Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง
ขณะนี้คุณอยู่หน้า หน้าแรก » โรคหัวใจ และ อาการหูไม่ได้ยิน เกี่ยวข้องกันอย่างไร?
จากสถิติสาธารณสุขของประเทศไทยในปี 2564 พบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือด ปีละประมาณ 20,000 คน หรือราว 33 คน ต่อประชากร 1 แสนคน ขณะที่การเสียชีวิตทั่วโลกมีสาเหตุสำคัญจากโรคหัวใจขาดเลือดสูงถึง 16% หรือประมาณ 8.9 ล้านคน
นอกจากนี้การทำงานของหัวใจ ยังมีความเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญกับการได้ยินที่ดีอีกด้วย เพราะหัวใจมีหน้าที่สูบฉีดเลือดและนำออกซิเจนรวมถึงสารอาหารอื่น ๆ ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้นหากเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบหมุนเวียนเลือดหรือโรคหัวใจ เช่น การที่มีหินปูนไปเกาะบริเวณหลอดเลือดแดงใหญ่ ทำให้การทำหน้าที่สูบฉีดเลือดของหัวใจขัดข้อง จึงอาจส่งผลต่อเลือดที่ส่งไปเลี้ยงบริเวณหูชั้นในและทำให้เกิดอาการหูไม่ได้ยิน
อาการหูไม่ได้ยินหรือการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุ ได้กลายมาเป็นปัญหาใหญ่ทางด้านสาธารณสุขของโลก โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นและกำลังจะเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัวในโลกอนาคตอีก 40 ปีข้างหน้า
เป็นเพียงอวัยวะเล็ก ๆ ในร่างกาย แต่ทรงพลังเป็นอย่างมาก เพราะเป็นอวัยวะรับความรู้สึกที่ไวต่อพยาธิสภาพของระบบ เช่น ภาวะหัวใจและเมตาบอลิซึม ภูมิต้านทานตนเอง หรือสภาวะการอักเสบ ดังนั้นหากระบบหัวใจและหลอดเลือดของเราทำงานผิดปกติ จนไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังหูชั้นใน อาจส่งผลให้สูญเสียการได้ยินในระยะยาว นอกจากนี้ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยังระบุถึงความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างผู้ที่เป็นโรคหัวใจและการสูญเสียการได้ยิน โดยพบว่าร้อยละ 54 ของผู้ที่มีอาการหูไม่ได้ยิน เป็นผู้ที่เป็นโรคหัวใจร่วมด้วย
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่ช่วยยืนยันว่าภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ/ตันหรือผู้ที่มีประวัติเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ มีข้อบ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นที่จะสูญเสียการได้ยิน เนื่องจากความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจทำงานหนักเป็นพิเศษเพื่อสูบฉีดเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และความดันโลหิตที่สูงอาจเกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเมื่อผนังหลอดเลือดหนาขึ้น ก็อาจส่งผลให้ปริมาณเลือดในหูชั้นในลดลงและกระทบกับการได้ยินได้ ในทางกลับกันการวิจัยยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่าอาการหูไม่ได้ยินนั้น อาจเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นความไม่แน่นอนของระบบไหลเวียนโลหิตได้เช่นกัน
ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคหัวใจส่วนใหญ่หากไม่ได้มาจากพันธุกรรมที่ส่งต่อกันมาในครอบครัว หรืออาการของโรคหัวใจที่มีมาแต่กำเนิด อาจมีที่มาจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง จนทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและคอเลสเตอรอลสูงสะสมในร่างกาย ขาดการออกกำลังกาย ทำให้เลือดสูบฉีดได้ไม่ดี สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป รวมถึงสภาวะความเครียด ก็ทำให้เสี่ยงเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือสภาวะอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดทั้งนั้น ดังนั้นหากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลับมาดูแลและเอาใจใส่สุขภาพตัวเองให้มากขึ้น ลดพฤติกรรมเหล่านี้ที่เสี่ยงต่อการทำให้เป็นโรคหัวใจ ก็อาจลดโอกาสในการเกิดความเสี่ยงที่สูญเสียการได้ยินลงได้เช่นเดียวกัน
ลดการสัมผัสบริเวณศีรษะและใบหน้า ให้ผลแม่นยำ อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจเป็นแบบใช้แล้วทิ้ง ถูกสุขอนามัยและปลอดภัย
ด้วยการอบโอโซน และฉีดพ่นฆ่าเชื้อห้องตรวจการได้ยินและห้องให้คำปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ