หูตึง คือ ภาวะของการได้ยินเสียงลดลง เมื่อเทียบกับผู้ที่มีการได้ยินปกติ หูหนวกคือภาวะเมื่อไม่สามารถเข้าใจเสียงพูดผ่านการได้ยินแม้ว่าจะใส่เครื่องช่วยฟังแล้ว อาการหูตึง หูหนวก เกิดได้จากหลายสาเหตุ แบ่งประเภทตามความความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับส่วนต่างๆ ของอวัยวะของหู
อายุที่เพิ่มมากขึ้น และการอยู่ในที่มีเสียงดังอาจเป็นสาเหตุทำให้เซลส์ขน (Hair cells) รับเสียงในหูชั้นซึ่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปที่สมองถูกทำลาย เมื่อเซลส์ขนรับเสียงเหล่านี้เกิดความเสียหาย การส่งสัญญาณไปสู่สมองจึงทำได้ไม่สมบูรณ์ เป็นสาเหตุให้ได้ยินน้อยลง จะรู้สึกว่าได้เสียงคนพูดพึมพำ ไม่ชัดเจน ฟังเข้าใจยาก โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีเสียงรบกวน
ขี้หู อาจสะสมและอุดช่องหู ทำให้เสียงไม่สามารถผ่านเข้าไปถึงแก้วหูได้ การพบแพทย์เพื่อเอาขี้หูออก จะทำให้กลับมาได้ยิน
การมีกระดูกงอกยึดติดกระดูกโกลนในหูชั้นกลาง หรือเนื้องอก ที่เกิดในส่วนของรูหูชั้นนอก หรือหูชั้นกลางที่ประกอบด้วยกระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน เป็นสาเหตุที่ทำให้ได้ยินน้อยลง
การได้ยินเสียงดังมากแบบกระทันหัน การเปลี่ยนแปลงของความดันอากาศเฉียบพลัน การถูกวัตถุทิ่มแทงแก้วหู หรือโรคของหูชั้นกลาง อาจทำให้แก้วหูทะลุ ซึ่งส่งผลทำให้การได้ยินลดลง
โครงสร้างของอวัยวะหูชั้นในมีการเสื่อมสภาพตามอายุที่เพิ่มขึ้น เป็นอาการหูตึงที่รักษาไม่ได้ การใส่เครื่องช่วยฟังจะสามารถช่วยให้ได้ยินดีขึ้น
เสียงดังมากจะทำลายเซลส์ในหูชั้นใน ความเสียหายอาจเกิดจากการอยู่ในสภาพที่มีเสียงดังเป็นระยะเวลานาน หรืออาจเกิดจากการที่มีเสียงดังเข้ามาแบบเฉียบพลัน เช่น เสียงปืน
ปัจจัยทางพันธุ์กรรมมีผลต่อความเสี่ยงที่จะมีความผิดปกติที่ส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยิน
อาชีพที่ต้องทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังตลอดเวลาเป็นระยะเวลานาน เช่น ก่อสร้าง เสียงจากเครื่องจักร เครื่องยนต์ ทำให้เซลส์รับเสียงเสียหาย
ยาปฏิชีวนะ และยาทางเคมีบำบัดบางชนิด เป็นสาเหตุที่ทำให้เซลส์ขนในหูชั้นในเสียหายได้
โรคที่ทำให้เกิดอาการไข้สูงเช่น ไข้สมองอักเสบ โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน โรคเนื้องอกของเส้นประสาทหู การติดเชื้อของหูชั้นในแบบเฉียบพลัน การเกิดอุบัติเหตุกระแทกอย่างแรงบริเวณหู
อุปกรณ์เสริมเครื่องช่วยฟัง ที่สามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน ได้ตามความต้องการ