https://analytics.google.com/analytics/web/?authuser=2#/a29744284p281425186/admin/streams/table/2727640087

Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง

ให้บริการทุกวัน เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 | เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8:00 – 16:30

ติดต่อ line เครื่องช่วยฟัง intimexhearing
การได้ยินดี การทรงตัวดี เรื่องใกล้ตัวที่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น1

การได้ยินดี การทรงตัวดี เรื่องใกล้ตัวที่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นอย่างชัดเจน

จากสถิติข้อมูลผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการในประเทศไทย

     พบว่ามีผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 352,503 คน คิดเป็นร้อยละ 18.39 นอกจากนี้ยังมีผู้สูงอายุอีกจำนวนหนึ่งที่กำลังประสบกับภาวะหูตึง เนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

     เป็นข้อเท็จจริงที่ยังทราบกันน้อยว่า การสูญเสียการได้ยินอาจทำให้เกิดความผิดปกติของการทรงตัวอีกด้วย จากการศึกษาของ Johns Hopkins* พบว่าผู้มีอายุ 40-69 ปีที่มีการสูญเสียการได้ยินระดับน้อย มีแนวโน้มหกล้มเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าในปีที่ผ่านมา และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น หากการสูญเสียการได้ยินเพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่าการสูญเสียการได้ยินมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการทรงตัว

การได้ยินดี การทรงตัวดี เรื่องใกล้ตัวที่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น3

การได้ยินส่งผลต่อการทรงตัวอย่างไร

เสียงช่วยให้เรารู้สึกถึงความสมดุล

ความสมดุลเกิดขึ้นจากการทำงานประสานร่วมกันของประสาทสัมผัสต่างๆ ได้แก่ การมองเห็น การทำงานประสานกันระหว่างศีรษะและการมองเห็น การรับรู้การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของศีรษะผ่านอวัยวะควบคุมการทรงตัวในหูชั้นใน (Vestibular system) รวมถึงสิ่งที่เราได้ยิน การที่มีอายุมากขึ้น อาจส่งผลต่อทั้งการได้ยินและการทรงตัว การสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุ อาจเชื่อมโยงกับประสิทธิภาพที่ลดลงของอวัยวะควบคุมการทรงตัว ร่างกายของเราอาศัยทุกประสาทสัมผัสที่มี เพื่อช่วยในการควบคุมการเคลื่อนไหว และนั่น….รวมถึงการได้ยินของคุณด้วย

การได้ยินดี การทรงตัวดี เรื่องใกล้ตัวที่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น

     อันที่จริงแล้วอวัยวะสำคัญนี้ทำงานร่วมกับอวัยวะควบคุมการทรงตัวที่อยู่ในหูชั้นใน เพื่อทำให้คุณมีการทรงตัวและรักษาความสมดุลของร่างกาย ความผิดปกติของอวัยวะการทรงตัว อาจทำให้คุณรู้สึกโคลงเคลง มีความลำบากในการเคลื่อนไหว ลุกขึ้นยืน เดิน ปัญหาการทรงตัวเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุหกล้ม การรักษาสมดุลที่ดีเมื่อคุณอายุมากขึ้น และการเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันการหกล้ม สามารถช่วยให้คุณไปไหนมาไหน เป็นอิสระ และดำเนินกิจกรรมประจำวันได้

การสูญเสียการได้ยินและการทรงตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

      การได้ยินและการทรงตัวเป็นส่วนหนึ่งของหูชั้นใน ส่วนของอวัยวะควบคุมการทรงตัว (Vestibular system) อยู่ในหูชั้นใน ใกล้กับอวัยวะการได้ยิน (Cochlear) ประกอบด้วยท่อครึ่งวงกลมพันเป็นวง 3 วง (semicircular canal) และส่วนด้านหน้า มีของเหลวอยู่ภายใน แต่ละวงมีหน้าที่ในการตรวจจับการเคลื่อนไหวประเภทต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวขึ้น/ลง การเคลื่อนไหวด้านข้าง และการเคลื่อนไหวด้านเอียง เมื่อของเหลวภายในท่อเหล่านี้เคลื่อนที่ เซลล์ขนจะรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวและส่งไปยังสมองของเรา เมื่อเอียงหรือขยับศีรษะ ของเหลวภายในอวัยวะควบคุมการทรงตัวจะเคลื่อนไหวผ่านเซลล์ประสาทซึ่งจะส่งสัญญาณไปยังเส้นประสาทซึ่งเชื่อมต่อกับเส้นประสาทคู่ที่ 8 (Vestibulocochlear nerve) และนำสัญญาณไฟฟ้าไปยังสมองในปริมาณเท่าๆ กันจากหูชั้นในทั้งข้างขวาและข้างซ้าย ทำให้เรารู้ว่าเรากำลังเคลื่อนที่อยู่ในตำแหน่งใด โดยสมองจะรับ แปลความ และประมวลข้อมูลจากระบบต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อสร้างความรู้สึกในการทรงตัว อวัยวะควบคุมการทรงตัวนี้ทำงานร่วมกับระบบการมองเห็น การรับความรู้สึกที่ข้อต่อและกล้ามเนื้อ

     มีโรคหลายโรคที่ส่งผลกระทบทั้งต่ออวัยวะการได้ยิน (Cochlear) และต่ออวัยวะที่ควบคุมการทรงตัว (Vestibular system) พร้อมกัน เนื่องจากมีความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างทั้งสองอวัยวะ ผู้ที่สูญเสียการได้ยิน มีแนวโน้มที่จะมีความผิดปกติของการทรงตัวมากกว่าผู้ที่มีการได้ยินปกติ สาเหตุหลักมาจากความเชื่อมโยงที่มีร่วมกันนี้

การได้ยินดี การทรงตัวดี เรื่องใกล้ตัวที่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น5
การได้ยินดี การทรงตัวดี เรื่องใกล้ตัวที่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น5

คุณกำลังสูญเสียการได้ยินอยู่หรือไม่?

The National Institute on Deafness and Other Communication Disorders (NIDCD) ได้ให้เกณฑ์คำถามที่ใช้ชี้วัดอาการเริ่มต้นของการสูญเสียการได้ยินไว้ ดังนี้

  • คุณมีปัญหาทางการได้ยินผ่านโทรศัพท์มือถือใช่หรือไม่?
  • คุณมีปัญหาหรือความเครียดในการทำความเข้าใจบทสนทนาใช่หรือไม่?
  • คุณมีปัญหาในการทำความเข้าใจบทสนทนาเมื่อมีผู้พูดสองคนหรือมากกว่าในเวลาเดียวกันใช่หรือไม่?
  • คุณมีปัญหาในการฟังเมื่อมีเสียงรอบข้างรบกวนใช่หรือไม่?
  • ผู้อื่นมักบอกว่าคุณเปิดทีวีเสียงดังเกินไปใช่หรือไม่?
  • คุณมักขอให้ผู้อื่นพูดทวนซ้ำบ่อย ๆ ใช่หรือไม่?
  • คุณมักรู้สึกว่าคนที่พูดอยู่กับคุณมักพูดแบบอุบอิบหรือพูดไม่ชัดอยู่เสมอใช่หรือไม่?
  • ผู้คนรอบข้างมักรู้สึกรำคาญเพราะคุณมักเข้าใจคำที่พวกเขาพูดผิดอยู่เสมอใช่หรือไม่?
  • คุณมักไม่สามารถตอบคำถามของคู่สนทนาได้อย่างถูกต้องใช่หรือไม่?
  • คุณมักมีปัญหาเมื่อต้องฟังเสียงผู้พูดที่มีเสียงแหลมหรือเบาโดยเฉพาะกับเด็ก ๆ และผู้หญิงใช่หรือไม่?

หากคุณตอบ ‘ใช่’ มากกว่า 3 ข้อ

ให้ลองถามบุคคลที่อยู่รอบข้างคุณและสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ไม่ต่างจากตัวคุณเอง เพราะพวกเขาอาจเป็นคนที่สัมผัสได้ถึงสัญญาณของการสูญเสียการได้ยินของคุณก่อนตัวคุณเองเสียอีก

    การสูญเสียการได้ยิน อาจส่งผลกระทบต่อการทรงตัว ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะหกล้ม การสูญเสียการได้ยินที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 เดซิเบล จะเพิ่มโอกาสที่คุณจะหกล้ม การใส่เครื่องช่วยฟังสามารถช่วยให้คุณได้ยิน และช่วยการทรงตัวของคุณได้ * เครื่องช่วยฟังเป็นทางเลือกที่ทำให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การใส่เครื่องช่วยฟังเทคโนโลยีสูง ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ที่สูญเสียการได้ยิน คุณสามารถเข้าสู่แผนดูแลการได้ยินของคุณด้วยการประเมินระดับการได้ยิน การรับคำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องช่วยฟัง และโปรแกรมการดูแลต่อเนื่องที่เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะบุคคลของคุณ

อินทิเม็กซ์ จัดจำหน่ายเครื่องช่วยฟังคุณภาพสูง และรวบรวมความทันสมัยของสุดยอดเทคโนโลยีด้านการได้ยินและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของ Hearing Coach เข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้บริการผู้ที่สูญเสียการได้ยินมุ่งสู่คุณภาพการได้ยินที่ดีตลอดไป

อ้างอิงข้อมูล จาก

*https://entinstitute.com/hearing-loss-and-balance/

สนใจแผนดูแลการได้ยินเฉพาะบุคคล กับ Hearing Coach
ลงทะเบียนเพื่อรับการติดต่อกลับจาก Hearing Coach

ศูนย์บริการ เครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์ ด้านหน้า มีที่จอดรถ

ลงทะเบียน

Check Icon

ติดต่อ ผ่านระบบ Social และ โทรศัพท์