https://analytics.google.com/analytics/web/?authuser=2#/a29744284p281425186/admin/streams/table/2727640087

Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง

ให้บริการทุกวัน เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 | เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8:00 – 16:30

ติดต่อ line เครื่องช่วยฟัง intimexhearing
7 เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ประสาทหูเสื่อม ในผู้สูงอายุ

7 เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ประสาทหูเสื่อม ในผู้สูงอายุ

ประสาทหูเสื่อม ในผู้สูงอายุ

     เป็นการสูญเสียความสามารถทางการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไปในหูทั้งสองข้าง  เป็นอาการที่เกิดได้ทั่วไปซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น จากผลการศึกษา* พบว่า 1 คน ใน 3 คนของผู้ที่มีอายุระหว่าง 65-74 ปี มีการสูญเสียการได้ยิน บางคนจึงไม่รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในช่วงแรก ส่วนใหญ่การสูญเสียการได้ยินเกิดขึ้นในช่วงเสียงสูง เช่นเสียงโทรศัพท์ การได้ยินเสียงโดยทั่วไปยังคงได้รับผลกระทบไม่มาก
ประสาทหูเสื่อม ในผู้สูงอายุ

ประสาทหูเสื่อม ในผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบมากกว่าที่เห็น

         ผู้ที่มีอาการประสาทหูเสื่อมตามอายุที่ไม่ได้ใส่เครื่องช่วยฟังมีแนวโน้มที่จะมีความรู้สึกหดหู่มากกว่าผู้ที่มีประสาทหูเสื่อมที่ใส่เครื่องช่วยฟัง** เนื่องจากปัญหาการฟังและการสื่อสารทำให้แยกตนเองออกจากครอบครัวและเพื่อน ซึ่งส่งผลให้เกิดความหดหู่เศร้าและโดดเดี่ยว นอกจากนั้น ความบกพร่องทางการได้ยินอาจนำไปสู่อันตรายที่เกิดกับร่างกายได้ เช่น ไม่สามารถได้ยินเสียงเตือนภัยอันตรายต่างๆ ไม่ได้ยินเสียงรถที่กำลังวิ่งเข้ามาหาขณะที่เดินอยู่บนถนน

อาการของผู้ที่มีประสาทหูเสื่อม

ตามอายุโดยทั่วไปรู้สึกว่าได้ยินเสียงคนอื่นพูดพึมพำ มีปัญหาการได้ยินเสียงสูงเช่นเสียงนาฬิกาเดิน มีปัญหาการฟัง และเข้าใจการสนทนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่มีเสียงรบกวนมาก ฟังเสียงผู้ชายง่ายกว่าเสียงผู้หญิง มีบางเสียงที่รู้สึกว่าดังมากเกินไปและน่ารำคาญหรือมีเสียงในหูข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ประสาทหูเสื่อมในผู้สูงอายุส่วนใหญ่แล้วจะส่งผลต่อการได้ยินเสียงสูง จึงทำให้คุณรู้สึกว่าคุณได้ยินเสียงแต่จับคำพูดไม่ได้ ดังนั้นเรื่องมักสังเกตว่าผู้สูงอายุยังคงพูดเสมอว่าได้ยินได้เห็นซึ่งจริงๆแล้วคือการได้ยินแต่จับคำพูดไม่ได้ เนื่องจากเสียงบางเสียงผู้สูงอายุไม่สามารถได้ยินเสียงบางเสียงได้
7 เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ประสาทหูเสื่อม ในผู้สูงอายุ 08
7 เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ประสาทหูเสื่อม ในผู้สูงอายุ9

ประสาทหูเสื่อมตามอายุไม่สามารถป้องกันได้ไม่สามารถรักษาให้หายได้

        สาเหตุของประสาทหูเสื่อมในผู้สูงอายุส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการเสื่อมของเซลล์ขนรับเสียงในอวัยวะของหูชั้นในปัจจัยทางกรรมพันธุ์อายุที่มากขึ้นปัญหาทางสุขภาพ เช่นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ผลข้างเคียงจากยา เช่น แอสไพริน ยาเคมีบำบัด และยาปฏิชีวนะบางตัว

ผลกระทบของผู้มีอาการประสาทหูเสื่อม

อาการประสาทหูเสื่อม อาจไม่ได้เป็นอาการที่ส่งผลร้ายแรงกับร่างกาย หรืออันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่อาการนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยอยู่ไม่น้อยเลย เพราะการดำเนินชีวิตโดยทั่วไปของคนเรานั้นจะต้องสัมพันธ์กับการพูดและฟังอยู่เสมอ หากเกิดความบกพร่องกับการได้ยินจะยิ่งเพิ่มความยากในการสื่อสารกัน รวมถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเพิ่มขึ้นจากการที่ผู้ป่วยไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง หรือได้ยินเสียงน้อยกว่าปกติ ปัญหาที่พบบ่อยก็คือ

ไม่สามารถจับใจความได้
ผู้ที่มีอาการประสาทหูเสื่อม จะไม่สามารถสื่อสารหรือจับใจความได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่อยู่ท่ามกลางกลุ่มคนที่มีการสนทนากันหลายเรื่อง อาจสื่อสารขาดตอนหรือไม่รู้ว่าใครกำลังพูดอยู่
ได้ยินเสียงอู้อี้
เสียงที่ได้ยินมักจะเป็นเสียงที่ไม่ชัดหรือเป็นเสียงอู้อี้อยู่ในหู ซึ่งเป็นอุปสรรคในการสื่อสารกับผู้อื่น และยังสร้างความรำคาญใจให้กับตัวผู้มีอาการเองอีกด้วย
แยกทิศทางเสียงไม่ได้
มีปัญหาในการแยกทิศทางของเสียง โดยเฉพาะผู้ป่วยประสาทหูเสื่อมที่หูสองข้างได้ยินเสียงไม่เท่ากัน จะทำให้เกิดการสับสนและไม่สามารถหาต้นทางของเสียงที่ได้ยินได้
เวียนศีรษะ เสียการทรงตัว
มีอาการเวียนศีรษะ และเสียทักษะในการทรงตัว เนื่องจากส่วนเซมิเซอร์คิวลาร์ คาแนล (semicircular canal) ที่อยู่ภายในหู เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการทรงตัว ได้เสื่อมสภาพลงหรือไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติจากอาการประสาทหูเสื่อมนั่นเอง
7 เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ประสาทหูเสื่อม ในผู้สูงอายุ95
7 เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ประสาทหูเสื่อม ในผู้สูงอายุ revel

การสูญเสียการได้ยิน อันเนื่องมาจากอาการประสาทหูเสื่อม

สาเหตุของประสาทหูเสื่อมในผู้สูงอายุส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการเสื่อมของเซลล์ขนรับเสียงในอวัยวะของหูชั้นใน ปัจจัยทางกรรมพันธุ์อายุที่มากขึ้นปัญหาทางสุขภาพ เช่นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ผลข้างเคียงจากยา เช่น แอสไพริน ยาเคมีบำบัด และยาปฏิชีวนะบางตัว มีการแบ่งระดับความรุนแรงของอาการประสาทหูเสื่อมเอาไว้ โดยจะแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

เล็กน้อย
– ผู้ที่มีอาการระดับนี้จะไม่ได้ยินเสียงที่ดังประมาณ 26 – 40 เดซิเบล หรือเทียบได้กับเสียงกระซิบ กล่าวคือ เสียงในระดับทั่วไปอาจยังฟังและเข้าใจได้ แต่เมื่อมีการพูดเบา ๆ หรือกระซิบ ผู้ป่วยจะไม่ได้ยินเสียงนั้น ๆ หรือไม่สามารถจับใจความสิ่งที่พูดคุยกันได้
ปานกลาง
– ผู้ที่มีอาการระดับนี้จะไม่ได้ยินเสียงที่ดังประมาณ 41 – 55 เดซิเบล หรือเทียบได้กับเสียงพูดในระดับปกติ กล่าวคือ ผู้ป่วยจะไม่ได้ยินเสียงพูดของอีกฝ่ายเมื่อต้องพูดคุยกันตามปกติ อาจจะต้องฟังซ้ำหรือขอให้อีกฝ่ายเปล่งเสียงดังขึ้นเพื่อสื่อสารกันให้เข้าใจ
รุนแรง
– ผู้ที่มีอาการระดับนี้จะไม่ได้ยินเสียงที่ดังเกิน 71 เดซิเบลขึ้นไป หรือเทียบได้กับระดับเสียงคนตะโกน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการสื่อสารกับคนอื่นเป็นอย่างมาก

การดูแลเมื่อมีอาการประสาทหูเสื่อม

หากพบว่าตัวคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการที่เข้าข่ายว่าจะเป็นประสาทหูเสื่อม แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอาการว่าอยู่ในระดับใด และจะต้องทำการรักษาในรูปแบบไหนให้เหมาะสม ขอแนะนำ ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์ เป็นศูนย์บริการเฉพาะทางการได้ยินครบวงจร ให้บริการตรวจการได้ยินโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ จำหน่ายเครื่องช่วยฟังและอุปกรณ์ดูแลผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยินที่เหมาะสมให้กับแต่ละบุคคล พร้อมบริการดูแลเครื่องช่วยฟังตลอดอายุการใช้งานด้วยมาตรฐานที่มั่นใจได้ เพื่อประสิทธิภาพทางการได้ยินที่ดีที่สุด ทำให้การดูแลผู้ป่วยประสาทหูเสื่อมเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

สมองส่วนที่มีหน้าที่ด้านการได้ยินต้องการเสียงเข้าไปกระตุ้นเพื่อให้คงสมรรถนะและประสิทธิภาพในการทำงานได้

   ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องได้รับเสียงเข้ามากระตุ้นทางช่องหูผ่านเข้ามาทางประสาทการได้ยิน ซึ่งจะส่งสัญญาณไปที่สมองส่วนที่มีหน้าที่ด้านการได้ยิน หากคุณไม่ใช้ประโยชน์กระบวนการนี้คุณจะสูญเสียมันไป ประสิทธิภาพของสมองส่วนที่มีหน้าที่ด้านการได้ยินจะเสื่อมถอยลง ดังนั้นคุณควรจำเป็นจะต้องได้รับเสียงที่มีคุณภาพผ่านเข้ามาเพื่อกระตุ้นกระบวนการไปที่สมองอย่างสม่ำเสมอ

การได้ยิน ความบกพร่องทางการได้ยิน ส่งผลกระทบต่อการรับรู้
ให้บริการมากกว่า 35 ปี

การช่วยเหลือผู้ที่มี ประสาทหูเสื่อม ตามวัยด้วยเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังจะทำให้การได้ยินดีขึ้น 

  แม้ผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากมีความบกพร่องทางการได้ยิน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่ายังได้รับการตรวจการได้ยินเพื่อหาทางช่วยเหลือในอัตราน้อยกว่าที่เป็นอยู่

     ผู้สูงอายุที่มีปัญหาได้ยินแต่จับคำพูดไม่ได้หรือผู้ที่สงสัยว่าจะมีอาการประสาทหูเสื่อม สามารถนัดหมายเข้ารับการตรวจช่องหู เพื่อดูสุขภาพของช่องหู ตรวจสมรรถภาพของหูชั้นกลาง และการตรวจการได้ยินเพื่อให้ทราบความบกพร่องในแต่ละความถี่ โดยนักแก้ไขการได้ยินได้ที่ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์โทร. 02-279-3030 หรือ LINE ID : @intimex

     การใส่เครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับระดับการได้ยินอย่างถูกต้อง ไม่ได้เพียงแต่จะช่วยให้ได้ยินดีขึ้นเท่านั้น แต่การเลือกเครื่องช่วยฟังที่คำนึงถึงไลฟ์สไตล์กิจกรรมโปรด และกิจวัตรประจำวันจะทำให้คุณมีความสุขกับการได้ยินและมีชีวิตที่มีความหมายมากขึ้น

ตรวจการได้ยินเพื่อให้ทราบความบกพร่องในแต่ละความถี่ โดยนักแก้ไขการได้ยินได้ที่ ศูนย์ฯ

ลงทะเบียน
Check Icon

ติดต่อ ผ่านระบบ Social และ โทรศัพท์

เว็บไซต์ที่อ้างอิงข้อมูล

* https://www.nidcd.nih.gov/health/age-related-hearing-loss
** https://www.asha.org/uploadedFiles/AIS-Hearing-Loss-Age-Related.pdf

บทความที่แนะนำ
banner เครื่องช่วยฟังอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคพาร์กินสัน

เครื่องช่วยฟังอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคพาร์กินสัน

ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นโรคพาร์กินสันมากกว่าผู้ที่ได้ยินปกติ เครื่องช่วยฟังอาจมีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคพาร์กินสัน การเลือกผู้ให้บริการด้านเครื่องช่วยฟังที่มีประสบการณ์และเชื่อถือได้ มีความจำเป็นเพื่อให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้รับประโยชน์สูงสุดจากเครื่องช่วยฟัง ส่งผลให้การสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และความเป็นอยู่โดยรวมดีขึ้น

อ่านต่อ >
Banner เสริมสร้างสุขภาพหูและการได้ยิน ด้วยแผนโภชนาการอาหาร 7 วัน _730x438px

เสริมสร้างสุขภาพหูและการได้ยิน ด้วยแผนโภชนาการอาหาร 7 วัน

สุขภาพการได้ยินของคุณอาจได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย รวมถึงโภชนาการของคุณด้วย อาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็น พร้อมด้วยการตรวจสุขภาพการได้ยินประจำปี สามารถช่วยรักษาสุขภาพการได้ยินของคุณได้อย่างมาก

อ่านต่อ >
Banner อาหารดี สู่การได้ยิน_730x438px

อาหารดี…สู่การได้ยินดี

การได้ยินเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิตของเรา หูต้องการสารอาหารเพื่อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันความเสื่อมถอย การรับประทานอาหารที่ถูกต้องไม่เพียงแต่ช่วยรักษาการได้ยินที่ดีเท่านั้น แต่ยังอาจช่วยชะลอหรือป้องกันการสูญเสียการได้ยินได้อีกด้วย

อ่านต่อ >
Banner ทดสอบการได้ยินอย่างเหมาะสม

Noise-Induced Hearing Loss (NIHL) ส่งผลกระทบต่อคนแต่ละช่วงวัยอย่างไร

Noise-Induced Hearing Loss (NIHL) สามารถส่งผลกระทบที่รุนแรงได้กับทุกวัย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นวัยเด็กหรือผู้สูงอายุก็ต้องหาทางป้องกันเอาไว้ | ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์

อ่านต่อ >

โรคเบาหวาน กับอาการหูไม่ได้ยิน

โรคเบาหวาน หนึ่งในโรคเรื้อรังที่ติดอันดับโรคประจำตัวยอดฮิตของคนไทยส่วนใหญ่ มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับอาการหูไม่ได้ยิน หูตึง หรือหูหนวก? ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟัง intimex มีคำตอบ!

อ่านต่อ >
โรคหัวใจ และ อาการหูไม่ได้ยิ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

โรคหัวใจ และ อาการหูไม่ได้ยิน เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

อาการหูไม่ได้ยินเป็นอาการสำคัญที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ส่วนโรคหัวใจก็เป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก ๆ ของการเสียชีวิตของคนไทย ทั้งสองสิ่งนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรมาดูกัน

อ่านต่อ >