https://analytics.google.com/analytics/web/?authuser=2#/a29744284p281425186/admin/streams/table/2727640087

Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง

ให้บริการทุกวัน เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 | เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8:00 – 16:30

ติดต่อ line เครื่องช่วยฟัง intimexhearing

หูอื้อ หูตึง กับ ผู้สูงอายุ

ภาวะ หูอื้อ หรือ หูตึง ใน ผู้สูงอายุ (Presbycusis) เกิดจากการเสื่อมของเซลส์ขนรับเสียง (Hair cells) ในหูชั้นใน การเสื่อมของการได้ยินจะเพิ่มขึ้นตามอายุ  ในผู้ที่มีอายุ  65-84 ปี  พบว่ามีความบกพร่องทางการได้ยิน หรือ หูอื้อ หูตึง ถึง 43 เปอร์เซ็นต์ *  มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาที่เกิดอาการ และความรุนแรงของความ บกพร่องของการได้ยิน เช่น การรับประทานยาบางชนิด (aminoglycosides, chemotherapeutic agents) การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือด โรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน เป็นต้น 

บทความที่แนะนำ

01

ตัดขาดจากการสื่อสารกับคนที่รักทุกคน

   คนที่คุณรักรอบตัวคุณกำลังคุยกัน แต่คุณไม่สามารถมีส่วนร่วม เหมือนกับที่คุณเคยทำได้ คุณจึงคิดว่าน่าจะดีเหมือนกัน ถ้าอยู่แต่ในบ้าน มากกว่าที่จะออกไปทานอาหารในร้านที่มีเสียงดังแบบนั้น เพราะคุณรู้สึกเครียดที่จะต้องพยายามตั้งใจฟังในสิ่งที่ครอบครัวหรือเพื่อนกำลังคุยกัน

02

ถูกคนทั่วไปมองว่า “เชื่องช้า” “งุ่มง่าม” “สูญเสียความสามารถ”

    ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ภาพทางลบดังกล่าวที่คนส่วนใหญ่คิดกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยิน ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกด้านลบต่อตนเอง มีความภาคภูมิใจตนเองต่ำ ความคับข้องใจ ฉุนเฉียว และอาจพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้า

03

พฤติกรรมที่แสดงออก ส่งผลในทุกด้านของชีวิต

   ผู้สูงอายุที่หูตึง ไ้ด้ยินไม่ชัด มักสื่อสารกับคนในบ้านไม่รู้เรื่อง จึงไม่เข้ามามีส่วนร่วมพูดคุยกันในครอบครัว ตำหนิทุกคนว่าพูดเบา เปิดโทรทัศน์ดังรบกวนคนอื่น สร้างความเครียดเกิดขึ้นในครอบครัว ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวไม่ราบรื่น

04

ความเครียดจะกลายเป็นความท้าทายที่มากขึ้น

   ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งที่ทุกคนต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน แต่สำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินแล้ว ความเครียดจะเกิดขึ้นมากกว่าหลายเท่า ลองคิดดูว่าผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล จะมีความเครียดมากขึ้นเพียงใดเมื่อต้องพยายามฟังแพทย์อธิบายวิธีรักษา หรือให้คำแนะนำที่จำเป็นในการดูแลอาการป่วย หรือเมื่อต้องไปติดต่อธนาคาร หรือเดินทางไกล

05

ครอบครัวไม่ค่อยได้สังเกตและให้ความสำคัญดูแลแบบเร่งด่วน

  เนื่องจากความบกพร่องทางการได้ยินที่เกิดกับผู้สูงอายุ มักเกิดขึ้นทีละน้อยตามอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นส่วนใหญ่มักคิดว่าปัญหาการได้ยินมักมาคู่กับผู้สูงอายุอยู่แล้ว การสูญเสียการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไปนี้ จึงทำให้ครอบครัวไม่ได้รีบหาทางแก้ไข และดูแลแบบเร่งด่วน

06

พฤติกรรมที่แสดงออก ส่งผลในทุกด้านของชีวิต

     ความบกพร่องทางการได้ยินส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ งานวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาการได้ยิน มีความเสี่ยงต่อภาวะการทำงานของสมองเสื่อมถอยลง (Cognitive decline) มีโอกาสหกล้มมากกว่า ผู้สูงอายุ ที่ไม่มีปัญหาการได้ยินถึง 3 เท่า**  เมื่อผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยว จะส่งผลด้านลบต่อความรู้สึกและอารมณ์ ไม่อยากออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ ดื่มแอลกอฮอล์ ฯ ทำให้สุขภาพทรุดโทรม ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจ เบาหวาน ฯ

เว็บไซต์ที่อ้างอิงข้อมูล หูอื้อ หูตึง กับผู้สูงอายุ

บทความที่แนะนำ