ศูนย์บริการ เครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์
ขณะนี้คุณอยู่หน้า หน้าแรก » เครื่องช่วยฟังขนาดเล็ก มีประโยชน์อย่างไร และเหมาะสำหรับใคร?
เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่ต้องสวมใส่ข้างในหูหรือหลังหู โดยเครื่องมือตัวนี้จะทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังขึ้น เพื่อที่จะให้ผู้ที่สูญเสียการได้ยินสามารถได้ยิน สื่อสาร หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างเต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้น เครื่องช่วยฟังช่วยจะช่วยให้สามารถได้ยินได้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในสถานการณ์ที่เงียบหรือมีเสียงดังก็ตาม
แต่เนื่องจากผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินแต่ละคนเองนั้นก็มีระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยิน รวมถึงมีการดำเนินชีวิตประจำวันที่แตกต่างกันออกไปและยังมีความต้องการในชีวิตที่แตกต่างกันอีกด้วย บริษัทผู้ผลิตเครื่องช่วยฟังจึงได้พัฒนาเครื่องช่วยฟังหลากหลายรูปแบบ หลากหลายสไตล์ และมีฟังก์ชันที่แตกต่างกันเพื่อให้ตอบโจทย์ของผู้ใช้แต่ละคนที่มีความต้องการแตกต่างกัน
เพราะเครื่องช่วยฟังต้องกลายเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ผู้ที่มีอาการสูญเสียการได้ยินต้องใส่ติดตัวไว้และพกพาไปไหนมาไหน อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเครื่องช่วยฟังนั้นมีอยู่ 3 ประเภทหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่
ประเภททัดหลังหู (Behind-The-Ear(BTE))
ประเภทในช่องหู (In-The-Ear(ITE))
และประเภทลำโพงในช่องหู (Receiver-In-The-Ear(RITE))
หากอยากเลือกเครื่องช่วยฟังที่มีขนาดเล็กเป็นพิเศษการใส่เครื่องช่วยฟังประเภทในช่องหูจะตอบโจทย์การใช้งานที่สุด มาดูกันการใช้งานเครื่องช่วยฟังประเภทใส่ในช่องหูที่เป็นเครื่องช่วยฟังขนาดเล็กจะมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
เพราะมีขนาดเล็กซ่อนอยู่ในช่องหู หากมองผ่าน ๆ จะมองไม่เห็นเลยว่าคุณกำลังใส่เครื่องช่วยฟังอยู่
เนื่องจากตัวเครื่องไม่มีสายที่ต้องคล้องบริเวณใบหูมาคอยกวนใจหรือกังวลเกี่ยวกับสายนำเสียงเลย
การที่ตัวเครื่องช่วยฟังอยู่ในช่องหูทำให้ไม่มีลมมากระทบกับไมโครโฟนบริเวณรับเสียง จึงไม่ต้องรับมือกับปัญหาที่ได้ยินเสียงไม่ชัดเพราะเสียงลมโกรก
การใช้เครื่องช่วยฟังขนาดเล็กแบบใส่ในช่องหูทำให้คุณสามารถวางโทรศัพท์แนบหูและคุยโทรศัพท์ได้อย่างเป็นปกติ
เนื่องจากเครื่องช่วยฟังขนาดเล็กสามารถซ่อนตัวอยู่ในช่องหูได้ จึงเป็นเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่อยากให้การใส่เครื่องช่วยฟังของตนเองนั้นเป็นที่น่าสังเกต อย่างเช่น วัยเรียน หรือวัยทำงาน การใส่เครื่องช่วยฟังขนาดเล็กนี้จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังเหมาะกับผู้ที่ต้องการความคล่องตัวในการหยิบใส่เครื่องช่วยฟัง เพราะตัวเครื่องมีชิ้นเดียว ง่ายต่อการหยิบใส่ในหู
นอกจากข้อดีแล้วแน่นอนว่าเครื่องช่วยฟังที่มีขนาดเล็กเหล่านี้ย่อมมีข้อเสียและผู้ที่ไม่เหมาะกับการใช้งานเครื่องช่วยฟังขนาดเล็กด้วยเช่นเดียวกัน ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาในการหยิบจับสิ่งของเล็ก ๆ เช่น ผู้สูงอายุ เพราะตัวเครื่องที่มีขนาดเล็กนอกจากการหยิบใช้งานจะไม่สะดวกแล้ว การถอด-เปลี่ยนแบตเตอรี่ก็มีความยากเช่นเดียวกันเนื่องจากช่องใส่แบตเตอรี่และแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟังประเภทใส่ช่องหูใช่นั้นก็จะมีขนาดเล็กตามลงไปด้วย เพียงแต่การฝึกฝนการใส่-ถอดเครื่อง การใช้อุปกรณ์ยึดเกาะใบหูกันเครื่องตกหล่น เปิด-ปิดรังถ่านอย่างสม่ำเสมอ จะสร้างความมั่นใจได้ว่าจะสามารถใส่เครื่องได้อย่างมั่นคงในช่องหูโดยไม่ต้องกังวลว่าจะหลุด