ศูนย์บริการ เครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์
ขณะนี้คุณอยู่หน้า หน้าแรก » เครื่องช่วยฟัง คืออะไร เหมาะกับการได้ยินแบบไหน
เลือก เครื่องช่วยฟัง ดิจิตอล ที่เหมาะสำหรับคุณ
โดย Hearing Coach ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยิน
ทำหน้าที่ออกแบบการได้ยินสำหรับคุณโดยเฉพาะ
เพื่อการได้ยินดี สุขภาพดี
เครื่องช่วยฟัง คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ประกอบด้วยไมโครโฟนรับเสียง ชิปคอมพิวเตอร์ (Computer chip) ซึ่งทำหน้าที่จัดกระบวนการขยายเสียงด้วยระบบดิจิตอล และผลิตเป็นสัญญาณเสียงคุณภาพ ส่งไปที่ลำโพงเพื่อเข้าช่องหูให้ผู้ใช้ได้ยิน กระบวนการควบคุมการทำงานและผลิตคุณภาพเสียงที่ออกมาถูกควบคุมโดย ชิปคอมพิวเตอร์ (Computer chip) ที่มีตั้งแต่ระบบที่จัดการเสียงไม่ซับซ้อนมาก จนถึงระบบที่มีความซับซ้อนสูง เครื่องช่วยฟัง ดิจิตอล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายเสียงจากภายนอก ส่งเข้าไปในช่องหู ให้ผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินในระดับและรูปแบบที่แตกต่างกัน สามารถได้ยินเสียงพูดและเสียงรอบข้างได้มากขึ้น อุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง ทำงานด้วยแบตเตอรี่ใช้แล้วทิ้งแบบซิงค์แอร์ ซึ่งในปัจจุบันเป็นชนิดไร้สารปรอท (Mercury-Free Zinc Air) หรือแบบชาร์จไฟได้
เครื่องช่วยฟังมีปุ่มปรับความดังของเสียง และเลือกโปรแกรมฟังเสียงในสภาพแวดล้อมต่างๆ ควบคุมได้ที่ตัวเครื่องเองหรือบน application ในโทรศัพท์มือถือ หลายท่านเข้าใจว่าเครื่องช่วยฟังเป็นเพียงเครื่องขยายเสียงเท่านั้น จึงไปหาซื้อที่ไหนก็ได้ น่าจะเหมือนกันหมด และนั่นคือความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เครื่องช่วยฟังที่ดีควรเป็นระบบดิจิตอล ที่ไม่ใช่แค่ขยายเสียงทุกเสียงให้ดังขึ้น แต่ต้องช่วยขยายระดับการได้ยินที่บกพร่องไป ให้เหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินชีวิตประจำวันของแต่ละคน
ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์ จึงเลือกใช้เครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอลของเบอร์นาโฟน จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ที่มีมาตรฐานสากลจากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากว่า 70 ปี และมีศูนย์บริการหลายประเทศทั่วโลก เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าเป็นเครื่องช่วยฟังที่มีคุณภาพสูงอย่างดี พร้อมให้บริการอย่างดีที่สุด
เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหู Behind the ear (BTE) ตัวเครื่องวางทัดอยู่หลังใบหู ออกแบบรูปร่างของเครื่องให้วางไว้บนหลังใบหู เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหูให้กำลังขยายตั้งแต่ระดับน้อยไปจนถึงมาก
เหมาะสำหรับ :-
1.1 เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู มีลำโพงในช่องหู (Receiver In The Ear หรือ RITE) เป็นเครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหูขนาดเล็ก มีสายเชื่อมส่วนของลำโพงแยกออกมาต่างหากจากตัวเครื่อง ส่วนของลำโพงสอดเข้าไปในช่องหู
เหมาะสำหรับ :-
1.2 เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหูขนาดมินิ (Mini Behind The Ear หรือ Mini BTE)
เป็นเครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหูขนาดเล็กมาก วางซ่อนมิดชิดอยู่หลังใบหูอย่างแท้จริง ต่อกับสายพลาสติกที่เรียกว่า Spira Flex ที่มีหลายขนาด หลายระดับความยาวสำหรับสรีระของใบหูและช่องหูที่แตกต่างกันในแต่ละคน สาย Spira Flex จะส่งเสียงตรงเข้าไปที่ช่องหูของผู้ใช้เช่นกัน แต่ว่าไม่ได้อุดช่องหูทั้งหมดเหมือนกับพิมพ์หู ยังเปิดช่องหูให้โล่งไว้ส่วนหนึ่ง ทำให้รู้สึกเสียงก้องน้อยลง อึดอัดน้อยลง เหมาะกับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับน้อยถึงปานกลาง
เหมาะสำหรับ :-
1.3 เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหูแบบเปิดช่องหู Open-Fit ใช้ร่วมกับสาย Spira Flex
เครื่องช่วยฟังจะต่อกับสายพลาสติกที่เรียกว่า Spira Flex ที่มีหลายขนาด หลายระดับความยาวสำหรับสรีระของใบหูและช่องหูที่แตกต่างกันในแต่ละคน สาย Spira Flex จะส่งเสียงตรงเข้าไปที่ช่องหูของผู้ใช้เช่นกัน แต่ว่าไม่ได้อุดช่องหูทั้งหมดเหมือนกับพิมพ์หู ยังเปิดช่องหูให้โล่งไว้ส่วนหนึ่ง ทำให้รู้สึกเสียงก้องน้อยลง อึดอัดน้อยลง เหมาะกับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับน้อยถึงปานกลาง
1.4 เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหูแบบใช้ร่วมกับพิมพ์หู (Earmould) ที่สั่งทำขนาดเท่าช่องหูเฉพาะบุคคล เสียงที่ได้รับการขยายจะส่งผ่านพิมพ์หู ซึ่งมีหน้าที่นำเสียงจากเครื่องช่วยฟังเข้าไปในช่องหูโดยตรง และยึดเครื่องช่วยฟังไม่ให้หล่น เหมาะกับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับปานกลางถึงรุนแรงมาก
เป็น เครื่องช่วยฟังขนาดเล็ก แบบสั่งผลิตขนาดพอดีกับภายในหู อุปกรณ์ทุกชิ้นบรรจุไว้อยู่ภายในเครื่องชิ้นเดียว ใช้แบตเตอรี่เครื่องช่วยฟังเบอร์ 13, 312
เหมาะสำหรับ :-
ไม่เหมาะสำหรับ :-
เป็น เครื่องช่วยฟัง ขนาดเล็ก แบบสั่งผลิตขนาดพอดีกับภายในช่องหู มีขนาดเล็กกว่าแบบใส่ในหู สังเกตเห็นได้ยาก ใช้แบตเตอรี่เครื่องช่วยฟังเบอร์ 312
เหมาะสำหรับ :-
ไม่เหมาะสำหรับ :-
เป็น เครื่องช่วยฟัง ขนาดเล็ก แบบสั่งผลิตขนาดพอดีกับขนาดช่องหู มีขนาดเล็ก วางหลบเข้าไปในช่องหูมากกว่าแบบใส่ในช่องหู In The Canal (ITC) สังเกตเห็นได้ยาก ใช้แบตเตอรี่เครื่องช่วยฟังเบอร์ 10
เหมาะสำหรับ :-
ไม่เหมาะสำหรับ :-
เป็น เครื่องช่วยฟัง ขนาดเล็ก แบบสั่งผลิตขนาดพอดีกับขนาดช่องหู มีขนาดจิ๋ว ใส่แล้วมองไม่เห็นตัวเครื่อง เนื่องจากตัวเครื่องวางลึกเข้าไปในช่องหูมากกว่าเครื่องช่วยฟังแบบใส่ในช่องหูทุกรุ่นที่กล่าวมา ใช้แบตเตอรี่เครื่องช่วยฟังเบอร์ 10
เหมาะสำหรับ :-
ไม่เหมาะสำหรับ :-
เป็นเครื่องที่นำเสียงผ่านเข้าที่บริเวณหลังใบหู (mastoid) กรณีที่ไม่สามารถใส่เครื่องช่วยฟังที่ขยายเสียงผ่านเข้าทางช่องหูได้ เช่น กรณีรูหู ตีบ ไม่มีรูหู ผู้ป่วยที่หูอักเสบเรื้อรังมีของเหลวไหลออกจากหูตลอดเวลา เป็นต้น เครื่องประเภทนี้มีทั้งชนิดที่วางอยู่บริเวณกกหู และชนิดที่แพทย์ต้องท่าการผ่าตัดเพื่อฝังไว้ที่กระดูกหลังใบหู โดยมีเครื่องรับเสียงอยู่ภายนอก
การเลือกว่าเครื่องช่วยฟังแบบไหนที่จะเหมาะกับคุณ นอกจากจะดูระดับการสูญเสียการได้ยินแล้ว ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย
ขอรับรายละเอียด เครื่องช่วยฟังแบบไหนเหมาะกับฉัน?
การเลือกเครื่องช่วยฟังต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลายปัจจัย ไม่ใช่เพียงแต่ระดับ และรูปแบบของความบกพร่องทางการได้ยิน เท่านั้นแต่ยังต้องคำนึงถึงงบประมาณในการลงทุน การนำไปใช้งาน เช่น ในที่ทำงาน หรือ อยู่เฉพาะในบ้าน
ความพึงพอใจในการใส่เครื่องช่วยฟัง ขึ้นอยู่กับคุณภาพของศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังที่คุณใช้บริการ นั่นเป็นเพราะว่าการซื้อเครื่องช่วยฟังไม่ใช่เป็นประสบการณ์ครั้งเดียวจบ คุณจำเป็นต้องได้รับการติดตามนัดหมาย เพื่อปรับเสียงให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น ที่ทำงาน ที่บ้าน เมื่อออกไปเดินเล่น ออกกำลังกาย ไปห้างสรรพสินค้า ไปทานอาหารกับครอบครัวหรือเพื่อน รวมถึงการบริการตรวจเช็คทำความสะอาดเครื่องอย่างสม่ำเสมอ
ก่อนตัดสินใจ ซื้อเครื่องช่วยฟัง ขอให้คุณศึกษาอย่างละเอียดถึงความต้องการส่วนตัวของคุณ ความชอบและประสบการณ์ที่คุณเคยพบจากศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังแต่ละที่ เพื่อคุณจะได้เลือกศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังที่ดีที่สุดที่ร่วมการแก้ปัญหาการได้ยินที่คุณมีให้กับคุณได้ในระยะยาว
เครื่องช่วยฟังเป็นการลงทุนสำหรับคุณภาพชีวิตของคุณ สอบถามเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่สนับสนุนให้คุณใช้ประโยชน์จากเครื่องช่วยฟังเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคุณ อุปกรณ์ที่ดูแลเครื่องช่วยฟังของคุณให้ปลอดจากการสะสมของแบคทีเรีย และความชื้น
ที่ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์ ให้บริการด้วยการออกแบบการได้ยินด้วยตัวคุณเอง ไปพร้อมกับ คำแนะนำของ Hearing Coach ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟังและการได้ยิน โดยคำนึงถึงผลตรวจการได้ยิน ไลฟสไตล์ ความชอบส่วนตัว ประสบการณ์การใช้เครื่อง การฟังเปรียบเทียบ และปัจจัยอื่นๆ
ขอรับรายละเอียด เลือกเครื่องช่วยฟังอย่างไร?
เครื่องช่วยฟังมีราคาจำหน่ายตั้งแต่เครื่องช่วยฟังราคาถูก 390 บาท ไปจนถึงเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูงราคาถึง 100,000 กว่าบาท เครื่องช่วยฟังเป็นการลงทุนที่สำคัญ เป็นอุปกรณ์ที่คุณต้องใส่ตลอดเวลาตื่น 7 วันต่อสัปดาห์ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องมั่นใจว่าคุณได้จ่ายเงินและใช้เวลาของคุณไปอย่างคุ้มค่า
เครื่องช่วยฟัง ราคา แตกต่างกันมาก มีเหตุผลที่อธิบายได้ว่าเบื้องหลังของเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง คือการลงทุนกับทีมงานวิจัยและพัฒนาทั้งด้านอุปกรณ์ชิ้นส่วนและด้านซอฟต์แวร์เทคโนโลยีที่ทำให้เครื่องช่วยฟังมีนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหาให้แก่ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่มีความต้องการหลากหลายในแต่ละบุคคล และในสถานการณ์ของเสียงที่แตกต่างกัน ให้มีเครื่องช่วยฟังที่ฟังสบาย ได้ยินเสียงพูดชัดเจน ลดเสียงรบกวนรอบข้าง และมีคุณสมบัติที่ทำให้ผู้ที่หูตึง หรือสูญเสียการได้ยิน ได้มีโอกาสได้ยินมากขึ้น และได้คุณภาพชีวิตที่ดีกลับมา
เครื่องช่วยฟังคุณภาพ จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณ
ราคาของเครื่องช่วยฟังไม่ควรเป็นปัจจัยเดียวในการพิจารณาเมื่อต้องการซื้อ หากคุณคิดว่าซื้อเครื่องช่วยฟังที่ไหนก็ได้ กับบริษัทหรือศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังไหนก็ได้ คุณสามารถทำได้ถ้าคุณต้องการซื้อเพียงเครื่องขยายเสียง แต่หากคุณต้องการลงทุนกับคุณภาพชีวิตของคุณ ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังที่มีประสบการณ์ มีที่ปรึกษาด้านเครื่องช่วยฟังและการได้ยิน (Hearing Coach) โดยเฉพาะที่เข้าใจ และร่วมแก้ปัญหาการได้ยินที่คุณเผชิญอยู่ในทุกๆ วัน อยู่ประจำเพื่อให้บริการคุณในวันที่คุณต้องการ
การซื้อเครื่องช่วยฟัง เป็นการลงทุนให้กับคุณภาพชีวิตของคุณ คุณไม่ได้เพียง ซื้อเครื่องช่วยฟัง คุณซื้อบริการที่มากับเครื่องช่วยฟัง และคุณภาพชีวิตที่ตามมาจากการใส่เครื่องช่วยฟัง