https://analytics.google.com/analytics/web/?authuser=2#/a29744284p281425186/admin/streams/table/2727640087

Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง

ให้บริการทุกวัน เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 | เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8:00 – 16:30

ติดต่อ line เครื่องช่วยฟัง intimexhearing

อาการหูไม่ได้ยิน เกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไรบ้าง?

สำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุ หรือคนที่ใช้ชีวิตคลุกคลีกับผู้สูงอายุมาตลอด เชื่อว่าน่าจะเคยพบเห็นอาการหูไม่ได้ยินของบุคคลกลุ่มนี้กันมาไม่น้อย เนื่องจากร่างกายของผู้สูงอายุนั้นมักจะเสื่อมสภาพและสึกหรอลงตามวัย รวมถึงระบบอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการฟังและการได้ยิน ด้วยเหตุนี้ อาการหูตึง ประสาทหูเสื่อม จึงเป็นอาการที่มักจะพบในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่
แม้จะกล่าวว่าอาการเหล่านี้มักจะพบในผู้สูงอายุเสียเป็นส่วนมาก แต่ในปัจจุบัน คนในวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคนก็พบว่ามีอาการหูไม่ได้ยินกันอยู่ไม่น้อยเลย ซึ่งไลฟ์สไตล์ของคนในยุคนี้ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้พบผู้มีอาการหูไม่ได้ยินกันมากขึ้น อย่างเช่นการที่ชอบพาตัวเองไปอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังมาก ๆ เป็นเวลานาน หรือการฟังเพลงผ่านหูฟัง แล้วปรับระดับเสียงสูงเกินไปก็เป็นอีกการกระทำที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับระบบประสาทหูด้วย อย่างไรก็ตาม อาการหูไม่ได้ยินนั้นมาจากหลายสาเหตุและหลายปัจจัยประกอบรวมกัน บทความนี้จะขอมาแบ่งปันเรื่องราวที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่ต้องการดูแลร่างกายตนเองให้ห่างไกลจากอาการหูไม่ได้ยิน มาอ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลย

หูไม่ได้ยิน เกิดจากอะไร?

อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่าอาการหูไม่ได้ยินนั้นสามารถพบได้ในผู้ป่วยหลากหลายช่วงอายุ จึงเรียกได้ว่า ไม่ว่าใครต่างก็มีความเสี่ยงที่จะพบกับอาการนี้ แล้วอาการนี้จะมีสาเหตุมาจากอะไรบ้างลองมาดูกัน
  • การเสื่อมสภาพของร่างกาย สาเหตุนี้มักจะพบในผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ เนื่องจากใช้ชีวิตมาเป็นเวลานาน อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายก็เริ่มเสื่อมลง ไม่แข็งแรงเหมือนในช่วงเยาว์วัย ระบบอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินอย่างเช่นส่วนของหูชั้นในที่มีเส้นประสาทรับเสียงนั้นเริ่มเสื่อมสภาพลง จึงมีส่วนทำให้ประสิทธิภาพในการฟังหรือได้ยินเสียงต่าง ๆ ลดลงนั่นเอง
  • หูอักเสบ ปัญหาหูอักเสบนั้นมักจะเกิดขึ้นบริเวณหูชั้นนอกและชั้นกลาง อาจมีสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ หรือขี้หูที่เข้าไปอุดตันเนื่องจากการไม่รักษาความสะอาด หรือทำความสะอาดหูแบบผิดวิธี จนทำให้สิ่งเหล่านี้ไปหมักหมมอยู่ในรูหู และบดบังการนำเสียงเข้าสู่เส้นประสาทในการรับเสียง จึงมีอาการหูไม่ได้ยินเกิดขึ้นนั่นเอง แนะนำให้ดูแลความสะอาดของหูอย่างถูกวิธี หากไม่ดูแลจะนำพาความเสี่ยงหูอักเสบ มีเชื้อรา และอาการที่อันตรายอีกมากมาย
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคร้าย สำหรับผู้ป่วยที่อาการของโรคร้ายแรงบางโรคอย่างเช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไทรอยด์ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการหูไม่ได้ยินเกิดขึ้นด้วย เป็นภาวะแทรกซ้อนมาจากอาการของโรคนั้น ๆ อีกทอดหนึ่ง 
  • พักผ่อนน้อยเกินไป การพักผ่อนให้เพียงพอยังคงเป็นเรื่องสำคัญที่แพทย์มักจะเน้นย้ำเสมอในคำแนะนำที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เพราะการพักผ่อนน้อยเกินไปจะส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายต้องทำงานหนักมากขึ้น และเสื่อมสภาพเร็วขึ้นอีกด้วย
  • ภาวะความดันต่ำ ผู้ที่มีอาการความดันต่ำ หรือเสียเลือดมากเนื่องจากเจ็บป่วย-อุบัติเหตุ ก็มีโอกาสที่จะมีอาการหูไม่ได้ยิน เนื่องจากมีการไหลเวียนของเลือดในหูน้อยลง จึงทำให้ระบบอวัยวะที่ทำงานเกี่ยวกับการรับเสียงไม่สามารถทำหน้าที่ในการฟังหรือได้ยินได้อย่างเต็มที่
  • การอยู่ในสถานที่เสียงดัง สำหรับคนที่ต้องประกอบอาชีพในสถานที่ที่มีเสียงดังมากติดต่อกันเป็นเวลานาน อย่างเช่นไซต์งานก่อสร้าง สถานบันเทิง ฯลฯ หรือแม้แต่คนอื่น ๆ ที่ใช้ชีวิตท่ามกลางเสียงดังเกินกว่าที่หูจะสามารถรับไหว หากกระทำพฤติกรรมเหล่านี้ติดต่อกันนาน ๆ ก็จะส่งผลกระทบต่อหูชั้นใน อาจเกิดความเสียหายและเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควรได้
  • การใช้หูฟัง หูฟัง เป็นอีกอุปกรณ์หนึ่งที่คนในปัจจุบันชอบใช้งานกัน ซึ่งการใช้หูฟังนั้นก็เป็นเหมือนการนำเอาลำโพงขนาดย่อม ๆ มาจ่อไว้ที่รูหู หากมีการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน และมีการเปิดเสียงที่ดังเกินกำหนด ก็จะยิ่งเป็นการทำลายระบบประสาทภายในหูอย่างช้า ๆ จนเป็นการเพิ่มความเสี่ยงอาการหูไม่ได้ยินไปแบบไม่ทันได้รู้ตัว นอกจากนี้ การใช้หูฟังบ่อย ๆ ยังทำให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียในหู และเสี่ยงหูอักเสบได้อีกด้วย

ดูแลอย่างไร เมื่อต้องเผชิญกับอาการหูไม่ได้ยิน?

เชื่อว่าไม่มีใครต้องการให้ตนเองหรือคนรอบข้างต้องเผชิญกับอาการหูไม่ได้ยิน แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้ว ก็ควรดูแลอย่างถูกวิธี เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ โดยสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ได้เลย
  • หลีกเลี่ยงสถานที่เสียงดัง อย่างที่บอกไปว่าสถานที่เหล่านี้จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงอันตรายกับระบบอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน โดยเฉพาะการทนฟังเสียงดังมาก ๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เพราะการอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังเกินกำหนดจะยิ่งทำให้ระบบประสาทหูเสียหายมากขึ้นกว่าเดิม
  • ปรึกษาแพทย์ เมื่อรู้สึกว่าตนเองหรือคนรอบข้างกำลังมีอาการที่เข้าข่ายว่าเป็นอาการหูไม่ได้ยิน แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอาการ และหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ หากอาการยังไม่ถึงขั้นรุนแรงก็ยังมีโอกาสที่จะหายและกลับมาได้ยินเสียงตามปกติได้ แต่ในกรณีที่อาการเริ่มมากขึ้น แพทย์ก็อาจจะใช้อุปกรณ์เสริม อย่างเช่น เครื่องช่วยฟัง มาช่วยดูแลผู้ที่มีอาการ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตและสื่อสารกับผู้อื่นได้ตามปกติ
  • ทำความสะอาดหูอย่างถูกวิธี การดูแลรักษาความสะอาดก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับหูและระบบประสาทหูได้ แนะนำให้ใช้สำลีชุบน้ำอุ่น ๆ เช็ดทำความสะอาดบริเวณใบหูเป็นประจำ ไม่จำเป็นต้องใช้ก้านสำลีแคะเข้าไปในรูหู และไม่แนะนำให้ใช้ของแข็งแคะหูหรือเช็ดถูอย่างแรง เพราะบริเวณนั้นมีเนื้อเยื่อที่บอบบาง เสี่ยงเกิดการอักเสบและได้รับความเสียหายง่าย
และนี่ก็เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาการหูไม่ได้ยิน ที่เรานำมาแบ่งปันคุณผู้อ่านทุกท่านในวันนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์และช่วยคลายข้อสงสัยให้กับผู้ที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับอาการหูไม่ได้ยิน ให้ได้รับทราบข้อมูลมากขึ้นกว่าเดิม ขอให้ทุกท่านดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

สอบถาม Hearing Coach เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการฟัง ได้ที่

ลงทะเบียน

Check Icon

ติดต่อ ผ่านระบบ Social และ โทรศัพท์