‘การได้ยิน’
Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง
ขณะนี้คุณอยู่หน้า หน้าแรก » เอาชนะ ‘ความไม่กล้า’ ใส่เครื่องช่วยฟัง เพื่อไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
‘การได้ยิน’
เป็นความสามารถที่มีติดตัวเรามาตั้งแต่กำเนิด และยังส่งผลโดยตรงกับวิธีการที่เราใช้พูดคุยกับผู้อื่น แสดงออกกับผู้อื่น หรือส่งผลโดยตรงกับความรู้สึกนึกคิดของเรา การได้ยินจึงถือได้ว่าเป็นช่องทางที่เชื่อมต่อเรากับผู้คนและโลกภายนอกอย่างแท้จริง แต่ช่างน่าเสียดายที่การได้ยินไม่ได้คงอยู่กับเราตลอดไป และมีการเสื่อมลงเนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ มากมายในชีวิตของคนเรา เช่น การเสื่อมลงตามอายุที่มากขึ้น การติดเชื้อ หรือการอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน เป็นต้น และเมื่อไหร่ก็ตามที่การได้ยินของคนเราไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เราถูกตัดขาดจากสถานการณ์ในสังคมต่าง ๆ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มความกังขาเกี่ยวกับความมั่นใจและคุณค่าในตนเองของผู้สูญเสียการได้ยิน
อย่างไรก็ตามต้องขอบคุณโลกเทคโนโลยีที่แสนก้าวหน้าในปัจจุบันที่ทำให้เราสามารถผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ อย่างเครื่องช่วยฟังและประสาทหูเทียม ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญในการแก้ไขปัญหาของผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน เพียงแต่สำหรับหลายท่านที่มีสุขภาพการได้ยินที่ดีมาตลอดชีวิต การใส่เครื่องช่วยฟัง อาจเปรียบเสมือนการใส่เครื่องมือที่ทำให้ถูกตีตราทางสังคมว่าบุคคลนี้มีความสามารถทางการได้ยินที่บกพร่อง และเมื่อไม่อยากที่จะยอมรับความจริงในข้อนี้ จึงทำให้ต้องปฏิเสธการใส่เครื่องช่วยฟังเพื่อแก้ไขการได้ยินที่บกพร่องไปด้วย
ซึ่งการกระทำเช่นนี้อาจส่งผลกระทบมากขึ้นได้ เพราะหากยิ่งใส่เครื่องช่วยฟังช้าเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ผลกระทบที่เกิดจากปัญหาการได้ยินที่ประสบพบเจออยู่ทั้งทางจิตใจ ร่างกายและสังคม ทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นในบทความนี้ ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์ จึงจะขอพาคุณเอาชนะ ‘ความไม่กล้า‘ ใส่เครื่องช่วยฟัง เพื่อมุ่งไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
การสูญเสียการได้ยินไม่ว่าจะอยู่ในระดับน้อยหรือมาก สิ่งที่คุณต้องเผชิญอย่างแน่นอน คือ การที่คุณไม่สามารถได้ยินรายละเอียดของเสียงรอบข้างต่าง ๆ อย่างครบถ้วน ทำให้เกิดความยากลำบากในการเชื่อมโยงปะติดปะต่อเรื่องราวที่ได้ยิน และยิ่งตั้งใจหรือพยายามที่จะฟังมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะทำให้เกิดความเครียดมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งอาจทำให้คุณมีอาการปวดศีรษะ อ่อนล้าตามมาหลังจากใช้ความพยายามอย่างหนักในการตั้งใจฟังเพื่อที่จะสื่อสารกับผู้อื่น
เมื่อการสื่อสารกับผู้อื่นเป็นเรื่องที่ยากลำบาก จึงไม่แปลกใจเลยที่ผู้บกพร่องทางการได้ยินหลายคน เลือกที่จะปลีกตัวออกจากสังคม แยกออกไปอยู่อย่างสันโดษ เพราะไม่ชอบความรู้สึกตึงเครียดที่เกิดขึ้นในการที่จะต้องพยายามสนทนากับผู้อื่น และหากเป็นเช่นนี้อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว จนอาจพัฒนาไปเป็นภาวะซึมเศร้าได้ในอนาคต
เพราะการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากคุณไม่ต้องการให้ผู้สูงอายุที่คุณรักต้องเผชิญกับสถานการณ์ในการสูญเสียการได้ยินอย่างโดดเดี่ยว คุณสามารถให้การช่วยเหลือพวกเขาได้ตามแนวทางต่าง ๆ ดังนี้
หากคุณมีคนที่คุณรักในวัยสูงอายุ แนะนำให้พวกเขาเข้ารับการตรวจการได้ยินเป็นประจำ เพื่อค้นหาและแก้ไขการสูญเสียการได้ยินอย่างรวดเร็ว การวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถลดผลกระทบด้านลบที่มาพร้อมกับการสูญเสียการได้ยิน
การพาผู้สูงอายุไปพบกับผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยฟังที่พร้อมและเต็มใจที่จะให้เวลาอธิบายรายละเอียดที่เกี่ยวข้องให้กับคุณและผู้สูงอายุฟังอย่างชัดเจน รวมถึงมีประสบการณ์ในการพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้สูงอายุมาก่อน เพราะพวกเขาเป็นผู้ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าใจการทำงานของเครื่องช่วยฟัง เข้าใจและยอมรับความสำคัญและการใช้งานเครื่องช่วยฟังได้มากขึ้น
สิ่งแรก คือ ต้องไม่มองว่าเครื่องช่วยฟังเป็นภาระ แต่ให้มองว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในชีวิต เช่นเดียวกับโทรศัพท์มือถือ ทีวี หรือคอมพิวเตอร์ เพียงแต่มีหน้าที่ช่วยขยายเสียงที่ผู้สูงอายุไม่ได้ยินให้ดังขึ้น และช่วยให้การได้ยินของผู้สูงอายุนั้นง่ายขึ้น รวมถึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยทำให้การสื่อสารระหว่างคุณและผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้สูงอายุเองจะได้ไม่ต้องรู้สึกโดดเดี่ยวอีกต่อไป