อุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง หูฟังและประสาทหูเทียมสำหรับคนหูตึง หูหนวก
เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่ต้องใกล้ชิดหรือมีชีวิตประจำวันร่วมกับบุคคลที่เกิดภาวะสูญเสียการได้ยิน หูหนวก และต้องการช่วยสนับสนุนให้ประสาทรับรู้การได้ยินเสียงพวกเขาดีขึ้น
การเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยฟัง หูฟัง และประสาทหูเทียมสำหรับคนหูตึง หรือหูหนวก ถือเป็นทางเลือกที่ดีอีกหนึ่งช่องทาง โดย Intimex เป็นศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังและประสาทหูเทียม ที่พร้อมรองรับความต้องการทางการสื่อสารในชีวิตประจำวันของผู้มีปัญหาทางการได้ยินให้เป็นไปอย่างราบรื่นมากที่สุด
- พิจารณาระดับและรูปแบบของความบกพร่องทางการได้ยิน
- พิจารณางบประมาณที่คุณต้องการลงทุนไปกับการเลือกซื้อเครื่องช่วยฟัง เพราะนอกจากเลือกซื้อเครื่องช่วยฟังแล้ว ยังต้องซื้ออุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการดูแลเครื่องช่วยฟังให้ปลอดภัย จากความชื้นอีกด้วย
- พิจารณาถึงรูปแบบการนำเครื่องช่วยฟังไปใช้งาน เช่น ใช้ที่บ้าน ใช้ในที่ทำงาน เป็นต้น
- พิจารณารูปแบบและไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิต เพราะเมื่อซื้อเครื่องช่วยฟังแล้ว ยังต้องมีการติดตามนัดหมายเพื่อปรับเสียงให้สอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ เช่น การออกไปเดินเล่น การออกไปห้างสรรพสินค้า หรือการไปทานอาหารกับครอบครัวและเพื่อน เป็นต้น
จำแนกกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องช่วยฟังตามระดับความบ่อยในการใช้งาน
-
เครื่องช่วยฟังสำหรับชีวิตที่เรียบง่าย (BASIC HEARING AID)
- เหมาะสำหรับผู้ที่มีกิจกรรมในแต่ละวันที่ไม่หลากหลาย พบปะผู้คนกลุ่มน้อย หรืออยู่ในสถานที่ที่ไม่พลุกพล่าน แต่ยังคงต้องการคุณภาพในการฟังเสียงคำพูดที่ชัดเจน และมีความจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ เช่น ผู้ที่อยู่กับบ้าน มีกิจกรรมไม่มาก ผู้สูงอายุ สนทนาแบบตัวต่อตัว หรือ 1 – 2 คน
-
เครื่องช่วยฟังสำหรับชีวิตที่มีสีสัน (ADVANCE HEARING AID)
- เหมาะสำหรับ นักเรียน บุคคลวัยทำงาน ที่กิจกรรมที่ค่อนข้างหลากหลายในแต่ละวัน มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมบ้าง แต่ไม่บ่อยมีความจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ เช่น ผู้ทำงานออฟฟิศติดต่อประสานงานกับบุคคล 3 – 5 คน หรือใช้การสนทนาทางโทรศัพท์ ในการประชุมและติดต่องาน
-
เครื่องช่วยฟังเหมาะสำหรับชีวิตแบบไม่หยุดนิ่ง (PREMIUM HEARING AID)
เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีกิจกรรมหลากหลาย ที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมมากกว่า 2 ครั้งในหนึ่งวัน มีการติดต่อสื่อสารทั้งในที่เงียบ ห้องประชุม หรือร่วมงานเลี้ยง ความต้องการการได้ยินที่สมบูรณ์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เช่น แพทย์ ผู้พิพากษา นักธุรกิจ เป็นต้นมีกิจกรรมที่หลากหลาย กิจกรรมกลางแจ้ง เดินทาง ท่องเที่ยว ติดต่องาน ธุรกิจ ประชุม สัมมนา เชื่อมต่อทุกการสื่อสาร สนทนาผ่านโทรศัพท์ VDO Call
-
เครื่องช่วยฟังเหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง (HIGH POWER HEARING AID)
- เหมาะสำหรับ ผู้สูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรง อีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการได้ยินแบบขั้นสุด มาพร้อมความสะดวกสบายในการรับฟัง กำลังขยายความดังสูงสุด 142 เดซิเบล ชัดเจนทุกสถานการณ์ ให้คุณกลับมาได้ยินอีกครั้ง เชื่อมต่อทุกการสื่อสารด้วยเทคโนโลยี Bluetooth 2.4 GHz
จำแนกกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องช่วยฟังตามระดับความบ่อยในการใช้งาน
-
เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู Behind The Ear (BTE)
- เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหู Behind the ear (BTE) ตัวเครื่องวางทัดอยู่หลังใบหู ออกแบบรูปร่างของเครื่องให้วางไว้บนหลังใบหู เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหูให้กำลังขยายตั้งแต่ระดับน้อยไปจนถึงมาก เหมาะสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับน้อยถึงรุนแรงมาก เนื่องจากเครื่องมีกำลังขยายสูงเพียงพอที่จะสำรองในอนาคตกรณีมีความบกพร่องทางการได้ยินเพิ่มขึ้น และยังสามารถเชื่อมต่อบลูทูธเข้ากับมือถือ ทีวี และคอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย
-
เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในหู (In The Ear หรือ ITE)
เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในหู (In The Ear หรือ ITE) เป็นเครื่องช่วยฟังขนาดเล็กแบบสั่งผลิตขนาดพอดีกับภายในหู อุปกรณ์ทุกชิ้นบรรจุไว้อยู่ภายในเครื่องชิ้นเดียว ใช้แบตเตอรี่เครื่องช่วยฟังเบอร์ 13, 312 เหมาะสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับปานกลางถึงรุนแรง และชื่นชอบความสะดวก เนื่องจากตัวเครื่องมีชิ้นเดียวทำให้ง่ายต่อการหยิบใส่ในหู แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในช่วงความถี่ต่ำระดับน้อย เพราะอาจทำให้รู้สึกว่าเสียงพูดของตัวเองก้องในหูได้ และยังไม่เหมาะกับผู้ที่มีขี้หูมาก เพราะอาจเกิดการสะสมของขี้หูเพิ่มขึ้นได้
-
เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในช่องหู (In The Canal หรือ ITC)
เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในหู (In The Ear หรือ ITE) เป็นเครื่องช่วยฟังขนาดเล็กแบบสั่งผลิตขนาดพอดีกับภายในหู อุปกรณ์ทุกชิ้นบรรจุไว้อยู่ภายในเครื่องชิ้นเดียว ใช้แบตเตอรี่เครื่องช่วยฟังเบอร์ 13, 312 เหมาะสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับปานกลางถึงรุนแรง และชื่นชอบความสะดวก เนื่องจากตัวเครื่องมีชิ้นเดียวทำให้ง่ายต่อการหยิบใส่ในหู แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในช่วงความถี่ต่ำระดับน้อย เพราะอาจทำให้รู้สึกว่าเสียงพูดของตัวเองก้องในหูได้ และยังไม่เหมาะกับผู้ที่มีขี้หูมาก เพราะอาจเกิดการสะสมของขี้หูเพิ่มขึ้นได้
-
เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในช่องหู (Completely In The Canal หรือ CIC)
เป็นเครื่องช่วยฟังขนาดเล็ก แบบสั่งผลิตขนาดพอดีกับขนาดช่องหู มีขนาดเล็ก วางหลบเข้าไปในช่องหูมากกว่าแบบใส่ในช่องหู In The Canal (ITC) สังเกตเห็นได้ยาก ใช้แบตเตอรี่เครื่องช่วยฟังเบอร์ 10 เหมาะสำหรับผู้ที่มีระดับการสูญเสียการได้ยินระดับน้อยถึงระดับปานกลาง ขนาดเล็ก ใส่สะดวก คุณภาพเสียงชัดเจน ไม่เกิดเสียงหวีดขณะใส่ ข้อเสีย คือ ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อย เนื่องจากใช้แบตเตอรี่ขนาดเล็กเบอร์ 10
-
เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในช่องหูขนาดจิ๋ว Invisible In The Canal (IIC)
เป็นเครื่องช่วยฟังขนาดเล็ก แบบสั่งผลิตขนาดพอดีกับขนาดช่องหู มีขนาดที่เล็กมากทำให้ใส่แล้วมองไม่เห็นตัวเครื่อง เนื่องจากตัวเครื่องวางลึกเข้าไปในช่องหูมากกว่าเครื่องช่วยฟังแบบใส่ในช่องหูทุกรุ่นที่กล่าวมา ใช้แบตเตอรี่เครื่องช่วยฟังเบอร์ 10 เหมาะสำหรับผู้ที่มีระดับการสูญเสียการได้ยินระดับน้อยถึงระดับปานกลาง ขนาดเล็ก ใส่สะดวกเช่นเดียวกัน และไม่เกิดเสียงหวีดขณะใส่ แต่มีข้อเสียคือส่วนใหญ่ไม่สามารถต่อเชื่อมกับอุปกรณ์ที่ใช้ Bluetooth ได้ เนื่องจากข้อจำกัดจากของขนาดเครื่อง ที่ไม่สามารถบรรจุอุปกรณ์ได้มาก และไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ เนื่องจากความคล่องตัวในการใช้นิ้วจับชิ้นส่วนเล็ก ๆ นั้นมีน้อย
-
เครื่องช่วยฟังชนิดฟังเสียงทางกระดูก (Bone-Anchor HearingAid)
เป็นเครื่องที่นำเสียงผ่านเข้าที่บริเวณหลังใบหู (mastoid) กรณีที่ไม่สามารถใส่เครื่องช่วยฟังที่ขยายเสียงผ่านเข้าทางช่องหูได้ เช่น กรณีรูหู ตีบ ไม่มีรูหู ผู้ป่วยที่หูอักเสบเรื้อรังมีของเหลวไหลออกจากหูตลอดเวลา เป็นต้น เครื่องประเภทนี้มีทั้งชนิดที่วางอยู่บริเวณกกหู และชนิดที่แพทย์ต้องท่าการผ่าตัดเพื่อฝังไว้ที่กระดูกหลังใบหู โดยมีเครื่องรับเสียงอยู่ภายนอก
ประสาทหูเทียม อุปกรณ์ช่วยการได้ยิน เพื่อผู้สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงถึงหูหนวก
-
ประสาทหูเทียม (Cochlear Implant)
- คือเครื่องมือทางการแพทย์สำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงและใช้เครื่องช่วยฟังแล้วไม่เกิดผลต่อการฟัง ประสาทหูเทียมประกอบไปด้วยขดลวดนำกระแสไฟฟ้าที่ต้องได้รับการผ่าตัดฝังไว้ด้านหลังใบหู และให้ทำงานร่วมกับตัวแปลงสัญญาณที่ติดตั้งไว้ภายนอกร่างกาย โดยการได้ยินจะเกิดจากการที่กระแสไฟฟ้าวิ่งไปกระตุ้นเส้นประสาทการได้ยิน หลังจากนั้นเกิดกระแสประสาทวิ่งตามเส้นประสาทการได้ยินไปจนถึงสมองในส่วนที่รับและแปลความหมายของเสียง ทำให้ผู้ใช้เครื่องมือสามารถได้ยินเสียง
-
ประสาทหูเทียมทำงานอย่างไร?
- การทำงานของประสาทหูเทียมแบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยกัน ได้แก่ ส่วนที่อยู่ภายนอกร่างกาย (External Components) และส่วนที่อยู่ภายในร่างกาย (Internal Components) สำหรับส่วนที่อยู่ภายนอกร่างกายนั้นจะเรียกว่า “Processor” ทำหน้าที่รับสัญญาณเสียง หลังจากนั้นแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลส่งไปยังเครื่องรับสัญญาณที่ได้ผ่าตัดฝังเอาไว้ มีสองชนิดด้วยกัน คือ ชนิดแขวนหลังหูและชนิดไร้สาย ตัวเครื่องมือจะประกอบไปด้วย ไมโครโฟนรับสัญญาณเสียง หน่วยประมวลผล กล่องแบตเตอรี่ และคอยล์แม่เหล็ก สำหรับส่วนที่อยู่ภายในร่างกายนั้นเรียกว่า “Cochlear implant” ซึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิตอลและแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าแล้วส่งไปประมวลผลที่สมอง โดยตัวเครื่องมือจะประกอบไปด้วย แม่เหล็กซึ่งวางอยู่ใต้ผิวหนังบริเวณหลังหู ตัวเครื่องมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายใน สายรับสัญญาณ และสายอิเล็กโทรด
-
ประสาทหูเทียมเหมาะกับใครบ้าง?
- คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสำหรับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ได้แก่
- ผู้ที่สูญเสียการได้ยินทั้งสองข้างระดับหูหนวก (มากกว่า 80 เดซิเบล) และลองใช้เครื่องช่วยฟังแล้วไม่ได้ผล
- หูหนวกมาเป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี (หากหูหนวกเกิน 10 ปี ต้องได้รับการฟื้นฟูการได้ยินมาก่อน)
- ไม่มีโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการผ่าตัด
- ไม่มีปัญหาสุขภาพจิตที่เป็นอุปสรรคในการใช้ประสาทหูเทียม
- ต้องสามารถเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินหลังการผ่าตัดและติดตามผลเป็นระยะ ๆ ได้
- มีศักยภาพที่จะดูแล บำรุงรักษาเครื่องประสาทหูเทียมได้
- และการผ่าตัดเพื่อใส่ประสาทหูเทียมนั้นสามารถทำได้ทั้งในทุกช่วงวัย (โดยในวัยเด็ก อายุต่ำกว่า12 ปีจะมีเงื่อนไขว่าสามารถผ่าตัดได้เมื่อมีอายุ 1 ปีขึ้นไปและมีสติปัญญาที่ดีพอสำหรับการพัฒนาหลังการใส่ประสาทหูเทียม)
Intimex พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารด้วยอุปกรณ์ช่วยฟังคุณภาพสูงที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล(หรือที่บุคคลทั่วไปเรียก หูฟัง คนหูหนวก)ให้เป็นไปอย่างราบรื่นมากที่สุด
Intimex พร้อมดูแลและมอบอุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง พร้อมให้คำปรึกษาดูแลด้านประสาทหูเทียมทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดให้แก่บุคคลที่มีอาการหูตึง หูหนวก รวมถึงผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงระดับรุนแรงมาก ในทุกช่วงชีวิตตั้งแต่วัยเด็กเล็ก วัยเรียน วัยทำงาน จนถึงวัยสูงอายุ เพื่อมุ่งสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างเท่าเทียม


เครื่องช่วยฟังที่เหมาะสำหรับคุณ ไม่ใช่เป็นเพียงอุปกรณ์
แต่คือประสบการณ์การได้ยินที่ช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้เต็มศักยภาพอย่างสูงสุด
กรอกแบบฟอร์มเพื่อรับคำแนะนำจาก ผู้ให้คำปรึกษาด้านการได้ยินและเครื่องช่วยฟัง (Hearing Coach) ของศูนย์บริการเครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์ ที่พร้อมช่วยคุณค้นหาโซลูชั่นที่เหมาะสมตรงกับความต้องการของคุณ
ลงทะเบียน
ติดต่อ ผ่านระบบ Social และ โทรศัพท์
ผลิตภัณฑ์แนะนำเครื่องช่วยฟัง
เครื่องช่วยฟัง ZERENA
เครื่องช่วยฟังดิจิตอล เทคโนโลยีสูง ที่จะช่วยให้ทุกเสียงกลับมาได้ยินอีกครั้ง
เครื่องช่วยฟัง VIRON
VIRON 9 เครื่องช่วยฟังคุณภาพเสียง สมจริงเป็นธรรมชาติ
เครื่องช่วยฟัง LEOX
Leox 7/3 เครื่องช่วยฟังที่กำลังขยายสูง สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินรุนแรง
อุปกรณ์เสริมเครื่องช่วยฟัง
อุปกรณ์เสริมเครื่องช่วยฟัง ที่สามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน ได้ตามความต้องการ
แท็กยอดนิยม
คำอื่นๆ
Menu