Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง
ขณะนี้คุณอยู่หน้า หน้าแรก » อาการหูไม่ได้ยินในผู้สูงอายุ ลูกหลานต้องรับมืออย่างไร?
โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับอาการหูไม่ค่อยได้ยินซึ่งเป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยว เหมือนโดนแยกออกจากโลกภายนอก รู้สึกซึมเศร้า ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในด้านอื่นได้อีกด้วย
ภาวะหูตึงในผู้สูงอายุหรือประสาทหูเสื่อมตามอายุ (Presbycusis) เป็นอาการเสื่อมของเซลล์ขนรับเสียงในหูชั้นใน ความเสื่อมจะกระทบไปถึงช่วงความถี่กลางซึ่งเป็นความถี่ช่วงเสียงพูด ทำให้เริ่มฟังไม่ชัดเจน มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือด เป็นต้น
การดูแลหรือพูดคุยกับผู้สูงอายุที่สูญเสียการได้ยินหรือหูตึง อาจทำให้ลูกหลานรู้สึกหงุดหงิดที่ต้องพูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ เนื่องจากผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าใจได้ในครั้งเดียวที่พูดด้วย แต่เชื่อเถอะว่าคนที่รู้สึกอึดอัดใจมากกว่า ก็คือตัวผู้สูงอายุเอง ที่ต้องสูญเสียความสามารถทางการได้ยิน เพราะฉะนั้นเมื่อพูดกับผู้สูงอายุแล้วท่านไม่เข้าใจ ลูกหลานไม่ควรพูดกับท่านว่า “ไม่เป็นไร/ไม่ใช่เรื่องสำคัญหรอก” เพราะคำพูดเหล่านี้จะทำให้ผู้สูงอายุที่หูไม่ได้ยิน รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าและไม่สำคัญกับคนในครอบครัว
การยอมรับว่าตนเองหูไม่ได้ยิน หรือสูญเสียความสามารถทางการได้ยินไปเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้สูงอายุ ลูกหลานหรือคนในครอบครัวจำเป็นต้องสื่อสารกับท่านด้วยความอดทน ในขณะเดียวกันต้องพยายามให้ท่านได้รับทราบเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ท่านได้ยิน เพื่อรอวันที่ท่านพร้อมจะเปิดใจรับความช่วยเหลือ
มีผลการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอารมณ์ของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความวิตกกังวล ความรู้สึกเศร้า ความรู้สึกโดดเดี่ยว ความคิดในแง่ลบต่าง ๆ หรือความอึดอัดที่ทำให้หงุดหงิดง่าย ดังนั้นในฐานะลูกหลาน ขอให้ทำความเข้าอกเข้าใจกับอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญในแต่ละวัน จะทำให้เราเข้าใจการแสดงออกของท่านได้มากขึ้น
ความหมายของการคำนึงถึงผู้สูงอายุเสมอในที่นี้ คือ เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณต้องพูดกับผู้สูงอายุที่หูไม่ค่อยได้ยิน ให้พูดอย่างชัดถ้อยชัดคำ พูดช้า ๆ และทำรูปปากให้ชัดเจนเพื่อที่อย่างน้อยท่านจะได้สามารถอ่านปากเพื่อประกอบเสียงที่ได้ยินได้บ้าง
อาการหูตึงในผู้สูงอายุหรือการที่ประสาทรับเสียงเสื่อมตามวัยนั้น เป็นภาวะความเสื่อมของอวัยวะ การช่วยเหลือโดยการใช้เครื่องช่วยฟังถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยขยายเสียงจากผู้พูดเพื่อให้ผู้สูงอายุได้ยินอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากตัวของผู้ร่วมสนทนาหรือผู้พูดที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของอาการหูตึงในผู้สูงอายุและพยายามปรับการพูดเพื่อให้ผู้สูงอายุทำความเข้าใจบทสนทนาระหว่างกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยหลักการพูดเมื่อต้องพูดกับผู้สูงอายุที่หูไม่ได้ยิน มีดังนี้
• ลดเสียงรบกวนรอบข้างระหว่างการพูดคุย
• ออกเสียงให้ชัดเจน พูดคำให้ครบ ไม่พูดงึมงำในคอ
• ใช้มือและสีหน้าช่วยในการสื่อความหมายของสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร
• พูดด้วยความเร็วปกติไม่เร็วหรือช้าเกินไป