Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง
4 เทคนิคสำหรับ ผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟัง และ ผู้บกพร่องทางการได้ยิน ความฟิตของร่างกาย (PHYSICAL FITNESS) เป็นส่วนสําคัญที่ทําให้คนเรามีสุขภาพแข็งแรง ขณะออกกำลังกาย ร่างกายผลิตสารเอ็นโดรฟิน หรือสารแห่งความสุข ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้าน ช่วยให้รู้สึกดี สบายตัว คลายเครียดฯ การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องมีความสำคัญสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จากงานศึกษาวิจัยพบว่า การออกกำลังกายไม่ใช่เพียงแต่ลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ (Cardiovascular disease) และภาวะโรคอ้วน (Obesity) แต่ยังสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดการสูญเสียการได้ยิน หรือชะลอการเสื่อมลงของการสูญเสียการได้ยินที่กำลังเป็นอยู่ได้
การไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตอย่างดีพอ ทำให้การสูญเสียการได้ยินเพิ่มมากขึ้น การออกกำลังกายเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ กระบวนการทางเคมีของการเผาผลาญพลังงานของร่างกายส่งผลต่อ โรคที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็กในร่างกาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอุดตันของเส้นเลือดเล็กๆ ของระบบไหลเวียนโลหิตที่นำส่งเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน
จากประโยชน์ของการออกกำลังกายที่กล่าวมา ขั้นตอนต่อไปก็คือ การหากิจกรรมในการออกกำลังกายที่ทำเป็นประจำสม่ำเสมอเมื่อคุณมีปัญหาการได้ยิน แม้ว่ากิจกรรมบางกิจกรรมอาจจะทำให้ผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน รู้สึกไม่สะดวกใจ หรือมีความกังวลที่จะทำ
การปรับกิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน และผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟังด้วย 4 เทคนิคการออกกำลังกายต่อไปนี้ จะทำให้คุณมีร่างกายที่แข็งแรงและปลอดภัยจากโรค ลดความเสี่ยงที่จะเกิดการสูญเสียการได้ยิน หรือชะลอการเสื่อมลงของการสูญเสียการได้ยินที่กำลังเป็นอยู่ได้
ผู้ที่บกพร่องทางการได้ยิน มักมีความยากลำบากในการฟังคำแนะนำของเทรนเนอร์เมื่อเข้าร่วมเรียนในคลาสออกกำลังกายตามฟิตเนสทั่วไป การโหลดคลิปหรือดูไลฟ์สดคลาสสอนการออกกำลังกายที่มีอยู่ใน อินเตอร์เน็ต การดูจาก youtube หรือดูแบบสตรีมสอนสด ที่มีคำบรรยายใต้ภาพที่คุณสามารถอ่านคำบรรยายใต้วีดีโอ เพื่อติดตามคำแนะนำของเทรนเนอร์ไปในขณะที่ได้ยินเสียงเพลงด้วยการเชื่อมต่อสตรีมมิ่งเข้ามาที่เครื่องช่วยฟังของคุณ จะทำให้คุณสนุกสนาน และมีแรงจูงใจในการออกกำลังกายคล้ายกับการไปฟิตเนส
ผู้ที่มี ปัญหาการได้ยิน ที่มีการสูญเสียความสมดุลของร่างกายร่วมด้วย เช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease) ไม่ได้หมายถึงว่าจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้คุณออกกำลังกายไม่ได้ อย่างไรก็ตามคุณจำเป็นต้องระมัดระวังไม่ให้เสียการทรงตัวจนหกล้ม ปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแลเรื่อง โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน และอาการของคุณ เพื่อให้แนะนำรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคุณ
การมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Lifestyle) ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายน้อยมากในแต่ละวัน หรือมีกิจกรรมทางกายน้อยลงจนกลายเป็นเนือยนิ่ง จนไม่ได้ใช้งานร่างกาย เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ รวมถึงกระทบต่อการทรงตัวรักษาสมดุลของร่างกาย ดังนั้นหากคุณค่อยๆ ฝึกกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาการรักษาสมดุลของร่างกายมากเท่าไหร่ คุณจะเพิ่มความสามารถในการรักษาสมดุลของร่างกายคุณได้ดีมากขึ้น
เมื่อคุณมี ปัญหาการได้ยิน และพบว่าปัญหาการได้ยินเพิ่มขึ้น เป็นความจำเป็นที่คุณต้องตระหนักถึงข้อจำกัดของคุณและหาแนวทางใหม่ๆ ในการออกกำลังกายเพื่อที่จะมีสุขภาพที่ดี คุณอาจจำเป็นต้องเลิกว่ายน้ำที่เป็นกีฬาโปรดของคุณ เนื่องจากคุณไม่สามารถใส่เครื่องช่วยฟังในขณะว่ายน้ำได้ หรือคุณอาจเลิกเล่นเทนนิส เนื่องจากคุณไม่ได้ยินเสียงตีลูกเทนนิส คุณอาจจะเปลี่ยนการออกกำลังกายของคุณเป็นการเดินเร็ว (Brisk walking) หรือเดินบนลู่วิ่งแทน
การใส่เครื่องช่วยฟังขณะที่คุณออกกำลังกายมีประโยชน์หลายอย่าง คุณสามารถได้ยินเสียงต่างๆ รวมถึงเสียงที่อาจเป็นอันตรายต่อคุณ การใส่เครื่องช่วยฟัง ทำให้คุณสัมผัสได้ถึงจังหวะของการเคลื่อนไหวในขณะที่คุณออกกำลังกายได้ดีขึ้น หากคุณกังวลว่าเครื่องช่วยฟังคุณจะหลุดหายหรือหล่นหาย ลองใช้สายรัดศรีษะ หรือใส่หมวก เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องช่วยฟังของคุณจะยึดอยู่กับใบหูของคุณในขณะที่คุณออกกำลังกาย
http://61.19.241.96/w3c/senate/pictures/comm/51/sport%20science/026%20FITNESS%20and%20Exercise.pdf
https://www.hearingtracker.com/news/exercising-with-hearing-loss-4-smart-strategies ิ
https://www.pobpad.com/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA
https://www.netinbag.com/th/health/what-is-microvascular-disease.html
https://www.manulife.co.th/what-is-health-risk-of-sedentary-lifestyle/