Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง
ขณะนี้คุณอยู่หน้า หน้าแรก » 7 สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เสียงในหู
บางสาเหตุอาจทำให้หูอื้อชั่วคราวแต่หลายสาเหตุก็อาจทำให้มีการสูญเสียการได้ยินอย่างถาวร
ขี้หูมีหน้าที่ป้องกันแบคทีเรียและเชื้อราไม่ให้เติบโตอยู่ภายในช่องหู ขี้หูให้ความชุ่มชื้น ป้องกันผิวหนังภายในช่องหูไม่ให้แห้งจนเกินไป ขี้หูดักเก็บฝุ่นละออง สิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอมจากภายนอกไว้ให้เรา ก่อนที่สิ่งเหล่านั้นจะเข้าไปกองสะสมอยู่ลึกในช่องหู และทำอันตรายภายในช่องหูของเรา ขี้หูยังซึมซับเก็บเซลล์ผิวหนังภายในช่องหูที่ตายแล้วให้เราด้วย ระบบกลไกตามธรรมชาติของช่องหูจะค่อยๆ ดันขี้หูออกมาด้านนอกโดยอัตโนมัติ ขี้หูจะค่อยๆ ถูกผลักเคลื่อนจากส่วนด้านในช่องหูออกมายังส่วนด้านนอกใกล้ทางออกของช่องหู การเคี้ยวและการเคลื่อนไหวขากรรไกรจะช่วยให้เกิดกระบวนการของการทำความสะอาดตามธรรมชาตินี้ เมื่อขี้หูถูกผลักมาถึงบริเวณช่องหูด้านนอก มันก็จะแห้งและเป็นผงและหลุดออกมาได้เอง ทุกครั้งที่ล้างหน้าก็เป็นการทำความสะอาดขี้หูเหล่านี้ออกไปด้วย
แต่บางครั้งกระบวนการของการทำความสะอาดตามธรรมชาตินี้ผิดปกติ ทำให้ขี้หูเกิดสะสมในช่องหูเป็นจำนวนมาก
ผู้ที่มีขี้หูอุดตัน จะมีอาการดังนี้
สาเหตุของขี้หูอุดตัน
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการสะสมของขี้หู มีดังนี้
การรักษา
ช่องหูทำความสะอาดตัวเอง ดังนั้นไม่มีความจำเป็นที่ต้องพยายามเอาขี้หูออก เพื่อป้องกันไม่ให้ขี้หูสะสม คำแนะนำมีดังนี้
ท่อยูสเตเชียน เป็นท่อเล็กๆที่เชื่อมระหว่างหูชั้นกลาง และคอ
หน้าที่ของท่อยูสเตเชียน มีดังนี้
อาการ
สาเหตุ
ยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของการที่ท่อยูสเเชียนผิดปกติ
การรักษา
ไซนัส (Sinuses) หมายถึง โพรงอากาศที่อยู่รอบๆ โพรงจมูกเราทั้งซ้ายและขวา โดยปกติคนเรามีโพรงไซนัสทั้งหมด 4 แห่ง คือ บริเวณระหว่างตาทั้งสองข้าง บริเวณแก้ม บริเวณหน้าผาก และบริเวณในสุดของรูจมูกและที่ใต้ฐานกะโหลก โพรงอากาศนี้เป็นที่โล่งๆ ในกะโหลกศีรษะ แต่ละโพรงอากาศจะมีรูระบายอากาศตามธรรมชาติโพรงละ 1 รู ซึ่งจะระบายเข้าสู่โพรงจมูก และเมื่อเยื่อบุโพรงไซนัสมีการอักเสบ เราจึงเรียกว่า “ไซนัสอักเสบ”
ไซนัสอักเสบ หมายถึง การอักเสบของเยื่อบุโพรงอากาศข้างจมูก มักเกิดขึ้นเมื่อจมูกมีการติดเชื้อ อักเสบ เป็นหวัด ภูมิแพ้ การคั่งค้างอุดตันของสิ่งคัดหลั่งในผู้ที่มีภาวะสันจมูกคด ทําให้การระบายอากาศในโพรงอากาศลําบากมากขึ้น การมีก้อนเนื้องอกในจมูกก็เป็นอีกสาเหตุที่ทําให้เกิดการติดเชื้อในโพรงไซนัส ปัจจุบันเรียกว่า “โรคเยื่อบุจมูกและไซนัสอักเสบ (Rhinosinusitis)”
อาการ
สาเหตุ
การรักษา
ส่วนใหญ่ของการติดเชื้อบริเวณไซนัสไม่จำเป็นต้องทานยาปฏิชีวนะ โดยอาการจะค่อยๆหายเอง* อย่างไรก็ตามบางคนที่พบว่ามีอาการรุนแรง เรื้อรัง จำเป็นต้องพบแพทย์
ร่างกายคนเรามีท่อยูสเตเชี่ยน ซึ่งเป็นท่อที่ช่วยปรับความดันของหูชั้นกลาง ให้เท่ากับบรรยากาศภายนอก เมื่อใดที่ท่อนี้ทํางานผิดปกติไป จะทําให้เกิดอาการหูอื้อ,ปวดหู, มีเสียงดังในหู หรอเวียน ศีรษะ บ้านหมนได้ ตัวอย่างในชีวิตประจำวันที่เราพบได้บ่อยคือ เวลาขึ้นหรือลงลิฟต์เร็วๆ หรือเครื่องบินขึ้นหรือลงเร็วๆ จะมีอาหารหูอื้อ ปวดหู
อาการของหูอื้ออาจเกิดได้ข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ความรุนแรงของอาการปวดหูที่เกิดจากความกดอากาศมากน้อยต่างกันในแต่ละคน
สาเหตุ
เกิดจากความกดอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วระหว่างอากาศภายนอก และอากาศภายในหูชั้นกลาง ทำให้แก้วหูถูกแรงดันอากาศผลักให้นูนออกมา หรือถูกกดลงไป ซึ่งทำให้มีอาการเจ็บปวดมาก
การรักษา
โรคติดเชื้อ (Infectious disease) คือโรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ซึ่งโดยมากมีขนาดเล็กมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าจึงเรียกว่า Microorganism หรือจุลชพี โดยสิ่งมีชีวิตที่ก่อโรคเหล่านี้เรียกว่าเชื้อก่อโรค (Pathogen) หรือ Infectious agent ได้แก่ ไวรัส (Viruses) รา (Fungi) โปรโตซัว (Protozoa) แบคทีเรีย (Bacteria) และอาจรวมถึงพริออน (Prion) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโปรตีนด้วย
การติดเชื้อบริเวณหูนั้นสามารถพบได้ในเวชปฏิบัติทั่วไปและเนื่องจากผู้ป่วยที่มาพบแพทย์
เรื่องการติดเชื้อในหูสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ดังนั้นการได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องมี ความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะไม่ทำให้โรคลุกลามและเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา
อาการ
สาเหตุ
เชื้อโรค เช่น ไวรัส แบคทีเรีย หรือทั้งสองชนิดรวมกัน เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อภายในช่องหู บางครั้งการติดเชื้อเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ หรือสภาพแวดล้อม แต่บางครั้งมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับปัจจัยเหล่านี้ เช่น
การรักษา
การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือยาพาราเซตามอล
อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน เป็นอาการที่พบบ่อย แต่อาการดังกล่าวไม่ได้เกิดจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากันเท่านั้น อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน อาจเกิดจากหลายสาเหตุ
โรคน้ำในหูไมเท่ากัน หรือโรคมีเนีย (Meniere’s disease) เป็นโรคที่มีความผิดปกติของหูชั้นใน โดยมีน้ำในหูชั้นในมากผิดปกติหูชั้นในของคนเรามีเซลล์ประสาทที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวและการได้ยินอยู่ โดยปกติจะมีน้ำในหูชั้นใน ปริมาณที่พอดีกับการทํางานของเซลล์ประสาทที่ทําหนาที่ ควบคุมการทรงตัว และการได้ยินดังกล่าวและมีการไหลเวียนถ่ายเทเป็นปกติ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของน้ำในหู ขณะเคลื่อนไหวศีรษะจะกระตุ้นเซลล์ประสาทดังกล่าวให้มีการส่งสัญญาณไปยังสมองเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อใดก็ตามมความผิดปกติของการไหลเวียนของน้ำในหู เช่น การดูดซึมของน้ำในหูไม่ดี ทําให้น้ำในหูชั้นในมีปริมาณมากปกติ (endolymphatic hydrops)จะส่งผลต่อการทํางานของเซลล์ประสาททควบคุมการทรงตัว และการได้ยิน ทําใหเซลล์ ดังกล่าวทำงานผิดปกติ
อาการ
สาเหตุ
การรักษา
ไม่มียาหรือวิธีรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ทางเลือกในการช่วยบรรเทาอาการ มีดังนี้
เนื้องอกเส้นประสาทหู (Vestibular schwannoma) เป็นเนื้องอกสมองอีกชนิดหนึ่งที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลกระทบต่อร่างกายเป็นอย่างมาก
เนื่องจากกอ้นเนื้องอกจะไปกดเบียดสมองและประสาทข้างเคียง อาจมีอาการเดินเซ การทรงตัวแย่ลง ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน จากภาวะความดัน
ในช่องกะโหลกศีรษะสูง หน้าชาหรือหน้าเบี้ยว ทำให้สูญเสียภาพลักษณ์ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำใหผู้ป่วยทุพพลภาพหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้
โดยเนื้องอกเส้นประสาทหูเป็นเน้ืองอกที่เกิดจาก Schwann cell ของปลอกประสาท (nerve sheath) ที่หุ้มเส้นประสาทการทรงตัว (vestibular nerve)
อาการ
สาเหตุ
มีงานวิจัยระบุว่าเนื้องอกประสาทหูเกิดจากการผลิตเซลล์ชวานน์ (Schwann cell) มากเกินไป** ตามปกติเนื้องอกประสาทหูจะเกิดในหูข้างใดข้างหนึ่ง แต่ในกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม (Neurofibromatosis type 2) มีโอกาสที่จะเกิดสองข้างพร้อมกันได้
นักวิจัยยังพบอีกว่าเนื้องอกประสาทหูทั้งที่เกิดข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง เกิดจาก การสูญเสียการทำหน้าที่ของยีนส์โครโมโซม 22 ยีนส์ตัวนี้ควบคุมการเติบโตของเนื้องอก
การรักษา
มีงานวิจัยระบุว่าเนื้องอกประสาทหูเกิดจากการผลิตเซลล์ชวานน์ (Schwann cell) มากเกินไป** ตามปกติเนื้องอกประสาทหูจะเกิดในหูข้างใดข้างหนึ่ง แต่ในกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม (Neurofibromatosis type 2) มีโอกาสที่จะเกิดสองข้างพร้อมกันได้
นักวิจัยยังพบอีกว่าเนื้องอกประสาทหูทั้งที่เกิดข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง เกิดจาก การสูญเสียการทำหน้าที่ของยีนส์โครโมโซม 22 ยีนส์ตัวนี้ควบคุมการเติบโตของเนื้องอก
*The Centers for Disease Control and Prevention (CDC)
** https://www.nidcd.nih.gov/health/vestibular-schwannoma-acoustic-neuroma-and-neurofibromatosis
*** https://www.nidcd.nih.gov/health/vestibular-schwannoma-acoustic-neuroma-and-neurofibromatosis#ref4
**** https://medlineplus.gov/acousticneuroma.html