https://analytics.google.com/analytics/web/?authuser=2#/a29744284p281425186/admin/streams/table/2727640087

Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง

ให้บริการทุกวัน เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 | เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8:00 – 16:30

ติดต่อ line เครื่องช่วยฟัง intimexhearing
สาเหตุและการรักษาของอาการหูอื้อ เครื่องช่วยฟัง หูหนวกc

สาเหตุและการรักษาของอาการหูอื้อ

อาการหูอื้อ

    เป็นอาการที่คนเราได้ยินเสียงดังขึ้นในหู และเสียงที่แต่ละคนได้ยินอาจมีความแตกต่างกันออกไป เช่น เสียงหวีด เสียงลม เสียงหึ่ง ๆ หรือเสียงตุบ ๆ ตามการเต้นของชีพจร เป็นต้น ซึ่งเสียงเหล่านี้จะมีความสูงต่ำของเสียงต่างกันไป โดยอาการหูอื้อจะมีทั้งแบบที่หูอื้อข้างเดียวและหูอื้อพร้อมกันทั้งสองข้าง ซึ่งอาการหูอื้ออาจฟังดูเป็นอาการปกติทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนซึ่งทำให้เราเกิดความรู้สึกไม่สบายตัว แต่หากเกิดอาการหูอื้อเป็นระยะเวลานาน อาจไปรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันและทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรืออาการอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น มีปัญหาในการนอนหลับ ทำให้เกิดความเครียดสะสม อ่อนล้า อ่อนเพลีย เกิดภาวะซึมเศร้า หรือในผู้ป่วยบางรายอาจกระทบไปถึงปัญหาเกี่ยวกับการจดจำหรือการจดจ่อกับสิ่งในสิ่งหนึ่ง

สาเหตุของอาการหูอื้อ

    อาการหูอื้อไม่ใช่โรค แต่เป็นเพียงอาการชนิดหนึ่งที่เกิดความผิดปกติขึ้นกับระบบการได้ยิน ซึ่งรวมถึงหู เส้นประสาทการได้ยินที่เชื่อมต่อหูชั้นในกับสมอง และส่วนต่างๆ ของสมองที่ประมวลผลเกี่ยวกับเสียง และสามารถเกิดขึ้นได้กับร่างกายของคนทุกเพศ ทุกวัย และอาการหูอื้อที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละรายก็มีอาการต่างกันออกไป ได้แก่

  • หูอื้อที่เกิดจากการอุดตันของขี้หูหรือสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ เช่น น้ำเข้าหู คอตตอนบัด หรือแมลงเข้าไปในหู ทำให้เกิดการได้ยินที่ลดลง
  • หูอื้อที่เกิดจากการระบายลมของท่อระบายลมหูชั้นกลางอุดตันชั่วคราว เช่น ตอนขึ้นเครื่องบิน หรือเกิดอาการคัดจมูกตอนเป็นหวัด เป็นอาการหูอื้อที่การได้ยินยังปกติแต่รู้สึกแน่นในหู
  • หูอื้อเนื่องจากแก้วหูทะลุ เพราะหากแก้วหูทะลุจะทำให้นำเสียงและขยายเสียงได้น้อยลง จนทำให้การได้ยินลดลงแต่ประสาทหูยังปกติดี
  • หูอื้อเนื่องจากมีของเหลวค้างอยู่ในหูชั้นกลาง โดยของเหลวที่ว่านี้อาจเป็นน้ำเหลืองหรือหนองซึ่งเกิดมาจากการติดเชื้อภายในหูชั้นกลาง มักเกิดขึ้นในเด็กที่ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน จมูก ไซนัส และโพรงหลังจมูกส่วนบน ทำให้เกิดการอักเสบและเกิดหนองขึ้นในหูชั้นกลาง ส่วนในผู้ใหญ่อาจเกิดจากมะเร็งโพรงหลังจมูกส่วนบนไปอุดตันท่อระบายลมของหูชั้นกลาง ทำให้เกิดเป็นหนองหรือน้ำเหลืองในหูชั้นกลางได้เช่นกัน
  • สุดท้ายเป็นอาการหูอื้อที่ตรวจพบมากที่สุด คือ หูอื้อได้ยินลดลงเนื่องจากประสาทหูเสื่อม หรือที่เราเรียกว่าอาการหูตึงนั่นเอง หากทำการทดสอบการได้ยินแล้วพบว่าต้องใช้เสียงที่ดังกว่า 30 เดซิเบลเพื่อทำให้ได้ยินเสียง แสดงว่ามีอาการหูตึง

นอกจากโรคและความผิดปกติที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว

อาการหูอื้อยังมีสาเหตุมาจากโรคบางชนิดหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายส่วนอื่นได้อีกด้วย เช่น

  • โรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือด
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s Disease)
  • ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิง
  • โรคความผิดปกติที่ข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular Joint Disorders)

หรือแม้แต่การรับประทานยาบางชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ อาการหูอื้อได้ เช่น

  • ยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด
  • ยาขับปัสสาวะ เช่น บูมีทาไนด์ (Bumetanide)
  • ยาต้านมาลาเรีย เช่น ยาคลอโรควิน (Chloroquine)
  • ยาซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine) ซึ่งเป็นยาแก้อาการคัดจมูก

การรักษาอาการหูอื้อ

ยังไม่มีวิธีที่แน่ชัดสำหรับการรักษาอาการหูอื้อ เพราะอาการหูอื้อที่ไม่รุนแรงนั้นสามารถหายเองได้ ส่วนอาการหูอื้อที่เกิดจากโรคต่าง ๆ อาจบรรเทาลงได้หากมีการรักษาโรคเหล่านั้นให้ทุเลาลง แต่สำหรับผู้ที่มีอาการหูอื้อเรื้อรังจนกระทบต่อการดำเนินชีวิตหรือเกิดผลข้างเคียง (เช่น หมดสติ ซึมเศร้า เครียด และเกิดปัญหากับความจำและการมีสมาธิจดจ่อ เป็นต้น) ยังพอมีวิธีการเยียวยาที่ช่วยให้รับมือกับอาการหูอื้อได้ดีขึ้น โดยแพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ใช้วิธีการและเครื่องมือบางอย่างควบคู่กันไปเพื่อใช้รับมือกับอาการหูอื้อและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและขึ้นอยู่กับว่าอาการหูอื้อมีผลกระทบกับชีวิตของคุณอย่างไร ตัวอย่างของเครื่องมือและวิธีการรับมือกับอาการหูอื้อและอาการข้างเคียง เช่น

การใช้เครื่องช่วยฟัง:

เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากกับผู้ที่สูญเสียการได้ยินโดยมีอาการหูอื้อร่วมด้วย โดยการใช้เครื่องช่วยฟังเพื่อปรับระดับเสียงภายนอกให้ฟังได้ง่ายขึ้น เมื่อคุณได้ยินเสียงมากขึ้นคุณก็จะรู้สึกถึงอาการหูอื้อได้น้อยลง

สาเหตุและการรักษาของอาการหูอื้อเครื่องช่วยฟังs

การใช้ Masking Devices:

เป็นอุปกรณ์ที่ใกล้เคียงกับเครื่องช่วยฟัง โดยเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในหูและเล่นเสียงที่นุ่มและน่าฟังเพื่อป้องกันเสียงที่เกิดจากอาการหูอื้อ โดยเสียงที่เล่นอาจเป็นเสียง ชู่วๆ เสียงริงโทนแบบสุ่ม หรือเป็นเพลงก็ได้

การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์:

เป็นการปรึกษาเพื่อระบายและหาทางออกให้กับอาการหูอื้อหรืออาการข้างเคียงที่คุณกำลังเผชิญอยู่ โดยจะช่วยให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับอาการหูอื้อที่กำลังเผชิญอยู่มากขึ้น และช่วยให้คุณเรียนรู้ว่าจะอยู่กับมันได้อย่างไร ส่วนในผู้ป่วยบางรายอาจต้องรับประทานยานอนหลับหรือยาต้านซึมเศร้า เพื่อให้นอนหลับได้มากขึ้นและมีอารมณ์ดีขึ้นด้วย

ใครบ้างที่สามารช่วยคุณได้ยินเสียง อาหารหูอื้อ เครื่องช่วยฟัง

คุณภาพของการได้ยินดี คือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
หากคุณมีปัญหาการได้ยิน
และต้องการปรับปรุงคุณภาพการได้ยินของคุณ
พบผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินและเครื่องช่วยฟัง (Hearing Coach)

ศูนย์บริการ เครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์ ด้านหน้า มีที่จอดรถ

ลงทะเบียน

Check Icon

ติดต่อ ผ่านระบบ Social และ โทรศัพท์