https://analytics.google.com/analytics/web/?authuser=2#/a29744284p281425186/admin/streams/table/2727640087

Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง

ให้บริการทุกวัน เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 | เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8:00 – 16:30

ติดต่อ line เครื่องช่วยฟัง intimexhearing

ประเภทของอาการหูไม่ได้ยิน

อาการหูไม่ได้ยิน (Hearing loss)

เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อหากเกิดความผิดปกติกับหู หรืออวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน โดยการเกิดความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องหูทำให้เกิดอาการหูไม่ได้ยินประเภทที่ต่างกัน ซึ่งมีอาการและต้องใช้การรักษาที่แตกต่างกันออกไป มาดูกันว่าประเภทของอาการหูไม่ได้ยินนั้นมีอะไรกันบ้าง

โครงสร้างของหูและระบบการได้ยิน

ก่อนอื่นเราต้องทำความรู้จักกับส่วนประกอบต่าง ๆ ในหูของเรากันก่อน รวมถึงอวัยวะที่เป็นองค์ประกอบในการได้ยิน ดังนี้

หูชั้นนอก

หูชั้นนอก (Outer ear) ประกอบไปด้วย

- ใบหู (Pinna/ earlobe) หรือส่วนนอกสุดของหูที่เราสามารถมองเห็นได้
- ช่องหู (Ear canal)
- เยื่อแก้วหู (Tympanic membrane) เนื้อเยื่อบาง ๆ ที่ช่วยกั้นเพื่อแยกหูชั้นนอกกับหูชั้นกลางออกจากกัน

หูชั้นกลาง (Middle ear)

- แก้วหู (Eardrum)
- กระดูกค้อน (Malleus) กระดูกทั่ง (Incus) กระดูกโกลน (Stapes) เป็นกระดูกเล็ก ๆ 3 ชิ้นต่อกันภายในหูชั้นกลาง (เรียกรวมกันว่า Ossicles) ทำหน้าที่นำคลื่นเสียงที่มากระทบเข้าไปสู่หูชั้นใน

หูชั้นใน (Inner ear)

- อวัยวะที่มีรูปลักษณะคล้ายหอยโข่ง (Cochlea) ทำหน้าที่รับเสียง
- อวัยวะหลอดกึ่งวง (Semicircular canal) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว
- เซลล์ขน (Hair cell) ทำหน้าที่จับความรู้สึกเมื่อร่างกายเคลื่อนไหว และส่งกระแสประสาทไปยังสมอง

อาการหูไม่ได้ยินหรือการสูญเสียการได้ยินมีกี่ประเภท? อะไรบ้าง?

ชนิดของการสูญเสียการได้ยิน (Hearing loss) มีทั้งหมด 4 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

ประเภทการนำเสียงบกพร่อง (Conductive hearing loss)

เป็นประเภทการสูญเสียการได้ยินที่หูชั้นนอกหรือหูชั้นกลางไม่สามารถนำเสียงได้อย่างเหมาะสม โดยอาจเกิดความผิดปกติของหูชั้นนอก หรือหูชั้นกลาง แต่ประสาทหูยังใช้งานได้ดีอยู่ สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ยาหรือการผ่าตัด

ประเภทประสาทรับเสียงบกพร่อง (Sensorineural hearing loss)

เป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุด มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของประสาทรับเสียง ซึ่งอยูในบริเวณของส่วนหูชั้นในไปจนถึงสมอง ความผิดปกติประเภทนี้จะทำให้ได้ยินเสียงแต่ประมวลผลไม่ได้ ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดภาวะหูตึงหรือหูหนวกถาวร และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

ประเภทประสาทรับเสียงบกพร่อง (Sensorineural hearing loss)
ประเภทการรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม (Mixed hearing loss)

ประเภทการรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม (Mixed hearing loss)

เป็นประเภทการสูญเสียการได้ยินที่เกิดจากความผิดปกติจากทั้งการนำเสียงบกพร่องและประสาทรับเสียงบกพร่อง ซึ่งจะพบความผิดปกติของหูชั้นนอก หูชั้นกลาง ร่วมกันกับความผิดปกติของหูชั้นใน

ประเภทที่มีความผิดปกติของกระแสประสาททางการได้ยิน (Auditory neuropathy spectrum disorder)

เป็นประเภทการสูญเสียการได้ยินที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาท (Auditory neuropathy) คือ เสียงสามารถเดินทางเข้าสู่หูชั้นกลางได้ตามปกติเพียงแต่ไม่สามารถเดินทางไปสู่สมองได้ เพราะเส้นประสาทที่ทำหน้าที่นำเสียงสู่สมองทำหน้าที่ผิดปกติทำให้สมองไม่สามารถประมวลผลเสียงที่ได้ยินได้

ประเภทที่มีความผิดปกติของกระแสประสาททางการได้ยิน (Auditory neuropathy spectrum disorder)

ระดับของอาการหูไม่ได้ยิน

- หูไม่ได้ยินเล็กน้อย (Mild hearing loss): สามารถได้ยินเสียงพูดในระดับปกติได้ แต่จะไม่ได้ยินเสียงกระซิบหรือเสียงเบา ๆ
- หูไม่ได้ยินปานกลาง (Moderate hearing loss): ไม่สามารถได้ยินเสียงผู้อื่นพูดในระดับปกติ ต้องตะโกนหรือต้องเข้ามาพูดใกล้ ๆ ในระยะ 3-5 ฟุต
- หูไม่ได้ยินรุนแรง (Severe hearing loss): สามารถได้ยินเสียงตะโกนในระยะ 1 ฟุต แต่ฟังไม่รู้เรื่องและไม่เข้าใจความหมาย
- หูหนวก (Profound hearing loss): ไม่ได้ยินเสียงใด ๆ แม้เป็นเสียงตะโกนก็ตาม

ศูนย์บริการ เครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์ ด้านหน้า มีที่จอดรถ

คุณภาพของการได้ยินดี คือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หากคุณมีปัญหาการได้ยิน และต้องการปรับปรุงคุณภาพการได้ยินของคุณ พบผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินและเครื่องช่วยฟัง
(Hearing Coach)

ลงทะเบียน

Check Icon

ติดต่อ ผ่านระบบ Social และ โทรศัพท์

บทความที่แนะนำ