสาทหูเทียมเบื้องต้นด้วยตนเอง
  5. บริการปรับเครื่องประสาทหูเทียม
  6. บริการบำรุงรักษาเครื่องแปลงสัญญาณประสาทหูเทียม
เมื่อแพทย์พิจารณาว่า ผู้สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงคุณสมบัติเหมาะสมกับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้ว  จะต้องวินิจฉัยต่อไปตามขั้นตอนต่อไปนี้  เริ่มจากตรวจวินิจฉัยทางโสตสัมผัสวิทยา  แล้วตรวจเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือซีทีสแกน หรือ MRI ของหูชั้นใน ตรวจเลือด และตรวจร่างกายอื่นๆ เพื่อพิจารณาความเหมาะสม ในการ ผ่าตัดประสาทหูเทียม  จากนั้นให้ลองใช้เครื่องช่วยฟังชนิดกำลังขยายสูง  และประเมินด้านจิตวิทยาเพื่อดูระดับสติปัญญาความปกติทางด้านอารมณ์และสังคม  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการพิจารณาว่า ประสาทหูเสื่อม และเป็นผู้สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงควรได้รับการผ่าตัดหรือไม่

ปรึกษาเกี่ยวกับ ประสาทหูเทียม

ประสาทหูเทียม

ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายได้ที่
ศูนย์ประสาทหูเทียมอินทิเม็กซ์

ลงทะเบียน

ติดต่อ ผ่านระบบ Social

ผลิตภัณฑ์ประสาทหูเทียม

ขนาดเล็ก เบาสบาย ซ่อนตัวได้ ไม่ต้องคล้องหู

อุปกรณ์เสริมไร้สาย ให้คุณเพลิดเพลินกับการได้ยินที่สะดวกสบาย

บทความที่แนะนำ

แบบฟอร์มลงทะเบียน สอบถาม หรือ นัดหมาย ปรึกษาเกี่ยวกับประสาทหูเทียม

Check Icon