https://analytics.google.com/analytics/web/?authuser=2#/a29744284p281425186/admin/streams/table/2727640087

Intimex ศูนย์ เครื่องช่วยฟัง หูหนวก หูตึง

ให้บริการทุกวัน เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 | เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8:00 – 16:30

ติดต่อ line เครื่องช่วยฟัง intimexhearing

ความบกพร่องทางการได้ยิน กับภาวะหกล้ม ในผู้สูงอายุ

    ภาวะการหกล้มเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และเป็นความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรง ส่งผลกระทบต่อทั้งด้านร่างกาย และจิตใจของตัวผู้สูงอายุเอง และต่อครอบครัว แต่ละปี 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมักประสบกับการลื่นล้ม และครึ่งหนึ่งลื่นล้มมากกว่า 1 ครั้ง เมื่อผู้สูงอายุหกล้ม และกระดูกหัก พบว่า 1 ใน 5 ไม่สามารถกลับมาเดินได้อีกและบางส่วนต้องใช้รถเข็นไปตลอด**  ส่งผลให้ผู้สูงอายุสูญเสียความสามารถในการดูแลตนเองและต้องมีคนดูแลตลอดเวลา มีภาวะสับสน มีปัญหาการเคลื่อนไหว*

บทความที่แนะนำ

     การฝึกการทรงตัว และ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จะช่วยพัฒนาความสามารถในการทรงตัว และลดความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ จากการคาดการณ์ในภาพรวมของประเทศไทย จากสถิติเกี่ยวกับการบาดเจ็บของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีอัตราการเสียชีวิตจากการหกล้มสูงเป็นอันดับ 2 รองจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน

และระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2564 จะมีผู้สูงอายุพลัดตกหกล้ม ปีละประมาณ 3,030,900 – 5,506,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้ จะมีผู้เสียชีวิต จำนวน 5,700 – 10,400 คนต่อปี***

     จากการวิจัยของมหาวิทยาลัย Johns Hopkins* พบว่าผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินแม้ว่าจะระดับน้อย มีโอกาสในการหกล้มมากกว่าถึง 3 เท่า ทุกๆ 10 เดซิเบลที่ได้ยินลดลง จะเพิ่มโอกาสในการหกล้ม 1.4 เท่า ซึ่งสามารถอธิบายถึงความเป็นไปได้ว่าผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินอาจจะไม่มีการรับรู้ที่ดีเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว ทำให้การสะดุดหกล้มเป็นไปได้ง่าย

     การทรงตัวและการรักษาสมดุลย์เป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้เหมือนเป็นความเคยชิน ซึ่งแท้จริงแล้วการที่จะทำเช่นนั้นได้ต้องใช้กระบวนการทำงานของสมองอย่างมากความบกพร่องทางการได้ยินเพิ่มภาระกระบวนการทำงานของสมอง (Cognitive Load) มาก (กินแรงสมองมาก) ผู้สูงอายุจึงมีแรงสมอง (Cognitive resources) น้อยลงในการนำมาจัดการด้านการทรงตัวและรักษาสมดุลย์ จึงอาจเพิ่มโอกาสในการหกล้ม

     งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการเตือนทุกคนให้ตระหนักและใส่ใจเมื่อพบว่าตนมีการได้ยินลดลง เพราะความบกพร่องทางการได้ยินไม่เพียงแต่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมและโรคซึมเศร้า แต่ความบกพร่องทางการได้ยินส่งผลต่ออันตรายทางร่างกายต่อผู้สูงอายุด้วย

สำหรับผู้ที่ต้องการป้องกันก่อนเกิด ภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ ให้กับตนเอง หรือผู้ใหญ่ที่คุณรัก

1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

โดยเน้นกิจกรรมฝึกการทรงตัว (balance exercise) ใช้ท่าทางและการเคลื่อนไหวที่บังคับ และท้าทายสมองให้ใช้องค์ประกอบทั้งห้าสวนพร้อมกัน ทั้งสติ หูชั้นใน สายตา กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

2. ปรึกษาแพทย์เรื่องยา

ที่รับประทานอยู่ว่ามียาตัวใดที่มีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะ

3. ตรวจสายตาประจำปี

ควรตรวจสายตา ตรวจสอบสายตาของผู้สูงอายุมีสายตาที่ผิดปกติทางสายตายาว สายตาสั่น หรือจากโรคทางตาเช่น

1) ต้อกระจก
2) ต้อหิน
3) ต้อเนื้อ ต้อลม
4) ตาแห้ง
5) ตาบอดสี
6) เบาหวานขึ้นตา
7) วุ้นตาเสื่อม
8) จอประสาทตาเสื่อมตามวัย

4. ตรวจการได้ยินเป็นประจำปี

การตรวจระดับการได้ยินในผู้สูงอายุประจำปี เป็นการตรวจการทำงานของหูว่ามีอาการมีความผิดปกติทางได้ยินหรือไม่ เพื่อที่จะทำให้ผู้สูงอายุไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการหกล้ม ควรได้รับการแก้ไขให้กลับมาได้ยินและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือหากผู้สูงอายุมีอาการทางการได้ยินเหล่านี้ก็สามารถตรวจการได้ยิน ได้เช่นกัน
1) หูอื้อ
2) มีเสียงดังในหู
3) การได้ยินลดลง
4) มีน้ำไหลจากหู
5) ทำงานสัมผัสเสียงดัง
6) ฟังเสียงพูดไม่ค่อยชัด
7) ปวดหู
8) หรือพบว่าหูอักเสบ เป็นต้น

สำหรับในข้อ 4 การตรวจการได้ยินประจำปี คนส่วนใหญ่อาจยังคงมองข้ามไป จนกว่าเมื่อเวลาผ่านไปหลายปีจนความบกพร่องทางการได้ยินเริ่มส่งผลกระทบ จึงเข้ามารับการตรวจ .

เครื่องช่วยฟัง-อย่างดี-คุณภาพสูง-เครื่องช่วยฟัง-ความบกพร่องทางการได้ยิน กับภาวะหกล้ม ในผู้สูงอายุ

  " เครื่องช่วยฟังจะช่วยให้ได้ยินเสียงสภาพแวดล้อมได้มากขึ้น และช่วยลดภาระกระบวนการทำงานของสมอง ช่วยให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพในการดูแลเรื่องการทรงตัวและรักษาสมดุลย์ได้มากขึ้น "

บทความที่แนะนำ