https://analytics.google.com/analytics/web/?authuser=2#/a29744284p281425186/admin/streams/table/2727640087

Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง

ให้บริการทุกวัน เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 | เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8:00 – 16:30

ติดต่อ line เครื่องช่วยฟัง intimexhearing
รับมืออย่างไรหากประสิทธิภาพในการได้ยินเสื่อมถอ เครื่องช่วยฟังย

รับมืออย่างไรหากประสิทธิภาพในการได้ยินเสื่อมถอย

การสูญเสียการได้ยินหรือประสิทธิภาพการได้ยินเสื่อมลงสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย

 เพราะมีที่มาจากหลายสาเหตุ และสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีประวัติสูญเสียการได้ยินแต่กำเนิดนั้น การปรับตัวและการรับมือนั้นถือว่ายากมาก ไม่ว่าจะต่อตัวผู้ป่วยเองและคนรอบข้าง ในบทความนี้ ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์ จึงอยากพาทุกคนมารู้จักกับภาวะการสูญเสียการได้ยินแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหูอื้อ หูตึง หรือหูหนวก ทั้งสาเหตุในการเกิด การรักษา การรับมือ รวมถึงการดูแลตนเองเพื่อป้องกันประสิทธิภาพในการได้ยินเสื่อมถอย

รับมืออย่างไรหากประสิทธิภาพในการได้ยินเสื่อมถอย ยืนฟัง

ระดับของการสูญเสียการได้ยิน

ขั้นแรกเราต้องทำการประเมินก่อนว่าระดับการสูญเสียการได้ยินของเราอยู่ในระดับไหนเพราะแต่ละระดับนั้นมีอาการและวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ได้แก่

1. ระดับหูตึงเล็กน้อย

เป็นระดับที่ได้ยินเสียงเบาที่สุดอยู่ที่ราว 21-40 เดซิเบล ในผู้ป่วยบางรายอาจทำให้ได้ยินเสียงพูดไม่ถนัดโดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีเสียงดังโดยรอบ

2. ระดับหูตึงปานกลาง

เป็นระดับที่ได้ยินเสียงเบาที่สุดอยู่ที่ราว 41-70 เดซิเบล การฟังเสียงพูดเป็นเรื่องที่ลำบากหากไม่ได้มีการใช้เครื่องช่วยฟัง

3. ระดับหูตึงรุนแรง

เป็นระดับที่ได้ยินเสียงเบาที่สุดอยู่ที่ราว 71-90 เดซิเบล กรณีนี้ถึงแม้ว่าจะมีการใช้เครื่องช่วยฟังก็ต้องใช้วิธีการอ่านปากและภาษามือร่วมด้วย

4. ระดับหูหนวก

เสียงเบาสุดที่ได้ยินต้องมากกว่า 90 เดซิเบล ในกรณีนี้การรักษาต้องใช้การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเท่านั้น ไม่เช่นนั้นก็ต้องใช้การอ่านปากและการใช้ภาษามือเพื่อสื่อสารแทน

สาเหตุของการสูญเสียการได้ยิน

สาเหตุของการเกิดการได้ยินเสื่อมถอยสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยมีปัจจัยเหล่านี้เข้ามาเกี่ยวข้องและเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน ได้แก่

  • การติดเชื้อ ซึ่งเป็นความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นที่บริเวณส่วนหูชั้นนอก ได้แก่ ขี้หูอุดตัน หรือรูหูอักเสบหรือเป็นเชื้อรา ทำให้เกิดอาการหูอื้อ หูตึง
  • โรคบางชนิด ที่ทำให้เกิดความผิดปกติในหูชั้นกลาง เช่น โรคหูน้ำหนวก ความผิดปกติของท่อปรับความดันอากาศ (Eustachian tube) เยื่อแก้วหูทะลุเป็นต้น และผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรังหรือโรคหัวใจและหลอดเลือด มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน
  • อุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะหรือบริเวณหู รวมไปถึงการทำงานหรือการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง
  • การใช้ยาหรือการรักษาบางชนิด เช่น การใช้รังสีบำบัดบริเวณโพรงจมูก ยาเคมีบำบัด หรือยาปฏิชีวนะ เช่น ยาแอสไพริน และยาอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycoside) เป็นต้น

การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการเสื่อมถอยของประสิทธิภาพในการฟัง

  1. หลีกเลี่ยงการทำงานในบริเวณที่มีเสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่ใช้ที่ป้องกันอย่างที่อุดหู และที่ครอบหู นอกจากนี้ให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังมากพอที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการได้ยิน รวมถึงการใช้หูฟังเสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานาน
  2. เลิกสูบบุหรี่และอยู่ให้ห่างจากควันบุหรี่ เพราะมีการวิจัยที่พบว่าการสูบบุหรี่นั้นส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดการสูญเสียการได้ยิน
  1. กำจัดขี้หูอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการดันขี้หูเข้าไปอุดตันรูหู
  2. การพักผ่อนให้เพียงพอและทำใจให้สงบ ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถป้องกันการเกิดภาวะการสูญเสียการได้ยิน เพราะความเครียดและการพักผ่อนน้อยอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคความดัน เบาหวาน และไขมันที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการสูญเสียการได้ยินเช่นกัน

การรับมือกับอาการสูญเสียการได้ยิน

แน่นอนว่าการเกิดภาวะการได้ยินลดลงหรือการสูญเสียการได้ยินนั้น ย่อมทำให้เกิดผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยรวมถึงความเครียดและความกังวลต่าง ๆ เข้ามารุมเร้า โดยสิ่งแรกที่ควรทำเมื่อพบว่าตนเองหรือคนที่เรารักมีภาวะการสูญเสียการได้ยินไม่ว่าจะเป็นข้างใดข้างหนึ่ง หรือสูญเสียการได้ยินทั้ง 2 ข้าง ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันทีเพราะอาจมีโอกาสรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ จำไว้ว่ายิ่งตรวจพบสาเหตุเร็วเท่าไร การรักษาก็ยิ่งทำได้เร็วขึ้น และสำหรับผู้มีประสิทธิภาพการได้ยินเสื่อมถอยเหรือสูญเสียการได้ยินถาวรก็ไม่ต้องสูญเสียกำลังใจ เพราะเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นมีความก้าวหน้าในการรักษาและสำหรับการช่วยเหลือในการฟังเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ได้แก่
  • เครื่องช่วยฟัง (Hearing Aids) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ประกอบด้วยไมโครโฟนรับเสียง ชิปคอมพิวเตอร์ (Computer chip) ซึ่งทำหน้าที่จัดกระบวนการขยายเสียงด้วยระบบดิจิตอล และผลิตเป็นสัญญาณเสียงคุณภาพ ส่งไปที่ลำโพงเพื่อเข้าช่องหูให้ผู้ใช้ได้ยิน
  • ประสาทหูเทียม (Cochlear Implant) อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีเทคโนโลยีเพื่อผู้สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องช่วยฟังได้

ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์ ผู้ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต

ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์ คือผู้ให้บริการจัดจำหน่ายเครื่องช่วยฟัง ประสาทหูเทียม รวมไปถึงบริการให้คำปรึกษา และประเมินการได้ยินของผู้ที่สูญเสียการได้ยินอย่างถูกต้องแม่นยำ และรวบรวมความทันสมัยของสุดยอดเทคโนโลยีด้านการได้ยินและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของ Hearing Coach เข้าไว้ด้วยกันเพื่อช่วยพัฒนาให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นศูนย์อินทิเม็กซ์ เชื่อมั่นว่าความรู้และความเข้าอกเข้าใจที่เรามอบให้แก่ผู้สูญเสียการได้ยิน จะช่วยให้เราสามารถพัฒนาคุณภาพการได้ยินที่รองรับความต้องการทางการสื่อสารในชีวิตประจำวันของผู้สูญเสียการได้ยิน และเป็นผู้ช่วยในการพัฒนาชีวิตที่แท้จริงของผู้ที่บกพร่องทางการได้ยิน

สอบถาม Hearing Coach ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการได้ยิน และเครื่องช่วยฟัง ได้ที่

ลงทะเบียน

Check Icon

ติดต่อ ผ่านระบบ Social และ โทรศัพท์