https://analytics.google.com/analytics/web/?authuser=2#/a29744284p281425186/admin/streams/table/2727640087

Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง

ให้บริการทุกวัน เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 | เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8:00 – 16:30

ติดต่อ line เครื่องช่วยฟัง intimexhearing

ฤดูฝน ดูแล เครื่องช่วยฟัง อย่างไรดี

เข้าสู่ฤดูฝน อุปสรรคสำคัญของผู้มีปัญหาการได้ยิน นอกจากการดูแลสุขภาพร่างกายไม่ให้ป่วยเป็นหวัดแล้วการ ดูแล เครื่องช่วยฟัง ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน แม้ว่าเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังในปัจจุบันจะมีระบบการป้องกันน้ำและฝุ่น (IP 57) และเคลือบสารไฮโดรโฟบิก (Hydrophobic) สารที่ทำให้น้ำกลายเป็นหยดน้ำไว้ แต่ก็สามารถป้องกันอันตรายจากน้ำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น

หยดน้ำหรือละอองน้ำ 

ที่เกิดจากฝนหรือเหงื่อของผู้สวมใส่ มีโอกาสที่จะไหลหรือซึมเข้าสู่ภายในเครื่องช่วยฟังผ่านทางรูไมโครโฟน (1, 2)* หรือตามซอกรังถ่าน (3)** โดยน้ำที่ตกค้างอยู่ภายในอุปกรณ์จะเป็นตัวก่อให้เกิดความชื้น และส่งผลให้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นสนิม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เครื่องช่วยฟังชำรุด เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการ ซ่อมเครื่องช่วยฟัง หรืออาจต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ใหม่ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ควรดูแลและปฏิบัติให้ถูกวิธี

บทความที่แนะนำ

1. กรณีฝนตก

ผู้สวมใส่เครื่องช่วยฟัง อยู่นอกตัวอาคาร ควรรีบถอดเครื่องช่วยฟังเก็บไว้ให้มิดชิด หรือหากถอดเครื่องไม่ทัน เมื่อเข้าที่ร่ม ให้ปฏิบัติดังนี้;

  • รีบถอดเครื่องออกเช็ดให้แห้ง
  • เปิดรังถ่านและนำถ่านออก เช็ดถ่านและช่องรังถ่านให้แห้ง
  • เปิดฝารังถ่านทิ้งไว้ เป่าลม / ผึ่งลมให้นานที่สุด (กรณีใช้ไดร์เป่าผม ปรับโหมด-ลมเย็น)
  • หลังจากทิ้งไว้จนแห้งสนิทแล้ว ลองใส่ถ่านเพื่อดูการทำงานของเครื่องว่าปกติหรือไม่

2. ก่อนออกจากบ้าน

    ควรเตรียมกล่องเก็บเครื่องช่วยฟัง / สารดูดความชื้น Dry Bag / Care Bag / Care Box / ถุงพลาสติก / ซิปล็อค กันน้ำได้ เมื่อฝนตกสามารถถอดเก็บได้อย่างปลอดภัย

3. กรณีผู้ใช้งานที่มีเหงื่อเยอะ

จากการใช้งานระหว่างวัน หรือการออกกำลังกาย

  • การใช้งานระหว่างวัน หากผู้สวมใส่รู้สึกว่าตนเองมีเหงื่อออก ให้ถอดเครื่องออก ซับเหงื่อและเช็ดเครื่องช่วยฟังด้วยกระดาษทิชชู่ แล้วจึงนำกลับไปใส่ใหม่
  • กรณีออกกำลังกาย มีเหงื่อเยอะ แนะนำให้ควรถอดเครื่องช่วยฟังออก
  • หลังจากเลิกใช้งานเครื่องแล้ว ควรนำถ่านออกและเปิดฝารังถ่านทิ้งไว้ ผึ่งลม/เป่าลม ไล่ความชื้นพักสัก แล้วจึงนำเก็บไว้ในกล่องเก็บเครื่องช่วยฟังที่บรรจุสารดูดความชื้น หรือ
  • แนะนำให้ใช้เครื่องอบไล่ความชื้นสำหรับเครื่องช่วยฟัง อบทิ้งไว้ในเวลากลางคืนระหว่างนอนหลับ เครื่องอบจะทำการระบายความชื้นด้วยกระแสลมยาวนานถึง 8 ชั่วโมง และจะหยุดทำงานเองโดยอัตโนมัติ ช่วยลดความชื้นสะสมที่มีอยู่ภายในเครื่องลงได้

4. เมื่อเครื่องช่วยฟังโดนน้ำ

  เครื่องช่วยฟังเงียบ ไม่มีเสียง ให้รีบนำเครื่องช่วยฟังเข้าศูนย์บริการฯ เพื่อตรวจเช็คโดยเร็วที่สุด

บทความที่แนะนำ