
โฟเลต (Folate) ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 เมื่อ Lucy Wills รายงานว่า สารสกัดจากยีสต์สามารถรักษาภาวะโลหิตจางชนิดเมกาโลบลาสติกในหญิงตั้งครรภ์ได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1941 สารนี้ได้ถูกพบในพืชผักอีกหลายชนิด เช่น ผักขม อัลฟาฟา จึงถูกเรียกว่า “โฟเลต”ซึ่งมาจากคำในภาษาลาตินว่า Folium หมายถึง ใบไม้ เมื่อเอ่ยถึงสารโฟเลต จึงทำให้นึกถึงใบไม้ ใบหญ้า ผักใบเขียว
โฟลิกหรือโฟเลต ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ควบคุมการทำงานของสมอง มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีน และไม่ใช่แค่ลดโอกาสเสี่ยงการพิการแต่กำเนิดเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการอ่อนเพลีย ป้องกันภาวะซีดหรือโลหิตจาง ป้องกันโรค NCDs และโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
ผู้สูงอายุ ควรรับประทานอาหารที่มีโฟเลตหรือโฟลิกสูง ทั้งนี้มีผลการวิจัยยืนยันว่า…
การได้รับกรดโฟลิกอย่างเพียงพอประมาณ 800 ไมโครกรัมต่อวัน สามารถลดระดับของสารโฮโมซีสเตอีนได้ถึงร้อยละ 25 จึงสามารถชะลอการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุได้ (Homocysteine Lowering Trialists’ Collaboration, 1998)”
รับประทานโฟลิก ในปริมาณที่เหมาะสมร่วมกับวิตามินบี 6 และ บี 12 จะช่วยลดภาวะที่มีสารโฮโมซิสเทอีนเลือดสูง และลดความเสี่ยงโรคโลหิตจาง
ดังนั้น โฟลิกหรือโฟเลต มีความสำคัญในการรักษาระดับของโฮโมซีสเตอีนในเลือดไม่ให้สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น ลดโอกาสเสี่ยงจากผนังหลอดเลือดถูกทำลาย และยังมีส่วนช่วยในการชะลอการสูญเสียการได้ยิน
https://www.tci-thaijo.org/index.php/nur-psu/article/download/4594/4011/
https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/25462
https://www.honestdocs.co/folic-acid
https://www.vejthani.com/th/2018/01/%E0%B9%82%E0%B8%AE%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%81/
ภาพ Lucy : https://en.wikipedia.org/wiki/Lucy_Wills