นักวิจัยชาวเกาหลีพบว่าภาวะกระดูกพรุนอาจเพิ่มความเสี่ยงของหูดับเฉียบพลันถึง 40% *1
ภาวะโรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่ทำให้กระดูกลดความแข็งแรงลงและเปราะง่ายซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดกระดูกหัก *2
งานวิจัยชิ้นนี้ทำการวิจัยในช่วงปี พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2556 ศึกษากับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะโรคกระดูกพรุนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปจำนวน 68,241 รายผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยผ่าน Korean Health Insurance Review and Assessment Service National Patient Sample data และได้รับการจัดให้มีลักษณะเหมือนกลุ่มควบคุมที่ไม่มีภาวะโรคกระดูกพรุน
นักวิจัยได้ทำการตรวจประเมินอาการหูดับเฉียบพลัน (ภาวะที่มีการสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทรับฟังเสียงบกพร่องที่เกิดขึ้นทันทีทันใด) ในทั้งสองกลุ่ม
นักวิจัยพบว่า 0.8% ของผู้ที่มีภาวะโรคกระดูกพรุนและ 0.5% ของกลุ่มควบคุมมีอาการหูดับเฉียบพลันซึ่งสรุปได้ว่าผู้ที่มีภาวะโรคกระดูกพรุนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 40% ที่จะมีอาการหูดับเฉียบพลัน
นักวิจัยให้ข้อสังเกตว่าความเสี่ยงที่จะมีอาการหูดับเฉียบพลันในกลุ่มผู้ที่มีภาวะโรคกระดูกพรุนเพิ่มสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้นในเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 50-60 ปีเป็นกลุ่มอายุที่มีความเสี่ยงเท่าๆกันแต่ในผู้ที่มีอายุ 60 และ 70 ปีขึ้นไปพบว่าเพศหญิงมีความเสี่ยงมากกว่า
งานวิจัยนี้ยืนยันผลวิจัยก่อนหน้านี้ของนักวิจัยชาวไต้หวันที่พบว่าภาวะโรคกระดูกพรุนมีความสัมพันธ์กับอาการหูดับเฉียบพลัน
*1 https://www.healio.com/endocrinology/bone-mineral-metabolism/news/online/%7B4af2a9ee-5151-4bb2-afa8-6edf2821af6a%7D/osteoporosis-associated-with-risk-for-sudden-hearing-loss
n*2 https://www.niams.nih.gov/health-topics/osteoporosis