Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง
ขณะนี้คุณอยู่หน้า หน้าแรก » พิมพ์หู เครื่องช่วยฟัง
พิมพ์หู (Earmold) เครื่องช่วยฟัง เป็นอุปกรณ์สั่งทำพิเศษทำหน้าที่ยึดเครื่องช่วยฟังเข้ากับหูของผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง พิมพ์หูผลิตขึ้นตามรูปร่างของช่องหูเฉพาะของแต่ละบุคคล ขนาดและรูปร่างของพิมพ์หูจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสรีระของช่องหู
ในการทำพิมพ์หูเฉพาะบุคคล ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพการได้ยิน และเครื่องช่วยฟังจะพิมพ์หูของผู้ใส่เครื่องช่วยฟังด้วยสารคล้ายซิลิโคน ส่งไปผลิตขึ้นเป็นพิเศษในห้องแล็ปที่ผลิตพิมพ์หูโดยเฉพาะ
พิมพ์หูจะถูกผลิตและปรับแต่งให้เข้ากับรูปทรงหูที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคน เพื่อที่จะใส่ได้สบาย แนบสนิทกับหูของผู้ใส่เครื่องช่วยฟังอย่างพอดี
พิมพ์หูมีขนาดเล็ก ขนาดครึ่งหู หรือขนาดเต็มหู ขึ้นอยู่กับระดับและประเภทของการสูญเสียการได้ยิน สรีระของช่องหู ไลฟสไตล์ และความชอบส่วนตัวของผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง
สั่งผลิตพิมพ์หูพร้อมอักษรบนพิมพ์หู สำหรับคุณโดยเฉพาะที่
ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์
การใส่พิมพ์หูพร้อมกับเครื่องช่วยฟัง ทำให้เสียงที่ได้รับการขยายจากเครื่องช่วยฟัง ตรงไปเข้าช่องหูของผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังจะได้ยินเสียงคุณภาพสูงได้มากที่สุด นอกจากนั้นการใส่พิมพ์หูยังป้องกันเสียงที่ขยายจากเครื่องช่วยฟัง ไม่ให้ย้อนกลับออกมา ทำให้เกิดเสียงหวีดหรือเสียงสะท้อนกลับ (Feedback) ได้
เนื่องจากหูของเรามีรูปร่างและขนาดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล การผลิตพิมพ์หูให้พอดีกับรูปร่างของหูต้องผลิตโดยผู้ที่มีประสบการณ์ มีความละเอียด ปราณีต เพื่อให้พิมพ์หูทุกชิ้นมีขนาดพอดี ไม่แน่นคับ หรือหลวมเกินไป วางอยู่ในช่องหูอย่างพอดี ใส่แล้วให้ความรู้สึกสบาย ช่วยให้ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังได้ยินเสียงจากเครื่องช่วยฟังได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุด
อะคริลิก (Acrylic) เป็นพลาสติกแข็ง ง่ายต่อการหยิบใส่และถอดออกจากช่องหู วัสดุอะคริลิกมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่หดตัว ตกแต่งรูปทรงได้ง่าย ทำความสะอาดง่าย
วัสดุอะคริลิคเหมาะกับใบหูที่มีเนื้อหูนุ่ม เนื่องจากเนื้อวัสดุที่มีความแข็ง ช่วยให้ใส่ในช่องหูได้ง่าย วัสดุอะคริลิกไม่เหมาะกับทารกและวัยเด็ก เพราะอาจเกิดการบาดเจ็บจากการถูกกระทบกระเทือนช่องหูได้
วัสดุอะคริลิคไม่เหมาะกับผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง หรือมีสรีระของช่องหูและใบหูขยับเปลี่ยนรูปร่าง เมื่อมีการเคลื่อนไหวของใบหน้าและกราม เนื่องจากพิมพ์หูแบบอะคริลิกจะไม่ขยับตัวไปตามการเปลี่ยนรูปร่างของช่องหูที่ขยับ ทำให้เกิดช่องว่าง อาจเกิดเสียงหวีด หรือเสียงสะท้อนกลับ (Feedback) รั่วออกมา
ซิลิโคน (Silicone) เป็นวัสดุที่มีความนิ่ม และยืดหยุ่นสูง ใส่สบาย ซิลิโคนเป็นเกรดทางการแพทย์ จึงเป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้วัสดุ
วัสดุซิลิโคนมีผิวที่สามารถจับยึดกับผิวหนังได้ดี เหมาะสำหรับการใช้งานกับเครื่องช่วยฟังที่มีกำลังขยายสูง และเป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับทารกและเด็กเนื่องจากนิ่มและยืดหย่นสูง ลดโอกาสการบาดเจ็บกรณีถูกกระทบกระเทือนบริเวณช่องหูได้
วัสดุซิลิโคนไม่เหมาะกับคนไข้ที่มีใบหูนุ่ม เนื่องจากความหนืดของวัสดุซิลิโคนจะไปเกาะผิวหนังในช่องหูให้ดันเข้าไปด้านหลังทำให้ใส่ลงในช่องหูให้พอดีได้ยาก
ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพการได้ยิน และเครื่องช่วยฟัง ได้ที่
ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์
รูปแบบของพิมพ์หู (Earmold) แตกต่างกันตามระดับการสูญเสียการได้ยิน รูปแบบของเครื่องช่วยฟัง ความชอบส่วนตัว รูปร่าง และเนื้อสัมผัสของพิมพ์หู ได้แก่
1. แบบเต็มหู (Concha)
แนบกับเบ้าหูได้ดีเพื่อให้ได้ยินได้ดีที่สุด สำหรับผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรง
2. แบบครึ่งหู (Canal)
จะคล้ายกับแบบแรก แต่แนบบริเวณครึ่งเบ้าหูเท่านั้น สำหรับผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินในระดับน้อยถึงปานกลาง
3. แบบสเกลเลตัน (Skelton)
ออกแบบมาเพื่อความสวยงาม ขอบของวัสดุออกแบบเพื่อความสบายสูงสุด แต่ยังคงยึดพิมพ์หูไว้ภายในช่องหูได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใส่สบาย ดูแลรักษาง่าย สำหรับผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินในระดับน้อยถึงรุนแรง
4. แบบครึ่งหูล๊อก (canal lock)
แบบครึ่งเบ้าหูพร้อมก้านล็อค เหมาะสำหรับผู้ที่มีสรีระของช่องหูและใบหูขยับเปลี่ยนรูปร่าง เมื่อมีการเคลื่อนไหวของใบหน้าและขากรรไกร ก้านล๊อกได้ออกแบบให้ยึดพิมพ์หู ไม่ให้ขยับไปตามการเปลี่ยนรูปร่างของช่องหู สำหรับผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินในระดับน้อยถึงปานกลาง
5. แบบในช่องหูใส่กับเครื่องช่วยฟังชนิดลำโพงในช่องหู (Earmold for Receiver In The Ear)
แบบจิ๋วในช่องหู สำหรับใส่ร่วมกับเครื่องช่วยฟังแบบลำโพงในช่องหู (Receiver In The Ear Hearing Aid) มีขนาดเล็กเท่าช่องหู หุ้มห่อลำโพง (Receiver) ให้ลำโพงอยู่ในช่องหูได้มั่นคงมากขึ้น สำหรับผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินในระดับน้อยถึงปานกลาง
ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพการได้ยิน และเครื่องช่วยฟัง ได้ที่
ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์
การเลือกวัสดุและรูปแบบของพิมพ์หู (Earmold) เพื่อให้เหมาะสม มีปัจจัยที่ควรพิจารณาดังนี้
โดยทั่วไป หากผู้ใส่เครื่องช่วยฟังมีการสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงมาก วัสดุของพิมพ์หูควรเป็นแบบซิลิโคนนุ่ม หากการสูญเสียการได้ยินระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง สามารถเลือกใช้พิมพ์หูวัสดุอะคริลิกได้
รูปแบบของพิมพ์หู วัสดุ ขนาดและรูปแบบของท่อระบายอากาศ การปรับแต่งพิมพ์หู มีคุณสมบัติทางเสียงเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับเครื่องช่วยฟังในการนำเสียงไปเข้าช่องหูที่แตกต่างกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพการได้ยิน และเครื่องช่วยฟัง มีความรู้และประสบการณ์ในการนำปัจจัยเหล่านี้มาประกอบการพิจารณาเมื่อสั่งผลิตพิมพ์หูให้กับผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟังแต่ละท่านโดยเฉพาะ
กรณีสูงอายุ มักพบว่ามีผิวบอบบาง หรืออาจมีภาวะโรคข้ออักเสบหรือภาวะจำกัดความคล่องตัวในการใช้มือและนิ้ว พิมพ์หูที่ทำจากวัสดุอะคริลิกจะง่ายต่อการหยิบจับใส่และถอดออก
แม้ว่าระดับการสูญเสียการได้ยินจะเป็นขั้นตอนแรกในการเลือกวัสดุพิมพ์หู การนำเรื่องไลฟสไตล์ และระดับประสบการณ์ของผู้ใส่เครื่องช่วยฟังมาพิจารณาประกอบการเลือกวัสดุและรูปแบบของพิมพ์หู จะทำให้ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังได้รับความพึงพอใจสูงสุด
ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพการได้ยิน และเครื่องช่วยฟัง ได้ที่
ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์
แม้ว่าพิมพ์หูจะผลิตขึ้นตามสรีระช่องหูของคุณ แต่ก็อาจต้องมีการปรับแต่งบ้างเล็กน้อย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพการได้ยิน และเครื่องช่วยฟังของคุณ จะตรวจสอบพิมพ์หูให้กับคุณเป็นประจำทุกปี เพื่อให้แน่ใจว่าพิมพ์หูยังคงใส่ได้พอดี
ปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับพิมพ์หูที่พบบ่อย เช่น
สาเหตุเกิดจากการอุดตันจากการสะสมของขี้หูบริเวณช่องทางออกของเสียง
สาเหตุประการหนึ่งคือขนาดของช่องระบายอากาศที่พิมพ์หู ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพการได้ยิน และเครื่องช่วยฟังจะตรวจสอบและปรับแต่งพิมพ์หูให้กับคุณ
สาเหตุอาจเกิดจาก  1. พิมพ์หูที่ไม่กระชับพอดีกับช่องหู 2. มีขี้หูอุดตันภายในช่องหู 3. ท่อต่อพลาสติกของพิมพ์หูอาจเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน แตก ปริออก ทำให้เสียงที่ขยายออกมาจากเครื่องช่วยฟัง ลอดออกมาจากช่องหู ผ่านช่องว่างเล็กๆ ระหว่างพิมพ์หูกับหู แล้วย้อนกลับเข้าไปในไมโครโฟนของเครื่องช่วยฟังทำให้เกิดเป็นเสียงหวีดหรือเสียงสะท้อนกลับ (Feedback)
ให้รีบนัดพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพการได้ยิน และเครื่องช่วยฟังของคุณ เพื่อให้คำแนะนำวิธีใส่พิมพ์หูที่ถูกต้อง หรือปรับแต่งพิมพ์หูบางส่วนให้กับคุณ
กับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพการได้ยิน และเครื่องช่วยฟัง ได้ที่
ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์
พิมพ์หูมีความเสี่ยงที่จะสกปรกและติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากมีคราบไคลของเหงื่อและความชื้นสะสมอยู่ อย่าวางหรือเก็บพิมพ์หูบนพื้นผิวที่แบคทีเรียและเชื้อรามีแนวโน้มสะสมและเติบโตได้ เช่น วางบนโต๊ะ ใส่ไว้ในกระเป๋า ให้เก็บพิมพ์หูของคุณในกล่องเก็บโดยเฉพาะ
เพื่อสุขอนามัยของช่องหู นำพิมพ์หูของคุณมารับบริการทำความสะอาดฆ่าเชื้อ ทุก 3 เดือน
ที่ ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์ บริการด้วย 2 ขั้นตอนดังนี้
เพื่อสุขอนามัยของช่องหูกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพการได้ยิน และเครื่องช่วยฟัง ได้ที่
ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์
สัญญาณที่บ่งบอกคุณ ว่าถึงเวลาพิจารณาเปลี่ยนพิมพ์หูใหม่
ระยะเวลาที่ต้องเปลี่ยนพิมพ์หูใหม่ของแต่ละคนแตกต่างกันไป สำหรับเด็ก หูของเด็กมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดอยู่เสมอ ในช่วงขวบปีแรกของเด็กอาจต้องเปลี่ยนพิมพ์หูทุก 2 เดือน เมื่อเด็กอายุได้ 2 ขวบ เปลี่ยนพิมพ์หูใหม่ทุก 4 เดือน เมื่อเด็กอายุ 5 ขวบ จำเป็นต้องเปลี่ยนพิมพ์หูใหม่ทุก 9 - 12 เดือน แม้ในวัยผู้ใหญ่การเปลี่ยนแปลงของสรีระหูยังคงเกิดขึ้นแต่ช้ากว่า ผู้ใหญ่ จึงควรตรวจสอบพิมพ์หูทุกปี เพื่อพิจารณาว่าจำเป็นต้องทำพิมพ์หูใหม่หรือไม่
ตรวจสอบพิมพ์หูของคุณอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพิมพ์หูหลวม เนื้อพิมพ์หูแข็งตัวมากกว่าเดิม มีเสียงวี๊ด หรือเปลี่ยนสี นัดหมายขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพการได้ยิน และเครื่องช่วยฟังของคุณ ได้ที่ ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์
เกี่ยวกับการใส่พิมพ์หูอย่างถูกวิธี ได้ที่
ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์