อาการหูไม่ได้ยิน
Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง
ขณะนี้คุณอยู่หน้า หน้าแรก » ทำไมการเข้าสังคมถึงกลายเป็นเรื่องยาก เมื่อมีอาการหูไม่ได้ยิน
อาการหูไม่ได้ยิน
หรือการมีความสามารถทางการได้ยินลดลง เป็นอาการทั่วไปที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เมื่อเราอายุมากขึ้น เซลล์ขนและประสาทหูของเราซึ่งมีหน้าที่ในการรับเสียงค่อยๆ เสื่อมลง หูรับเสียงได้ไม่ดี การได้ยินเสียงลดลง ส่งผลทำให้การสื่อสารมีความท้าทายมากขึ้น
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยิน ได้ยินเสียงคำพูดไม่ชัด มักขอให้ผู้อื่นพูดซ้ำ หรือเมื่อลูกหลานพูดกับท่านอาจจะต้องพูดด้วยเสียงดังเหมือนตะโกน ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าการสื่อสารนั้นเป็นเรื่องยาก รู้สึกว่าทำให้ลูกหลานรำคาญใจ ผลกระทบคือผู้สูงอายุไม่อยากพูดคุยหรือสนทนากับใครอีกต่อไป ปลีกตัวจากสังคม นำไปสู่ความรู้สึกโดดเดี่ยวได้
การสูญเสียการได้ยินอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพจิต และอารมณ์ของผู้สูงอายุ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุดังนี้ .-
การสูญเสียการได้ยินขัดขวางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ปัญหาการได้ยินไม่ชัด หรือได้ยินไม่ครบถ้วน ทำให้ยากที่จะติดตามการสนทนา ส่งผลทำให้เกิดความรู้สึกแปลกแยก แยกตัวจากสังคม นำไปสู่อารมณ์หงุดหงิด คับข้องใจ เหงา และโดดเดี่ยว
เมื่อการสื่อสารกับผู้อื่นต้องใช้พลังงานมาก ผู้ที่มีอาการหูไม่ได้ยินอาจเริ่มถอนตัวจากกิจกรรมทางสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์ เนื่องจากความเหนื่อยล้าจากการเสียพลังงานเพื่อพยายามโฟกัสในการฟัง แปลความหมาย การโต้ตอบสื่อสาร และทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น รวมถึงความรู้สึกน้อยใจที่ได้รับการปฏิบัติแตกต่างไปจากผู้อื่น การปลีกตัวนี้ เพิ่มความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญ
การสูญเสียการได้ยินอาจส่งผลกระทบต่อด้านต่างๆ ในการดำเนินชีวิต รวมถึงการทำงาน ความสัมพันธ์ และการทำกิจกรรมยามว่าง ทำให้การดำเนินชีวิตที่ทำมาตลอด ต้องเปลี่ยนแปลงทิศทางไป การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจนำไปสู่ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าได้
ผู้สูงอายุที่มีการสูญเสียการได้ยิน ไม่ใช่ท่านสูญเสียเพียงการได้ยินเท่านั้น การสูญเสียการได้ยินยังทำให้ท่านสูญเสียความมั่นใจ ความนับถือตนเอง เกิดความรู้สึกด้อยค่า ไม่เป็นที่ต้องการของครอบครัวหรือคนรอบข้าง ความรู้สึกเหล่านี้ทำให้ท่านปลีกตัวจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
การรับมือกับสภาวะทางอารมณ์ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ยากที่จะบอกให้ผู้อื่นรับรู้ ยิ่งหากผู้สูงอายุยังไม่ยอมรับและหาทางแก้ไขอาการหูไม่ได้ยินของตนเอง ผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่มีการสูญเสียการได้ยิน จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าได้มาก
วิธีหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายนี้ คือการจัดหาเครื่องช่วยฟัง คุณภาพสูงให้กับท่าน เครื่องช่วยฟัง คุณภาพสูงสามารถปรับปรุงคุณภาพการฟัง ทำให้ท่านสามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มความรู้สึกมั่นใจที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และที่สำคัญคือ เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูงอายุ จะได้รับการเลือกและปรับให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกันในแต่ละท่าน ซึ่งจะเพิ่มความสุขในชีวิตของท่านได้อย่างแท้จริง