https://analytics.google.com/analytics/web/?authuser=2#/a29744284p281425186/admin/streams/table/2727640087

Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง

ให้บริการทุกวัน เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 | เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8:00 – 16:30

ติดต่อ line เครื่องช่วยฟัง intimexhearing
ทดสอบการได้ยิน ก่อนที่จะสายเกินไป

หากเริ่มรู้สึกว่าได้ยินสิ่งต่างๆ ชัดน้อยลง อย่าอยู่เฉย
ทำการ ทดสอบการได้ยิน ก่อนที่จะสายเกินไป

HEARING AID
หากสัมผัสได้ถึงความผิดปกติของหูตนเอง

จากการได้ยินเสียงต่างๆน้อยลง เสียงรอบตัวเบา

      แม้อยู่ท่ามกลางคนจำนวนมาก รู้สึกหูอื้อตลอดเวลา ผู้พูดต้องพูดเสียงที่ดัง และเข้าไปพูดใกล้ผู้ฟังมากถึงจะเข้าใจ นี่อาจจะเป็นระยะเริ่มต้นที่ถ้าไม่เริ่มสำรวจทดสอบการได้ยิน และรักษาก่อนอาจจะการสูญเสียการได้ยินถาวรได้

สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณภาพการได้ยินเสียงชัดน้อยลงกว่าการได้ยินระดับปกติที่เคยเป็น

ทดสอบการได้ยิน ก่อนที่จะสายเกินไป5

      การได้ยินเสื่อมลงมักเกิดจากประสาทหูเสื่อม (Sensorineural Hearing Loss: SNHL) การได้ยินเสื่อมลงมักเกิดจากประสาทหูเสื่อม (Sensorineural Hearing Loss: SNHL) เกิดขึ้นเมื่อโครงสร้างภายในหูชั้นในหรือเส้นประสาทรับเสียงถูกทำลาย ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินหรือมีปัญหาในการฟัง

     โดยการเสื่อมอาจจะเริ่มต้นตั้งแต่เล็กน้อยหรือปานกลาง และส่วนมากมักจะมีประสาทหูเสื่อมจะอยู่ในการได้ยินระดับที่ความถี่สูง ซึ่งทำให้รับเสียงคำพูดบางคำหรือเสียงแหลมไม่ชัด เช่น เสียงนกหวีด เสียงเด็กเล็ก เสียงริงโทนโทรศัพท์มือถือ หรือเสียงนกร้อง อีกทั้งแยกคำพูดในที่ที่มีเสียงรบกวนได้ด้อยกว่าคนปกติ เช่น ในร้านอาหารหรือห้างสรรพสินค้า หรือในห้องประชุมที่โล่งกว้าง หรือในตลาดที่มีคนพลุกพล่าน

  • ทำงานอยู่ในสถานที่หรือทำงานร่วมกับเครื่องจักรที่มีเสียงดัง โดยไม่ใส่ที่อุดหูกันเสียง
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่มียีนผิดปกติหรือหูเสื่อมสภาพไปตามอายุที่มากขึ้น
  • การถูกทำร้ายร่างกาย
  • อุบัติเหตุกระทบกระเทือนกับหูโดยตรง
  1. เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
  2. เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไทรอยด์ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น
  3. เกิดจากการได้รับยาฆ่าเชื้อในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์

  4. เกิดจากการไหลเวียนของเลือดในหูน้อยลง อันเนื่องมาจากความดันต่ำ หรือเสียเลือดมาก

  5. เกิดจากภาวะพักผ่อนน้อยเกินไป
  6. เกิดจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากันขั้นรุนแรง ซึ่งจะทำให้มีอาการเวียนหัวร่วมด้วย
  7. เกิดจากเนื้องอกในสมอง หรือเนื้องอกที่เส้นประสาทหู
  8. การใส่หูฟังเพลงดังๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือหลับพร้อมกับที่ยังใส่หูฟังเพลงอยู่
ทดสอบการได้ยิน ก่อนที่จะสายเกินไป2
  1. เข้ารับการตรวจเพื่อทดสอบการได้ยินเบื้องต้น และตรวจโดยละเอียด
  2. ในกรณีที่มีสาเหตุจากหูน้ำหนวกหรือหูชั้นกลางอักเสบ สามารถผ่าตัดแก้ไขได้

  3. ในกรณีที่สาเหตุเกิดจากประสาทหูพิการ ซึ่งมีหลายอาการดังต่อไปนี้

  • อาการไม่มาก และเริ่มมีอาการไม่เกิน 1 เดือน อาจรักษาได้ด้วยยารับประทาน
  • สูญเสียการได้ยินไม่มากสามารถรักษาฟื้นฟูได้ โดยการใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งเป็นเครื่องขยายเสียงขนาดเล็กใช้สอดใส่เข้าไปในรูหู หรือวางทัดหลังหู
  • ผู้ที่มีประสาทหูพิการรุนแรงที่เรียกว่าหูหนวกหรือเกือบหนวก การใส่เครื่องช่วยฟังมักไม่ได้ผล จำเป็นต้องใช้การรักษาแนวใหม่ คือการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางการผ่าตัดประสาทหูเทียม

Intimex ศูนย์เฉพาะทางการทดสอบการได้ยิน พร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน

Intimex ให้บริการชั้นเลิศ พร้อมดูแลทุกท่านตลอดการเดินทางสู่คุณภาพการได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นตรวจวัดระดับการได้ยิน เลือกเครื่องช่วยฟังตามระดับการได้ยินจากผลทดสอบการได้ยิน และรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล เข้าถึง เข้าใจ และใส่ใจในความต้องการ ดูแลเครื่องช่วยฟังให้สะอาดถูกสุขอนามัย ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยและคุณภาพสูง เราพร้อมรองรับความต้องการทางการสื่อสารในชีวิตประจำวันให้เป็นไปอย่างราบรื่น มุ่งสู่คุณภาพการได้ยินที่ดีตลอดไป

เครื่องช่วยฟังที่เหมาะสำหรับคุณ ไม่ใช่เป็นเพียงอุปกรณ์
แต่คือประสบการณ์การได้ยินที่ช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้เต็มศักยภาพอย่างสูงสุด
ลงทะเบียนเพื่อรับคำแนะนำจาก ผู้ให้คำปรึกษาด้านการได้ยินและเครื่องช่วยฟัง (Hearing Coach) ของศูนย์บริการเครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์ ที่พร้อมช่วยคุณค้นหาโซลูชั่นที่เหมาะสมตรงกับความต้องการของคุณ

ลงทะเบียน

ติดต่อ ผ่านระบบ Social และ โทรศัพท์

บทความที่เกี่ยวข้อง

banner เครื่องช่วยฟังอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคพาร์กินสัน

เครื่องช่วยฟังอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคพาร์กินสัน

ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นโรคพาร์กินสันมากกว่าผู้ที่ได้ยินปกติ เครื่องช่วยฟังอาจมีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคพาร์กินสัน การเลือกผู้ให้บริการด้านเครื่องช่วยฟังที่มีประสบการณ์และเชื่อถือได้ มีความจำเป็นเพื่อให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้รับประโยชน์สูงสุดจากเครื่องช่วยฟัง ส่งผลให้การสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และความเป็นอยู่โดยรวมดีขึ้น

อ่านต่อ >
Banner เสริมสร้างสุขภาพหูและการได้ยิน ด้วยแผนโภชนาการอาหาร 7 วัน _730x438px

เสริมสร้างสุขภาพหูและการได้ยิน ด้วยแผนโภชนาการอาหาร 7 วัน

สุขภาพการได้ยินของคุณอาจได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย รวมถึงโภชนาการของคุณด้วย อาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็น พร้อมด้วยการตรวจสุขภาพการได้ยินประจำปี สามารถช่วยรักษาสุขภาพการได้ยินของคุณได้อย่างมาก

อ่านต่อ >
Banner อาหารดี สู่การได้ยิน_730x438px

อาหารดี…สู่การได้ยินดี

การได้ยินเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิตของเรา หูต้องการสารอาหารเพื่อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันความเสื่อมถอย การรับประทานอาหารที่ถูกต้องไม่เพียงแต่ช่วยรักษาการได้ยินที่ดีเท่านั้น แต่ยังอาจช่วยชะลอหรือป้องกันการสูญเสียการได้ยินได้อีกด้วย

อ่านต่อ >
Banner ทดสอบการได้ยินอย่างเหมาะสม

Noise-Induced Hearing Loss (NIHL) ส่งผลกระทบต่อคนแต่ละช่วงวัยอย่างไร

Noise-Induced Hearing Loss (NIHL) สามารถส่งผลกระทบที่รุนแรงได้กับทุกวัย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นวัยเด็กหรือผู้สูงอายุก็ต้องหาทางป้องกันเอาไว้ | ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์

อ่านต่อ >

โรคเบาหวาน กับอาการหูไม่ได้ยิน

โรคเบาหวาน หนึ่งในโรคเรื้อรังที่ติดอันดับโรคประจำตัวยอดฮิตของคนไทยส่วนใหญ่ มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับอาการหูไม่ได้ยิน หูตึง หรือหูหนวก? ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟัง intimex มีคำตอบ!

อ่านต่อ >
โรคหัวใจ และ อาการหูไม่ได้ยิ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

โรคหัวใจ และ อาการหูไม่ได้ยิน เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

อาการหูไม่ได้ยินเป็นอาการสำคัญที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ส่วนโรคหัวใจก็เป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก ๆ ของการเสียชีวิตของคนไทย ทั้งสองสิ่งนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรมาดูกัน

อ่านต่อ >