https://analytics.google.com/analytics/web/?authuser=2#/a29744284p281425186/admin/streams/table/2727640087

Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง

ให้บริการทุกวัน เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 | เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8:00 – 16:30

ติดต่อ line เครื่องช่วยฟัง intimexhearing

5 ข้อต้องทราบ สำหรับผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง

     รู้วิธีใส่เครื่องช่วยฟัง อย่างสบายๆ ได้รับการได้ยินเสียงที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพในการได้ยินที่ดี และดูแลรักษาเครื่องช่วยฟัง เพื่อยืนอายุการใช้งานของเครื่องช่วยฟังให้ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินได้ใส่เครื่องช่วยฟังอย่างยาวนาน ผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง ควรทราบวิธีปฎิบัติ 5 ข้อ ดังนี้

บทความที่แนะนำ

1. หลังจากที่คุณอาบน้ำ ว่ายน้ำ

   หรือเล่นกิจกรรมกีฬาทางน้ำ ที่ทำให้บริเวณหูของคุณเปียก ให้รอประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนใส่เครื่องช่วยฟัง เพื่อให้ช่องหู และผิวหนังบริเวณช่องหู แห้งมากที่สุด ป้องกันไม่ให้ความชื้นในช่องหู ผ่านเข้าไปยังเครื่องช่วยฟังของคุณ กรณีที่ ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังเดินอยู่แล้วฝนเกิดตกหนัก ลงมาจนศีรษะเปียก สิ่งแรกที่ต้องทำคือปิดเครื่อง ถอดเครื่องช่วยฟังออก ถอด แบตเตอรี่เครื่องช่วยฟัง ออกจากรังถ่าน และนำเครื่องช่วยฟังใส่ใน เครื่องอบไล่ความชื้น อย่างน้อย 3 ชั่วโมง อย่าเป่าด้วยไดร์เป่าผมลมร้อน อย่านำเครื่องเข้าเตาอบ หรือนำเข้าเครื่องไมโครเวฟเด็ดขาด หลังสามชั่วโมง หากคุณพบว่าเครื่องช่วยฟังมีเสียงช๊อต หรือไม่มีเสียงเลย ขอให้นำเครื่องช่วยฟังไปที่ศูนย์บริการที่คุณ ซื้อเครื่องช่วยฟัง มา ..ขอให้โชคดี

   เมื่อใส่เครื่องช่วยฟังวันแรก ให้คุณนั่งในบริเวณที่เงียบของบ้านเป็นอันดับแรกก่อน ในสภาพแวดล้อมที่เงียบนี้คุณจะมีโอกาสเริ่มทำความคุ้นเคยกับเสียงใหม่ๆ คุณอาจพบว่าเสียงบางเสียงดังเกินไปในครั้งแรก เช่น เสียงเครื่องปรับอากาศทำงาน เสียงนาฬิกาเดิน เสียงเตือนของเครื่องไมโครเวฟ หรือเสียงกดชักโครก นั่นเป็นเพราะว่าคุณไม่ได้ยินมานานมากแล้ว หรืออาจไม่เคยได้ยินมาก่อน การได้ยินเสียงเหล่านี้ดัง ถือว่าปกติ เนื่องจากสมองของคุณกำลังกลับมาเรียนรู้และทำความคุ้นเคยกับเสียงต่างๆ เหล่านี้

ผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง เครื่องช่วยฟัง เครื่องอบไล่ความชื้น
ผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง เครื่องช่วยฟัง เครื่องอบไล่ความชื้น

2. ทุกครั้งที่คุณถอดเครื่องช่วยฟัง ออกเก็บก่อนนอนหรือก่อนอาบน้ำ

      ขอให้นำเครื่องช่วยฟังใส่ไว้ใน เครื่องอบไล่ความชื้น หรือในภาชนะเก็บที่มิดชิดห่างจากมือเด็ก และสัตว์เลี้ยง และควรอยู่ในตำแหน่งเดิมที่คุณเก็บประจำ การวางเครื่องช่วยฟังไว้ในตำแหน่งเดิมจะทำให้คุณไม่กระวนกระวาย หรือตื่นตระหนกกรณีที่คุณจำเป็นต้องหยิบเครื่องช่วยฟังออกมาใส่เร่งด่วน ซึ่งคุณอาจจำไม่ได้ว่าคุณวางเครื่องช่วยฟังไว้ที่ไหน …  อย่าลืมเก็บแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟัง ไว้ข้างๆด้วยครับ

3. เมื่อคุณซื้อครื่องช่วยฟังใหม่

     คุณอาจจะรู้สึกเหมือนว่าทุกอย่างรอบตัวคุณ มีเสียงดังมาก ดูเหมือนคุณจะได้ยินคนที่นั่งทานอาหารโต๊ะข้างๆ เคี้ยวเสียงดัง เสียงช้อนกับส้อมกระทบกันขณะทานอาหาร ก็แทบจะทำให้คุณอยากบอกลูกๆ และภรรยาของคุณให้ทานข้าวด้วยมือ แต่เมื่อหนึ่งเดือนผ่านไป คุณจะพบว่าเสียงเหล่านั้นดูเหมือนจะเบาลง และคุณรู้สึกสบายกับเสียงที่คุณได้ยิน

ผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง เครื่องช่วยฟัง ปฎิทิน
ผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง เครื่องช่วยฟัง

4. จงรักเครื่องช่วยฟังของคุณดูแลรักษาเครื่องช่วยฟังของคุณให้ดี

      แม้บางวัน บางครั้งเครื่องช่วยฟังของคุณอาจทำให้คุณหงุดหงิดบ้าง แต่ชีวิตคุณจะดีกว่าถ้ามีเครื่องช่วยฟัง คุณต้องการได้ยิน และคุณต้องการเครื่องช่วยฟังของคุณ

5. อย่าพยายามซ่อมเครื่องช่วยฟังเอง

   คุณสามารถเปลี่ยนถ่านเครื่องช่วยฟัง ควรรู้แบตเตอรี่เครื่องช่วยฟัง เปลี่ยนแผ่นกรองขี้หู และใช้แปรงขนาดจิ๋วทำความสะอาดภายนอกตัวเครื่องช่วยฟังได้ แต่อย่า..อย่าพยายามแกะ หรือใช้คีมหรืออุปกรณ์ใดๆ ดึงชิ้นส่วนที่คุณนึกว่าเป็นขี้หู หรือสิ่งสกปรกติดค้างในเครื่องช่วยฟัง เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงว่าสิ่งที่คุณเห็นอาจเชื่อมติดอยู่กับสายไฟภายในเครื่องช่วยฟังที่ต่อไปยังอุปกรณ์สำคัญ คุณอาจทำให้ภาคขยายของเครื่องแสนแพงของคุณเสียหายได้ในพริบตา

ผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง เครื่องช่วยฟัง
บทความที่แนะนำ