https://analytics.google.com/analytics/web/?authuser=2#/a29744284p281425186/admin/streams/table/2727640087

Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง

ให้บริการทุกวัน เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 | เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8:00 – 16:30

ติดต่อ line เครื่องช่วยฟัง intimexhearing
Play Video about ข้อควรรู้ ความแตกต่างระหว่างการใส่เครื่องช่วยฟัง กับการใส่แว่นตา9

7 ข้อควรรู้ ความแตกต่างระหว่างการใส่เครื่องช่วยฟัง กับการใส่แว่นตา

HEARING AID
เครื่องช่วยฟังและแว่นตา

เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับผู้คนนับล้านทั่วโลก

  โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสที่สำคัญที่สุดสองอย่างของเรา แว่นตา ช่วยแก้ไขปัญหาการมองเห็นได้แทบจะทันทีเมื่อสวมใส่ จึงมีผู้เข้าใจผิดว่าเครื่องช่วยฟังทำงานเหมือนแว่นตา แค่ใส่ก็จะได้ยินชัดเจนทันที แต่ความจริงแล้ว เครื่องช่วยฟังและแว่นตามีการทำงานที่แตกต่างกันอย่างมาก

เครื่องช่วยฟังไม่สามารถคืนการได้ยินแบบ “20/20” ได้

แว่นตา เครื่องช่วยฟัง

        เครื่องช่วยฟังทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังขึ้นช่วยให้ผู้ที่สูญเสียการได้ยินฟังเสียงพูดและเสียงต่างๆ รอบตัวในชีวิตประจำวันได้ชัดเจนขึ้น แต่ไม่สามารถทำให้การได้ยินกลับคืนมาได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งแตกต่างจากแว่นตาที่สามารถแก้ไขการหักเหของแสงได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนแบบ 20/20 (ตัวเลข 20 ตัวหน้า หมายถึงระยะที่ผู้ถูกวัดสามารถอ่านตัวอักษรขนาดมาตรฐาน D E F P O T E C ได้ถูกต้องทั้งหมดที่ระยะ 20 ฟุต ส่วนตัวเลข 20 ตัวหลัง หมายถึงระยะที่คนสายตาปกติ สามารถอ่านตัวอักษรได้ถูกต้องทั้งหมดที่ระยะเดียวกัน ระดับการมองเห็นที่ 20/20 คือ มีสายตาเทียบเท่ากับสายตาของคนปกติ)

เครื่องช่วยฟังแตกต่างจากแว่นตาอย่างไร

      แว่นตาทำงานด้วยเลนส์ในการหักเหแสงเพื่อให้แสงโฟกัสไปที่จอประสาทตาได้แม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น เมื่อใส่แว่นสายตา การปรับตัวของดวงตาอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงถึงสองสามวัน สมองจะปรับตัวให้เข้ากับภาพที่ได้รับการปรับปรุงหรือแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่เครื่องช่วยฟังใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนในการขยายเสียงและประมวลผลเสียงที่เกี่ยวข้องกับความถี่เฉพาะ ต้องการการปรับแต่งเสียงอย่างละเอียดเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการได้ยินที่แตกต่างกันของผู้บกพร่องทางการได้ยินแต่ละคน สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน อาจหมายถึงการต้องกลับมาฟังเสียงต่างๆ ที่ไม่ได้ได้ยินชัดเจนมาเป็นเวลานานอีกครั้ง สมองจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีตีความเสียงเหล่านี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการปรับเปลี่ยนระบบประสาทที่ซับซ้อนกว่า ระยะเวลาการปรับตัวเมื่อใส่เครื่องช่วยฟังมักจะนานกว่า ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับแต่งเสียงที่ซับซ้อน เมื่อเทียบกับการมองเห็นอย่างชัดเจนทันทีที่ได้รับจากแว่นตา

การปรับตัว

สำหรับแว่นตา

      เมื่อคุณสวมแว่นตา สมองของคุณสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ทำให้คุณมองเห็นได้ชัดเจนขึ้นทันที ที่สวมใส่

สำหรับเครื่องช่วยฟัง

      การใช้เครื่องช่วยฟังต้องอาศัยการปรับตัวของสมอง ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่สองสัปดาห์ถึงหลายเดือน การได้ยินเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนกว่าการมองเห็น สมองต้องเรียนรู้ที่จะประมวลผลเสียงใหม่ๆ ที่ได้ยิน และแยกแยะเสียงที่ต้องการฟังออกจากเสียงรบกวน โดยเฉพาะเมื่อคุณอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวน การคาดหวังว่าเมื่อเครื่องช่วยฟัง คุณจะกลับมาได้ยินดีในทันที เหมือนการใส่แว่นตาที่ แก้ไขการมองเห็นให้คุณได้ทันที อาจเป็นการคาดหวังที่ไม่เหมาะสม ระยะเวลาการปรับตัวขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุของผู้ใช้ ความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยิน และความสม่ำเสมอในการใส่เครื่องช่วยฟัง การใช้เครื่องช่วยฟังอย่างต่อเนื่องช่วยให้สมองปรับตัวได้เร็วขึ้น สามารถจดจำเสียง แยกแยะเสียงได้ดีขึ้น ช่วยให้คุณและมีประสบการณ์การได้ยินโดยรวมดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

ความซับซ้อนของการทำงาน

สำหรับแว่นตา

      ทำงานด้วยหลักการทางฟิสิกส์ด้วยเลนส์ เพื่อปรับโฟกัสของแสงบนจอประสาทตา แว่นตาจะแก้ไขการมองเห็นภายในขอบเขตที่กำหนด โดยโฟกัสที่ระยะมองเห็นตรงกลาง สมองปรับตัวเล็กน้อย

สำหรับเครื่องช่วยฟัง

      เครื่องช่วยฟังขยายความถี่เสียงได้หลากหลาย ประกอบด้วยไมโครโฟนรับเสียง ตัวชิปคอมพิวเตอร์ประมวลผลสัญญาณดิจิทัล ใช้เทคโนโลยีกรองเสียงรบกวนที่ซับซ้อน และลำโพงขนาดจิ๋ว ทำงานร่วมกัน อุปกรณ์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำงานเพื่อขยายให้เสียงดังขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้เสียงชัดเจนขึ้นในระดับเสียงที่แตกต่างกันด้วย

7 ข้อควรรู้ ความแตกต่างระหว่างการใส่เครื่องช่วยฟัง กับการใส่แว่นตา12

การปรับแต่งเสียงเฉพาะบุคคล

สำหรับแว่นตา

      การทดสอบสายตาจะกำหนดค่าสายตาของคุณ และเลนส์จะถูกผลิตขึ้นตามนั้น ปรับแต่งครั้งเดียวเมื่อตัดแว่น และมักไม่ต้องปรับแต่งอีกจนกว่าสายตาจะเปลี่ยนแปลง

สำหรับเครื่องช่วยฟัง

      เครื่องช่วยฟังต้องได้รับการปรับแต่งไม่เพียงตามระดับการสูญเสียการได้ยินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความถี่เฉพาะที่ได้รับผลกระทบด้วย เครื่องช่วยฟังต้องได้รับการปรับแต่งให้เหมาะกับสาเหตุ ระดับ และรูปแบบการสูญเสียการได้ยินเฉพาะของแต่ละบุคคลอย่างแม่นยำเพื่อแก้ไขปัญหาการได้ยินเฉพาะบุคคล ระดับการได้ยินที่อาจเปลี่ยนแปลง และความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกันเพื่อให้ผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟังได้รับประสบการณ์การใช้งานดีที่สุด

Personal sound customization

การติดตามอย่างต่อเนื่อง

สำหรับแว่นตา

      ส่วนใหญ่ไม่ต้องปรับแต่งอีกจนกว่าค่าสายตาจะมีการเปลี่ยนแปลง

สำหรับเครื่องช่วยฟัง

      เครื่องช่วยฟังต้องได้รับการติดตามเพื่อแนะนำการใช้งาน การใส่และถอดเครื่องช่วยฟัง การเปลี่ยนแบตเตอรี่ ช่วยแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง และใช้เทคโนโลยีเสริม เช่น การต่อเชื่อมกับสมาร์ทโฟน เพื่อให้ผู้ใช้คุ้นเคยกับเครื่องช่วยฟัง และการปรับเปลี่ยนการตั้งค่าเครื่องตามความต้องการและไลฟ์สไตล์ของผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง ทำให้มั่นใจได้ว่าเครื่องมีคุณภาพเสียงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

      การบำรุงรักษาเครื่องช่วยฟังอย่างสม่ำเสมอ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประสบการณ์การได้ยินโดยรวมของผู้ใส่เครื่องช่วยฟัง และประสิทธิภาพของเครื่องช่วยฟังในระยะยาว

ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต

สำหรับแว่นตา

      แก้ไขปัญหาการมองเห็นได้ทันที ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

สำหรับเครื่องช่วยฟัง

      เครื่องช่วยฟังต้องใช้เวลาในการปรับตัว แต่เครื่องช่วยฟังมีผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาวอย่างมาก ช่วยให้การสื่อสารดีขึ้น ลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าและความเสื่อมทางสมอง การวิจัยพบว่าผู้ที่ใช้เครื่องช่วยฟังมีความพึงพอใจในชีวิตสูงขึ้น มีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีขึ้น และมีสุขภาพจิตที่ดีกว่าผู้ที่มีปัญหาการได้ยินแต่ไม่ได้ใช้เครื่องช่วยฟัง

Impact on quality of life

การดูแลรักษา

สำหรับแว่นตา

      ต้องการการดูแลรักษาน้อย เพียงทำความสะอาดเลนส์เป็นประจำ

สำหรับเครื่องช่วยฟัง

      เครื่องช่วยฟังต้องการการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำความสะอาดประจำวัน การเปลี่ยนแบตเตอรี่ และการตรวจเช็คโดยผู้เชี่ยวชาญเป็นระยะ การดูแลรักษาเครื่องช่วยฟังที่ดีจะช่วยยืดอายุการใช้งานและรักษาประสิทธิภาพของเครื่องช่วยฟังได้อย่างดีเยี่ยม

ข้อควรรู้ ความแตกต่างระหว่างการใส่เครื่องช่วยฟัง กับการใส่แว่นตา

มุมมองทางสังคมที่แตกต่าง

สำหรับแว่นตา

      สังคมเข้าใจและยอมรับการแก้ไขสายตาผ่านการใส่แว่นตาอย่างกว้างขวาง ผู้คนมองเห็นแว่นตาเป็นอุปกรณ์เสริมที่ช่วยให้มองเห็นชัดเจนขึ้น และบางครั้งยังเป็นแฟชั่นที่บ่งบอกถึงบุคลิกภาพ ทำให้ผู้ที่ต้องใส่แว่นสายตามักรู้สึกมั่นใจและไม่รู้สึกว่าตนเองแตกต่างจากคนอื่น ๆ

สำหรับเครื่องช่วยฟัง

      แม้ว่าเครื่องช่วยฟังจะมีหน้าที่ช่วยให้ได้ยินเสียงได้ชัดเจนขึ้น แต่ผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟังมักถูกตีตราว่าเป็นผู้พิการ หรือมีความสามารถน้อยกว่าคนอื่น ๆ ทำให้หลายคนรู้สึกอายและไม่กล้าที่จะใส่เครื่องช่วยฟัง การให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องช่วยฟังเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดการตีตราจากสังคมและส่งเสริมให้ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินกล้าที่จะใช้เครื่องช่วยฟัง เพื่อให้ผู้ที่ต้องใส่เครื่องช่วยฟังสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การเดินทางสู่การได้ยินที่ดีขึ้นเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความอดทน

        การเข้าใจว่าเครื่องช่วยฟังนั้นไม่เหมือนแว่นตา จะช่วยให้ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังมีความคาดหวังที่สมจริง การใส่เครื่องช่วยฟังเพื่อให้ได้ยินที่ดีขึ้นเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ความอดทน การฝึกฝนการฟังในสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อช่วยให้สมองปรับตัวเข้ากับเสียงใหม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟังและการฟื้นฟูการได้ยินจะให้คำแนะนำแนวทางแก่ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังในการปรับตัวเข้ากับเครื่องช่วยฟังได้อย่างราบรื่น เป้าหมายสูงสุดของการใช้เครื่องช่วยฟัง คือการช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินสามารถมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกับผู้อื่น การทำงาน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ตนเองชอบ

ทำไมเครื่องช่วยฟังจึงไม่สามารถฟื้นฟูการได้ยินให้เป็นปกติได้ เช่นเดียวกับแว่นตาที่ทำให้การมองเห็นเป็นปกติ

        เครื่องช่วยฟังต้องกรองเสียงรบกวนรอบข้างในขณะที่ขยายเสียงคำพูดให้ชัดเจน ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนกว่าการโฟกัสแสงผ่านเลนส์ แม้ว่าเครื่องช่วยฟังจะมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างมาก แต่ก็ไม่สามารถจำลองการทำงานตามธรรมชาติของหูและสมองได้อย่างสมบูรณ์ การสูญเสียการได้ยินเกี่ยวข้องกับความเสียหายของเซลล์ขนในหูชั้นใน ซึ่งไม่สามารถฟื้นฟูได้อย่างสมบูรณ์ แตกต่างจากความบกพร่องทางการมองเห็นที่สามารถแก้ไขได้ด้วยแว่นตา การได้ยินเกี่ยวข้องกับการประมวลผลที่ซับซ้อนของสมองเพื่อถอดรหัสความถี่เสียง และเมื่อเส้นทางการได้ยินเหล่านี้ได้รับความเสียหายแล้ว จะไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้อย่างสมบูรณ์ด้วยการขยายเสียงเพียงอย่างเดียว

7 ข้อควรรู้ ความแตกต่างระหว่างการใส่เครื่องช่วยฟัง กับการใส่แว่นตา2
7 ข้อควรรู้ ความแตกต่างระหว่างการใส่เครื่องช่วยฟัง กับการใส่แว่นตา3

ฉันสามารถใส่เครื่องช่วยฟังเมื่อจำเป็น เหมือนใส่แว่นเมื่อต้องการอ่านหนังสือได้หรือไม่

        เครื่องช่วยฟังต้องใช้เป็นประจำเพื่อให้สมองปรับตัวและตีความเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแตกต่างจากแว่นอ่านหนังสือที่สามารถใส่ได้เฉพาะเมื่อต้องการ การใช้เครื่องช่วยฟังเป็นครั้งคราว ไม่สม่ำเสมออาจส่งผลต่อความสามารถของสมองในการประมวลผลเสียง อาจทำให้หงุดหงิดและปรับตัวได้ยากขึ้น การใส่เครื่องช่วยฟังเป็นประจำอย่างต่อเนื่องช่วยให้สมองคุ้นเคยกับเสียงที่ได้ยิน เนื่องจากสมองต้องสัมผัสกับสภาพแวดล้อมเสียงใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้การได้ยินและความเข้าใจคำพูดโดยรวมดีขึ้น

    การเข้าใจความแตกต่างระหว่างเครื่องช่วยฟังและแว่นตาจะช่วยให้คุณมีความคาดหวังที่เหมาะสมในการใส่เครื่องช่วยฟัง  เข้าใจถึงความสำคัญของการปรับตัวและการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ที่ ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์ มีผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟังที่พร้อมให้คำแนะนำและช่วยเหลือคุณในทุกขั้นตอนของการใช้เครื่องช่วยฟัง ตั้งแต่การเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสม การปรับแต่ง ไปจนถึงรวมถึงการติดตามดูแลการได้ยินให้กับคุณตลอดกระบวนการ การดูแลรักษาในระยะยาว  เพื่อให้คุณได้รับประโยชน์สูงสุดจากเครื่องช่วยฟังของคุณ การใช้เครื่องช่วยฟังให้ประสบความสำเร็จไม่ได้หมายถึงการขยายเสียงเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการสื่อสารและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

7 ข้อควรรู้ ความแตกต่างระหว่างการใส่เครื่องช่วยฟัง กับการใส่แว่นตา

   

คุณรู้หรือไม่?

การตัดสินใจใช้เครื่องช่วยฟังเร็วเมื่อเริ่มมีปัญหาการได้ยิน
จะช่วยให้กระบวนการปรับตัวง่ายขึ้นและได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

หากคุณหรือคนที่คุณรักกำลังประสบปัญหาการได้ยิน
ลงทะเบียน ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟัง
ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือคุณในทุกๆ ด้านเกี่ยวกับการได้ยินของคุณ

การได้ยินที่ดีขึ้น....คุณภาพชีวิตดีขึ้น

ลงทะเบียน
Check Icon

ติดต่อ ผ่านระบบ Social และ โทรศัพท์

คำอื่นๆ

บทความที่แนะนำ